โครงการพัฒนาขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | สวก.
พืชผักสวนครัวอินทรีย์ เป็นสินค้าที่ตลาดต้องการและให้ราคาสูงกว่าผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมีทั่วไป สอดคล้องกับนโยบายที่เน้นการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเกิด โครงการพัฒนาขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขึ้น
การทำเกษตรกรรมบนที่ดิน สปก. นั้น นับเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างให้งอกเงยเป็นผลผลิต ยิ่งไปกว่านั้น หากสามารถสร้างรูปแบบเกษตรกรรมธรรมดา ให้เป็นวิถีเกษตรอินทรีย์ ด้วยวิธีที่ปรับเข้ากับสภาพพื้นที่และท้องถิ่น จะช่วยสร้างเครือข่ายเกษตรกรเข้าสู่กระบวนการทำเกษตรอินทรีย์แบบกลุ่ม ที่เข้มแข็งกว่ารายเดี่ยว
การผลิต พริก ตะไคร้ และโหระพาอินทรีย์ ซึ่งเป็นพืชผัก ที่มีความต้องการรับซื้อของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ในราคาที่สูงกว่าพืชผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมีทั่วไป ที่มักมีปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีสูง เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานอินทรีย์แบบกลุ่ม PGS รวมถึง การสร้างแรงบันดาลใจ ให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศน์ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี
การพัฒนาขยายผลระบบผลิตพืชผักอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงมีผลดีในเรื่องสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ต้นทุนการผลิตต่ำลง รายได้ที่เพิ่มขึ้น ใช้ประโยชน์จากที่ดินสูงสุด ที่สำคัญทรัพยากร ดิน น้ำ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง นับเป็นผลของแรงบันดาลใจที่คุ้มค่ามาก
#เกษตรอินทรีย์ #สปก #ครัวอินทรีย์ #จากแรงบันดาลใจสู่ผลผลิตอินทรีย์
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
พืชผักสวนครัวอินทรีย์ เป็นสินค้าที่ตลาดต้องการและให้ราคาสูงกว่าผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมีทั่วไป สอดคล้องกับนโยบายที่เน้นการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเกิด โครงการพัฒนาขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขึ้น
การทำเกษตรกรรมบนที่ดิน สปก. นั้น นับเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างให้งอกเงยเป็นผลผลิต ยิ่งไปกว่านั้น หากสามารถสร้างรูปแบบเกษตรกรรมธรรมดา ให้เป็นวิถีเกษตรอินทรีย์ ด้วยวิธีที่ปรับเข้ากับสภาพพื้นที่และท้องถิ่น จะช่วยสร้างเครือข่ายเกษตรกรเข้าสู่กระบวนการทำเกษตรอินทรีย์แบบกลุ่ม ที่เข้มแข็งกว่ารายเดี่ยว
การผลิต พริก ตะไคร้ และโหระพาอินทรีย์ ซึ่งเป็นพืชผัก ที่มีความต้องการรับซื้อของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ในราคาที่สูงกว่าพืชผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมีทั่วไป ที่มักมีปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีสูง เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานอินทรีย์แบบกลุ่ม PGS รวมถึง การสร้างแรงบันดาลใจ ให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศน์ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี
การพัฒนาขยายผลระบบผลิตพืชผักอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงมีผลดีในเรื่องสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ต้นทุนการผลิตต่ำลง รายได้ที่เพิ่มขึ้น ใช้ประโยชน์จากที่ดินสูงสุด ที่สำคัญทรัพยากร ดิน น้ำ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง นับเป็นผลของแรงบันดาลใจที่คุ้มค่ามาก
#เกษตรอินทรีย์ #สปก #ครัวอินทรีย์ #จากแรงบันดาลใจสู่ผลผลิตอินทรีย์
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017