วันศุกร์, 17 พฤษภาคม 2567

การพัฒนาบล็อกมวลเบาแบบเซลลูล่าจากเถ้าปาล์มน้ำมันจีโอโพลิเมอร์เป็นวัสดุที่ยั่งยืน | สวก.

05 ต.ค. 2020
310
การพัฒนาบล็อกมวลเบาแบบเซลลูล่าจากเถ้าปาล์มน้ำมันจีโอโพลิเมอร์เป็นวัสดุที่ยั่งยืน
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
บล็อกมวลเบาในปัจจุบันที่ใช้ในงานก่อสร้างมีอยู่ 2 แบบคือแบบ CLC และ AAC ความแตกต่างระหว่าง CLC และ AAC คือ

– กระบวนการผลิตง่ายกว่า AAC ราคาต่ำกว่า AAC รับกำลังได้ต่ำกว่า AAC พบปัญหาการแตกร้าวของผนังก่อ
– ส่วน AAC มีการผลิตที่ยุ่งยากราคาสูงกว่า CLC รับกำลังได้สูงกว่า CLC

ปัญหาการใช้งานบล็อกมวลเบาในภาคอีสาน พบปัญหาการหลุดร่อนของผนังก่อ โดยเฉพาะพื้นที่สัมผัสกับดินเค็มปริมาณสูง ดินเค็มทำให้เกิดสนิมและเกิดคอนกรีตหลุดร่อน ข้อดีของจีโอพอลิเมอร์คือการเกาะยึด และทนต่อการกัดกร่อนได้ดีมาก

การเปรียบเทียบคุณสมบัติของบล็อกโพลิเมอร์มวลเบาแบบเซลลูล่าที่มีเถ้าปาล์มน้ำมันในส่วนผสมกับค่ามาตรฐานต่างๆพบว่า ในด้านของกำลังอัด การดูดซึมน้ำ ค่าความหดตัว สัมประสิทธิ์การนำความร้อน การประเมินวัฏจักรชีวิต กำลังอัดของบล็อก เมื่อหล่อเป็นผนังแล้วพบว่า มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับบล็อก CLC โดยบล็อกจีโอพอลิเมอร์สามารถทนไฟได้ดี และทนต่อการกัดกร่อนได้ดีมากกว่า

บล็อกโพลิเมอร์มวลเบามีคุณสมบัติใกล้เคียงกับงานวิจัยที่ผ่านมาและผ่านมาตรฐาน มอก. 2601-2556 แต่ราคาของบล็อกจะมีราคาสูงกว่าปกติ จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาเป็นบล็อกทนไฟหรือบล็อกทนต่อการกัดกร่อน

ตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมบล็อกจีโอโพลิเมอร์มวลเบาคือ บุคคลหรือหน่วยงานที่สนใจเทคโนโลยี ชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อดินเค็ม ผู้ประกอบการเอกชน

#บล็อกมวลเบา
#เซลลูล่า
#เถ้าปาล์มน้ำมัน
#วิจัย
#สวก.