วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

รอบรู้เรื่องลองกอง | สวก.

วิธีการกำจัดแก๊สเอทีลีนเพื่อลดการหลุดร่วงของผลลองกอง
0:15 สาเหตุหลักที่ทำให้ผลลองกองหลุดร่วงหรือมีเปลือกสีดำก็คือแก๊สเอทีลีน ที่มาจากการที่ลองกองผลิตแก๊สเอทีลีนในปริมาณเกินกว่า 0.05 PPM และจากการกระตุ้นของเชื้อรา ดังนั้นการแก้ไขปัญหาคือต้องเข้าไปขจัดแก๊สเอทีลีนให้หมดไป ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

0:45 ขั้นตอนการกำจัดแก๊สเอทีลีน
– การกำจัดแก๊สควรเริ่มต้นด้วยขั้นตอนก่อนการเก็บเกี่ยว โดยเริ่มที่สวนลองกอง ควรบริหารจัดการให้ต้นลองกอง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และให้มีแสงแดดส่องถึงโคนต้นประมาณ 30-40% รักษาสวนให้สะอาดเสมอ พร้อมกับควบคุมเชื้อรา
– ก่อนเก็บเกี่ยว 3 สัปดาห์ ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราครั้งสุดท้าย เพื่อลดปริมาณเชื้อราในช่อลองกอง ในช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวช่อลองกองอายุ 3 สัปดาห์หลังดอกบาน
1:15 – หลังจากเก็บเกี่ยวให้คัดช่อลองกองที่สมบูรณ์และให้มีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม เพื่อความสะดวกในการบรรจุ หากมีช่อขนาดใหญ่ควรตัดแต่งช่อให้เล็กลง
1:30- กำจัดแมลงและสิ่งสกปรกและผลเน่าเสียออกให้หมด โดยใช้แปรงและลมแรงเป่าออก เมื่อคัดได้เรียบร้อยให้นำผลที่ได้ทั้งหมดบรรจุสารละลาย NAA และ Prochloraz ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที
– หลังจากนั้นบรรจุลงตะกร้าที่รองด้วยกระดาษปรูฟ 2 ชั้น และคลุมด้วยผ้าเปียก จะช่วยทำให้ลองกองสดขึ้นในระหว่างการเก็บรักษา
1:58 – ในกระบวนการขนส่งให้ควบคุมอุณหภูมิไว้ 18 องศาเซลเซียส และการระบายอากาศที่ระดับ 2 ปริมาตรห้อง หรือตู้คอนเทนเนอร์ต่อชั่วโมง

2:18 เทคนิคการเก็บเกี่ยวลองกองให้ได้คุณภาพ
1. เก็บเกี่ยวช่อลองกองที่อายุ 13-14 สัปดาห์ หลังจากดอกบาน โดยใช้กรรไกรสอดไปในช่องระหว่างโคนช่อกับกิ่ง แล้วตัดช่อผลทีละช่อ ถ้าผลลงกองอัดแน่นกับกิ่ง ควรปลิดผลบริเวณโคนช่อออก เพื่อให้เกิดช่องว่างสำหรับการสอบกรรไกรและไม่ควรใช้มีดเพราะอาจจะเกิดบาดแผลกับผลที่อยู่บริเวณโคนช่อ
2. นำช่อผลที่เก็บเกี่ยวแล้ววางในที่ร่ม
3. คัดแยกชอบผลที่มีคุณภาพและขนาดต่างกัน ลงบรรจุในตะกร้าพลาสติกขนาด 20-25 กิโลกรัม

3:00 การจัดการลองกองหลังการเก็บเกี่ยว
1. หากลองกองมีช่อขนาดใหญ่ควรตัดแบ่งให้ช่อเล็กลงและควรใช้ท่อขนาดเล็กที่ไม่เกิน 500 กรัม เพื่อการสะดวกในการบรรจุ ให้เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ
2. กำจัดสิ่งสกปรกและแมลงที่อาจจะหลบซ่อนอยู่ภายในช่อและตัดแต่งเอาผลที่เน่าเสียออก

3. นำช่อลองกองที่เตรียมไว้จุ่มในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 0.25 เปอร์เซ็นต์ โปรคอรัส 750 ppm และ naa ความเข้มข้น 200 ppm นาน 3 นาที

4. เมื่อครบ 3 นาที นำช่อลองกองมาถึงแห้ง

5. บรรจุช่อลองกองลงในตะกร้าที่ปรุด้วยกระดาษปรู๊ฟ 3 ชั้น แล้วใช้กระดาษเปียกปิดทับก่อนติดกระดาษได้ปิดฝาตะกร้า

3:40 การดูแลลองกองก่อนส่งออกไปต่างประเทศ
– การจัดการอันดับแรก ให้ผู้ส่งออกตรวจสอบสวนลองกองที่มีการดูแลรักษาที่ดี และได้มาตรฐาน GAP เท่านั้น ช่อลองกองบนต้นสมบูรณ์ไม่มีราดำ หลังจากนั้นให้ดำเนินการกำจัดแก๊สเอทีลีนในผลลองกองให้เรียบร้อย เพื่อลดการหลุดร่วง
– ขนย้ายขึ้นตู้คอนเทนเนอร์ตรังอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส
– ในระหว่างการเก็บรักษาในกระบวนการขนส่งลองกอง และการระบายอากาศที่ระดับ 2 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง
– เมื่อครบ 10 วัน จะมีลองกองหลุดร่วงเสียหายไม่เกิน 5%
– เมื่อรอขายอีก 4 วัน การหลุดร่วงและเน่าเสียจะไม่เกิน 10 % ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ลองกองมาจากแหล่งปลูกใด

ข้อดีของการจัดการลองกองวิธีนี้จะทำให้เพิ่มโอกาสในการส่งออก และระยะเวลาขนส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ไกลขึ้นถึง 10 วันเลยทีเดียว

คลิปที่เกี่ยวข้องกับลองกอง
วิธีการกำจัดแก๊สเอทีลีนเพื่อลดการหลุดร่วงของผลลองกอง https://www.youtube.com/watch?v=Y5Zx-G_L4AI
เทคนิคการเก็บเกี่ยวลองกองให้ได้คุณภาพ https://www.youtube.com/watch?v=C8JezKtozUc
การจัดการลองกองหลังการเก็บเกี่ยว https://www.youtube.com/watch?v=7b3mtdZKL2Y
การส่งออกลองกองไปต่างประเทศ https://www.youtube.com/watch?v=oztRVmoa1SE

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#ลองกอง #รอบรู้เรื่องลองกอง​ ​​ #กำจัดแก๊สเอทีลีน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​