การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันอะโวคาโด สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
อะโวคาโดเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก โดยโครงการหลวงได้นำอะโวคาโดมาทดลองปลูกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในจังหวัดเชียงใหม่ และได้ขยายพื้นที่การปลูกไปยังจังหวัดใกล้เคียง เช่น ลำปาง ลำพูน ตาก และเชียงราย ซึ่งอะโวคาโดที่ปลูกมีพันธุ์ต่างๆ หลายสายพันธุ์
อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ วิตามินอี และสารอื่นๆ ในประมาณที่สูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้อะโวคาโดเองก็สามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมันโดยน้ำมันสามารถนำมาบริโภคและใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางเพื่อใช้บำรุงผิวพรรณได้
ที่มาของงานวิจัยคือได้มีบริษัทผู้ผลิตน้ำมันอะโวคาโด ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตน้ำมันอะโวคาโดเพื่อนำไปใช้ในวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ทางบริษัทนี้ได้สกัดน้ำมันโดยวิธีบีบอัดอะโวคาโดแห้งและได้น้ำมันอะโวคาโดที่มีสีเขียวมรกต ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ผลิตเครื่องสำอางได้ เพราะน้ำมันที่ใช้ผลิตเครื่องสำอางจะต้องเป็นน้ำมันที่มีสีเหลืองทองเท่านั้น ดังนั้นทางบริษัทจึงได้เข้ามาปรึกษาและร่วมวิจัยโดยได้รับทุนวิจัยจากสวก.
เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้ในงานวิจัย ทางคณะวิจัยได้พบว่าสีเขียวในน้ำมันอะโวคาโดคือเม็ดสีคลอโรฟิลล์ ที่สามารถกำจัดออกได้โดยการดูดซับด้วยแป้งฟอกสี ดังนั้นจึงได้ทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการดูดซับ โดยศึกษาตัวแปรต่างๆ คือปริมาณแป้งฟอกสี ระยะเวลาในการดูดซับ ความเร็วรอบในการกวน และอุณหภูมิ โดยได้พบสภาวะที่เหมาะสมของการดูดซับเม็ดสีคลอโรฟิลล์ แต่ปัญหาที่ตามมาคือน้ำมันที่ได้มีสีน้ําตาลปนเหลือง ซึ่งสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นเป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นณขณะทำการกวน และขณะที่การทำการหีบน้ำมัน ซึ่งเราก็แก้ปัญหาได้โดยการดูดซับสารสีน้ำตาลด้วยถ่านกัมมันต์
เราได้ศึกษาตัวแปรต่างๆ เช่นเดียวกับการศึกษาแป้งฟอกสี ซึ่งเมื่อได้สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับสีน้ำตาลด้วยถ่านกัมมันต์แล้ว ทางเราก็ได้ขยายการผลิตในระดับที่ใหญ่ขึ้น จะเห็นว่าจากจุดเริ่มต้นของน้ำมันอะโวคาโดที่มีสีเขียวมรกต แล้วนำมาดูดซับด้วยแป้งฟอกสีก่อน โดยทำการกวน หลังจากนั้นก็ดูดซับต่อด้วยถ่านกัมมันต์ สุดท้ายก็จะได้น้ำมันอะโวคาโดซึ่งมีสีเหลืองทอง
คุณสมบัติของน้ำมันอะโวคาโดที่ได้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับน้ำมันอะโวคาโดที่มีจำหน่ายในทางการค้า พบว่าน้ำมันที่ได้จากงานวิจัยไม่พบสารคลอโรฟิลล์ มีปริมาณแคโรทีนที่สูงกว่าน้ำมันอะโวคาโดในทางการค้า และมีปริมาณวิตามินอีที่ใกล้เคียงกับน้ำมันอะโวคาโดในทางการค้า ซึ่งสามารถแสดงได้ว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีการดูดซับของในการผลิตน้ำมันอะโวคาโด ให้มีสีเหลืองทองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทยได้
#อะโวคาโด
