การควบคุมโรคใบจุดของกล้วยหอมทอง | สวก.
0:10 การผลิตกล้วยทองในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก สำหรับในประเทศไทยมี 1 ปัญหาที่เป็นปัญหาค่อนข้างใหญ่ คือ เกิดการระบาดของโรคใบจุดของกล้วยหอมทอง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดว่าจะต้องหาสิ่งที่มาควบคุมโรคใบจุด ในเบื้องต้นมองเห็นสมบัติของกรดซาลิไซลิกซึ่งกรดซาลิไซลิก จะเป็นกรดอินทรีย์ที่มีอยู่ในพืชชั้นสูงทั่วๆไป มีคุณสมบัติในการชักนำให้เกิดความต้านทานโรคให้แก่พืช
0:49 วิธีการใช้กรดซาลิไซลิกเพื่อควบคุมโรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
1. เข้าสำรวจแปลงกล้วยหากพบใบที่แสดงอาการของโรคให้ตัดใบที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายให้ไกลจากแหล่งปลูก เพื่อลดการสะสมของเชื้อราสาเหตุของโรคในแปลง เนื่องจากเชื้อราเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในซากใบกล้วยที่ตายแล้ว
1:15 2. กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของต้นกล้วยเพื่อลดความชื้นในแปลง เนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
1:29 3. เตรียมสารละลายกรดซาลิไซลิกหน้าตาสิกรัมต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร คนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกันในส่วนของกรดซาลิไซลิกเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามร้านเคมีภัณฑ์ทั่วไป
1:48 4. ฉีดพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิกที่เตรียมไว้ในช่วงต้นกล้าอายุ 5-8 เดือน พ่นทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้ต้นกล้วยมีความต้านทานโรค ข้อควรระวังในการใช้กรดซาลิไซลิกในการควบคุมโรคใบจุดควรใช้กรดซาลิไซลิกในอัตราที่แนะนำอย่างเข้มงวด หากใช้ในความเข้มข้นที่สูงเกินไป จะทำให้เนื้อเยื่อพืชเกิดอาการไหม้เป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลกล้วยโดยตรง
2:18 การใช้กรดซาลิไซลิกเพื่อควบคุมโรคใบจุดของกล้วยหอมทองนับว่าเป็นวิธีการที่เหมาะกับการผลิตกล้วยหอมทองในระบบอินทรีย์เพื่อการส่งออก ที่ห้ามการใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทางผู้ผลิตผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมเพราะจะปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งจะส่งผลให้ไม่ก่อพิษ ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์และสัตว์ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
2:48 การใช้กรดซาลิไซลิกนี้ควรจะได้รับการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการการผลิตกล้วยหอมทอง เพื่อการส่งออกไม่ว่าจะผลิตในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ ให้มีการใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากว่ากรดซาลิไซลิกนี้เป็นสารที่มีความปลอดภัย ซึ่งจะปลอดภัยต่อทางผู้ใช้และผู้บริโภคตลอดจนไม่มีสารตกค้างต่อสภาพแวดล้อม
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง #กรดซาลิไซลิก #เกษตรอินทรีย์ #กล้วยหอมทอง
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
0:10 การผลิตกล้วยทองในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก สำหรับในประเทศไทยมี 1 ปัญหาที่เป็นปัญหาค่อนข้างใหญ่ คือ เกิดการระบาดของโรคใบจุดของกล้วยหอมทอง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดว่าจะต้องหาสิ่งที่มาควบคุมโรคใบจุด ในเบื้องต้นมองเห็นสมบัติของกรดซาลิไซลิกซึ่งกรดซาลิไซลิก จะเป็นกรดอินทรีย์ที่มีอยู่ในพืชชั้นสูงทั่วๆไป มีคุณสมบัติในการชักนำให้เกิดความต้านทานโรคให้แก่พืช
0:49 วิธีการใช้กรดซาลิไซลิกเพื่อควบคุมโรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
1. เข้าสำรวจแปลงกล้วยหากพบใบที่แสดงอาการของโรคให้ตัดใบที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายให้ไกลจากแหล่งปลูก เพื่อลดการสะสมของเชื้อราสาเหตุของโรคในแปลง เนื่องจากเชื้อราเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในซากใบกล้วยที่ตายแล้ว
1:15 2. กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของต้นกล้วยเพื่อลดความชื้นในแปลง เนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
1:29 3. เตรียมสารละลายกรดซาลิไซลิกหน้าตาสิกรัมต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร คนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกันในส่วนของกรดซาลิไซลิกเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามร้านเคมีภัณฑ์ทั่วไป
1:48 4. ฉีดพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิกที่เตรียมไว้ในช่วงต้นกล้าอายุ 5-8 เดือน พ่นทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้ต้นกล้วยมีความต้านทานโรค ข้อควรระวังในการใช้กรดซาลิไซลิกในการควบคุมโรคใบจุดควรใช้กรดซาลิไซลิกในอัตราที่แนะนำอย่างเข้มงวด หากใช้ในความเข้มข้นที่สูงเกินไป จะทำให้เนื้อเยื่อพืชเกิดอาการไหม้เป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลกล้วยโดยตรง
2:18 การใช้กรดซาลิไซลิกเพื่อควบคุมโรคใบจุดของกล้วยหอมทองนับว่าเป็นวิธีการที่เหมาะกับการผลิตกล้วยหอมทองในระบบอินทรีย์เพื่อการส่งออก ที่ห้ามการใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทางผู้ผลิตผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมเพราะจะปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งจะส่งผลให้ไม่ก่อพิษ ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์และสัตว์ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
2:48 การใช้กรดซาลิไซลิกนี้ควรจะได้รับการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการการผลิตกล้วยหอมทอง เพื่อการส่งออกไม่ว่าจะผลิตในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ ให้มีการใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากว่ากรดซาลิไซลิกนี้เป็นสารที่มีความปลอดภัย ซึ่งจะปลอดภัยต่อทางผู้ใช้และผู้บริโภคตลอดจนไม่มีสารตกค้างต่อสภาพแวดล้อม
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง #กรดซาลิไซลิก #เกษตรอินทรีย์ #กล้วยหอมทอง
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
เรื่องที่เกี่ยวข้อง