วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมาแบบจุ่มในการกำจัดสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในพริก | สวก.

05 ต.ค. 2020
338
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมาแบบจุ่มในการกำจัดสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในพริก

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมาแบบจุ่มในการกำจัดสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในพริก

ที่มาและความสำคัญประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปหลากหลายประเทศ ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือการส่งออกสินค้าในปี 2017-2019 มีแนวโน้มหรือทิศทางที่ลดลง เนื่องจากการถูกปฏิเสธการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าในหลายๆประเทศ เหตุผลหลักอาจจะเป็นเรื่องของกฎระเบียบในแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรืออียูหรือแม้กระทั่งฝั่งอาเซียนก็ตาม

สาเหตุหลักของการตีกลับเป็นเรื่องปัญหาด้าน food safety พบว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และสารเคมีตกค้างที่เกินค่ามาตรฐานที่ประเทศแต่ละประเทศกำหนดไว้

พริกเป็นสินค้าเกษตรกรรมส่งออกชนิดหนึ่งของไทย ถูกตรวจพบว่ามีสารเคมีที่ตกค้างเกินมาตรฐาน โดยได้มีการสุ่มตรวจพริกที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ พบว่ามีสารตกค้างมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ถึงแม้จะเหลือ 55 เปอร์เซ็นต์ก็ยังไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

วิธีการแก้ปัญหาคือการใช้เทคโนโลยีพลาสมา นำไปใช้จัดการทางด้าน food safety คือกลุ่มที่เรียกว่า roh คือสามารถช่วยเร่งโตในการปลูกพืชผักได้หรือสามารถจัดการกับเรื่องของ food safety ได้ สามารถนำไปใช้ในการยืดอายุของผลิตภัณฑ์ได้ และผลผลิตของพลาสมาจะช่วยทำให้น้ำเสียกลับมามีคุณภาพดีขึ้น รวมไปถึงมีปริมาณออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น

การใช้เทคโนโลยีพลาสมาแก้ปัญหาสารเคมีที่ตกค้างในพริก โดยกระบวนการที่ใช้ในการสร้างน้ำพลาสม่าหรือที่เรียกว่า plasma activated water paw เมื่อพลาสมาเข้าไปในน้ำจะทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำและสุดท้ายจะกลายออกมาเป็น H2O2 ก็คือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เมื่อไหร่ก็ตามเมื่อสารเคมีเข้าไปในน้ำ จะกลายร่างเป็น oh radical แล้วไปทำปฏิกิริยาเคมีกับสารเคมีทำให้เกิดการสลายตัวหรือแปลงร่างเป็นสารตัวอื่นที่ไม่มีพิษ ทำให้เชื้อดังกล่าวตายลงนำน้ำ พลาสมา

นำไปทดลองกับพริก โดยตัวแรกสารเคมีที่มีชื่อว่าคาร์เบนดาซิมที่อยู่บนผิวของพริกทำให้คาร์เบนดาซิมที่ตกค้างลดลงนอกจากนี้ยังนำไปทดลองกับคลอไพริฟอสผมว่าสามารถล้างคลอไพริฟอสให้เหลือ 1.73 ppm ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ 3 ppm เมื่อนำน้ำพลาสมาไปทดลองกับเชื้อ e coli พบว่าสามารถล้างเชื้ออีโคไลได้ลดลงถึง 42 เปอร์เซ็นต์โดยใช้ระยะเวลาแช่ประมาณ 60 นาที

นอกจากนี้นำน้ำพลาสมาไปทดลองการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรกโนสสามารถลดลงได้สูงสุดถึง 41% นอกจากนี้พริกที่ล้างด้วยน้ำพลาสมามีคุณสมบัติทางกายภาพคงเดิมในขณะที่สารเคมีชนิดอื่นๆทำให้พริกเสียคุณภาพเสียคุณสมบัติทางกายภาพเช่นแห้งเหี่ยวและเกิดเชื้อรา

#เชื้อจุลินทรีย์
#พริก
#พลาสมา
#วิจัย
#สวก.