การควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันบริเวณพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันบริเวณพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ปัญหาหนูในสวนปาล์มเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเริ่มปลูก หากหนูกัดทำลายต้นก่อนให้ผลผลิตทำให้ยอดขาด ต้นตาย เกษตรกรจะต้องเพิ่มต้นทุนในการซื้อต้นกล้าใหม่ เพื่อปลูกทดแทนและยังเพิ่มค่าแรงในการปลูกด้วย
หนูในสวนปาล์มที่พบคือหนูพุกใหญ่และหนูท้องขาว โดยหนูเหล่านี้จะทำลายได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว หากินได้ไกลและมักหลบซ่อนตัวหรือทำรังในพื้นที่รก หรือบริเวณที่มีเศษวัสดุวางกองทิ้งไว้ในสวน
ส่วนการป้องกันตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรมีหลายวิธี คือการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปาล์ม การใช้กรงดัก การใช้เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู การปลูกพืชล่อ การหุ้มโคนต้น และการใช้สารเคมีกำจัดหนู
ผลการศึกษาเทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมันพืชที่ภาคใต้ตอนบนพบว่า การใช้เหยื่อโปรโตซัว ร่วมกับหุ้มโคนต้นด้วยตาข่ายเหล็ก และทำการกำจัดวัชพืชทุกๆ 3 เดือน สามารถป้องกันการเข้าทำลายจากหนูได้ถึงร้อยละ 90
วิธีใช้เหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูปร่วมกับการหุ้มโคนต้นด้วยตาข่ายเหล็ก เริ่มจะวางเหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูป 2 ครั้ง คือครั้งแรกให้วางไว้ที่โคนต้น 1 เม็ดต่อต้น โดยให้ห่างจากโคนต้นประมาณไม่เกิน 15 เซนติเมตร พร้อมกับการวางตาข่ายเหล็กที่โคนต้น หลังจากนั้นทิ้งระยะเวลาไว้ 1 เดือน แล้วกลับมาวางเหมือนเดิมอีกรอบ หลังจากที่หนูได้กินเหยื่อโปรโตซัวแล้ว 10-15 วัน จะแสดงอาการป่วยและตายในที่สุด
ข้อดีของวิธีนี้คือมีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ไม่มีสารพิษตกค้าง และมีต้นทุนต่ำ เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่กรมวิชาการเกษตรได้เลย
#สวนปาล์ม
#หนู
#กำจัด
#เกษตกร
#วิจัย
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันบริเวณพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ปัญหาหนูในสวนปาล์มเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเริ่มปลูก หากหนูกัดทำลายต้นก่อนให้ผลผลิตทำให้ยอดขาด ต้นตาย เกษตรกรจะต้องเพิ่มต้นทุนในการซื้อต้นกล้าใหม่ เพื่อปลูกทดแทนและยังเพิ่มค่าแรงในการปลูกด้วย
หนูในสวนปาล์มที่พบคือหนูพุกใหญ่และหนูท้องขาว โดยหนูเหล่านี้จะทำลายได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว หากินได้ไกลและมักหลบซ่อนตัวหรือทำรังในพื้นที่รก หรือบริเวณที่มีเศษวัสดุวางกองทิ้งไว้ในสวน
ส่วนการป้องกันตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรมีหลายวิธี คือการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปาล์ม การใช้กรงดัก การใช้เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู การปลูกพืชล่อ การหุ้มโคนต้น และการใช้สารเคมีกำจัดหนู
ผลการศึกษาเทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมันพืชที่ภาคใต้ตอนบนพบว่า การใช้เหยื่อโปรโตซัว ร่วมกับหุ้มโคนต้นด้วยตาข่ายเหล็ก และทำการกำจัดวัชพืชทุกๆ 3 เดือน สามารถป้องกันการเข้าทำลายจากหนูได้ถึงร้อยละ 90
วิธีใช้เหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูปร่วมกับการหุ้มโคนต้นด้วยตาข่ายเหล็ก เริ่มจะวางเหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูป 2 ครั้ง คือครั้งแรกให้วางไว้ที่โคนต้น 1 เม็ดต่อต้น โดยให้ห่างจากโคนต้นประมาณไม่เกิน 15 เซนติเมตร พร้อมกับการวางตาข่ายเหล็กที่โคนต้น หลังจากนั้นทิ้งระยะเวลาไว้ 1 เดือน แล้วกลับมาวางเหมือนเดิมอีกรอบ หลังจากที่หนูได้กินเหยื่อโปรโตซัวแล้ว 10-15 วัน จะแสดงอาการป่วยและตายในที่สุด
ข้อดีของวิธีนี้คือมีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ไม่มีสารพิษตกค้าง และมีต้นทุนต่ำ เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่กรมวิชาการเกษตรได้เลย
#สวนปาล์ม
#หนู
#กำจัด
#เกษตกร
#วิจัย
#สวก.