#น้ำมันอะโวคาโด
#สกัด
#วิจัย
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
อะโวคาโดเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก โดยโครงการหลวงได้นำอะโวคาโดมาทดลองปลูกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในจังหวัดเชียงใหม่ และได้ขยายพื้นที่การปลูกไปยังจังหวัดใกล้เคียง เช่น ลำปาง ลำพูน ตาก และเชียงราย ซึ่งอะโวคาโดที่ปลูกมีพันธุ์ต่างๆ หลายสายพันธุ์
อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ วิตามินอี และสารอื่นๆ ในประมาณที่สูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้อะโวคาโดเองก็สามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมันโดยน้ำมันสามารถนำมาบริโภคและใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางเพื่อใช้บำรุงผิวพรรณได้
ที่มาของงานวิจัยคือได้มีบริษัทผู้ผลิตน้ำมันอะโวคาโด ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตน้ำมันอะโวคาโดเพื่อนำไปใช้ในวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ทางบริษัทนี้ได้สกัดน้ำมันโดยวิธีบีบอัดอะโวคาโดแห้งและได้น้ำมันอะโวคาโดที่มีสีเขียวมรกต ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ผลิตเครื่องสำอางได้ เพราะน้ำมันที่ใช้ผลิตเครื่องสำอางจะต้องเป็นน้ำมันที่มีสีเหลืองทองเท่านั้น ดังนั้นทางบริษัทจึงได้เข้ามาปรึกษาและร่วมวิจัยโดยได้รับทุนวิจัยจากสวก.
เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้ในงานวิจัย ทางคณะวิจัยได้พบว่าสีเขียวในน้ำมันอะโวคาโดคือเม็ดสีคลอโรฟิลล์ ที่สามารถกำจัดออกได้โดยการดูดซับด้วยแป้งฟอกสี ดังนั้นจึงได้ทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการดูดซับ โดยศึกษาตัวแปรต่างๆ คือปริมาณแป้งฟอกสี ระยะเวลาในการดูดซับ ความเร็วรอบในการกวน และอุณหภูมิ โดยได้พบสภาวะที่เหมาะสมของการดูดซับเม็ดสีคลอโรฟิลล์ แต่ปัญหาที่ตามมาคือน้ำมันที่ได้มีสีน้ําตาลปนเหลือง ซึ่งสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นเป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นณขณะทำการกวน และขณะที่การทำการหีบน้ำมัน ซึ่งเราก็แก้ปัญหาได้โดยการดูดซับสารสีน้ำตาลด้วยถ่านกัมมันต์
เราได้ศึกษาตัวแปรต่างๆ เช่นเดียวกับการศึกษาแป้งฟอกสี ซึ่งเมื่อได้สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับสีน้ำตาลด้วยถ่านกัมมันต์แล้ว ทางเราก็ได้ขยายการผลิตในระดับที่ใหญ่ขึ้น จะเห็นว่าจากจุดเริ่มต้นของน้ำมันอะโวคาโดที่มีสีเขียวมรกต แล้วนำมาดูดซับด้วยแป้งฟอกสีก่อน โดยทำการกวน หลังจากนั้นก็ดูดซับต่อด้วยถ่านกัมมันต์ สุดท้ายก็จะได้น้ำมันอะโวคาโดซึ่งมีสีเหลืองทอง
คุณสมบัติของน้ำมันอะโวคาโดที่ได้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับน้ำมันอะโวคาโดที่มีจำหน่ายในทางการค้า พบว่าน้ำมันที่ได้จากงานวิจัยไม่พบสารคลอโรฟิลล์ มีปริมาณแคโรทีนที่สูงกว่าน้ำมันอะโวคาโดในทางการค้า และมีปริมาณวิตามินอีที่ใกล้เคียงกับน้ำมันอะโวคาโดในทางการค้า ซึ่งสามารถแสดงได้ว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีการดูดซับของในการผลิตน้ำมันอะโวคาโด ให้มีสีเหลืองทองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทยได้
#อะโวคาโด
#น้ำมันอะโวคาโด
#สกัด
#วิจัย
#สวก.