วันศุกร์, 19 เมษายน 2567

การผลิตมังคุดหูเขียวคุณภาพ | สวก.

การผลิตมังคุดหูเขียวคุณภาพ

ปี 2559 ประเทศไทยมีปริมาณมังคุด 143 ล้านกิโลกรัม และมูลค่าการส่งออก 4,308 ล้านบาท โดยจังหวัดจันทบุรีมีกำลังการผลิตมากที่สุดคือ 68,871 ตันต่อปี

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

การส่งออกมังคุดไปยังตลาดต่างประเทศนั้น ผลผลิตมังคุดต้องมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะต้องมีขนาดผล 100 กรัมขึ้นไป ผิวสวย ผิวมัน ไม่มีการเข้าทำลายของโรคและแมลง และไม่มีอาการเนื้อแก้มยางไหล ปัญหาหนึ่งในการส่งออกมังคุด คือกลีบเลี้ยงของมังคุดเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือที่เรียกว่าอาการหูแดงทำให้ผลผลิตมังคุดมีราคาตกต่ำ ถึงแม้ว่าผลของมังคุดจะมีขนาดใหญ่ผิวมันไม่มีอาการเนื้อแก้มยางไหลก็ตาม จึงส่งผลต่อเกษตรกรและผู้ส่งออกโดยตรง

ปัจจัยที่ทำให้กลีบเลี้ยงของมังคุดเป็นสีแดง เนื่องจากปริมาณคลอโรฟิวในกลีบเลี้ยงลดลงและดินขาดธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียม ซึ่งเป็นสาเหตุให้กลีบเลี้ยงของมังคุดเปลี่ยนสีจากสีเขียว เป็นไปสีแดงเมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยว การป้องกันการเกิดอาการกลีบเลี้ยงสีแดงตั้งแต่ก่อนระยะเก็บเกี่ยว เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ได้

การป้องกันอาการกลีบเลี้ยงสีแดงของมังคุดสามารถทำได้โดยการฉีดพ่นด้วยแมกนีเซียมทางใบในอัตรา 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับใส่ทางดินในอัตรา 1,000-1,500 กรัมต่อต้น จำนวน 3 ครั้งดังนี้

– ครั้งที่ 1 ระยะดอกบาน 2 เซนติเมตร ระยะสัปดาห์ที่ 3 ถึง 4 หลังออกดอก
– ครั้งที่ 2 ขนาดระยะผลขนาดเท่าลูกปิงปองผลอายุประมาณ 7-8 สัปดาห์หลังดอกบาน
– ครั้งที่ 3 ก่อนเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ ผลอายุ 10-13 สัปดาห์หลังดอกบาน

ซึ่งจะช่วยให้กลีบเลี้ยงของมังคุดเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงอีกต่อไป จึงเป็นวิธีการจัดการธาตุอาหารให้ตรงกับการเจริญเติบโตของผลมังคุดมังคุด ทำให้มังคุดที่ได้ที่ได้มีคุณภาพ ขายได้ราคาดีและส่งออกได้

#มังคุด
#ส่งออก
#มังคุดหูเขียว
#วิจัย
#สวก