การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศเชอร์รี่ในอาคารโดยใช้แสงไฟจากหลอดแอลอีดี
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศเชอรี่ในอาคารโดยใช้แสงไฟจากหลอด LED
มะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับโลก มีพื้นที่ปลูกกว้างขวางทั่วโลก มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ สามารถนำมาบริโภคทั้งผลสดหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกทั้งมะเขือเทศยังมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และไลโคปีน
การผลิตมะเขือเทศรับประทานสดเป็นธุรกิจหนึ่ง ที่ทางเกษตรกรได้ค่าตอบแทนสูง แต่การผลิตมะเขือเทศสดในสภาพแปลงปลูก มีปัญหาหลายอย่าง เช่น ไม่สามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ ปัญหาการเข้าทำลายของศัตรูพืช และปัญหาสารเคมีตกค้าง ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตพืชแบบปิดในลักษณะคอนเทนเนอร์ฟาร์มจึงเป็นเทคโนโลยีการผลิตพืชแบบใหม่ที่น่าสนใจ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างดีและสามารถช่วยเสริมความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศในอนาคตได้
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบผลิตพืชแบบปิดโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า Plant Factory มาปรับให้เหมาะสมต่อการผลิตมะเขือเทศเชอรี่ภายใต้แสงเทียม เพื่อศึกษาอิทธิพลของสเปกตรัมที่ได้จากหลอด LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ที่ผลิตในระบบปิด โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า
การพัฒนาเทคโนโลยีใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า
มีโครงสร้างต้นทุนต่ำง่ายต่อการขนส่ง มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีขนาดมาตรฐานง่ายต่อการออกแบบ เหมาะสมกับพื้นที่หลากหลาย
การพัฒนาเทคโนโลยี
ใช้แผ่นไอโซวอลเป็นฉนวนกันความร้อน ใช้พลังงานจากธรรมชาติโซล่าเซลล์ ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในด้วยระบบดิจิตอล ใช้แสงเทียมจากหลอด LED ในการผลิต
ความพิเศษของผลผลิตจาก container farm คือปริมาณในด้านปริมาณของผลผลิตและคุณภาพผลผลิตสูงขึ้นได้ผลผลิตมากกว่า 2 กิโลกรัมต่อรอบการปลูกต่อ 1 ต้น ให้ความหวานสูงมากกว่า ปริมาณวิตามินและไลโคปีนสูงขึ้น ผลผลิตมีความสะอาด สด ปลอดภัย ไม่มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต และได้ผลตอบแทนคงที่ตลอดทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานขึ้น ผลิตได้ทั้งปี เป็นการปลูกแบบแขนงเดียว มีอายุการปลูกและเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น 5-6 เดือน
จุดเด่นของคอนเทนเนอร์ฟาร์มเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการปล่อยของเสียสู่สภาพแวดล้อม และใช้พลังงานธรรมชาติปลูกได้ตลอดทั้งปี ไม่มีข้อจำกัดเรื่องฤดูกาล สามารถผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีรายรับที่คงที่เสริมความมั่นคงทางอาหารสู่ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ขาดแคลนอาหาร เป็นระบบที่กะทัดรัดเล็กง่ายต่อการขนส่ง และมีอุปกรณ์พร้อมในการใช้งาน
สามารถใช้งานได้ทันทีเป็นระบบปลูกพืชแบบปิดต้นทุนต่ำ หาซื้อได้ง่ายแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่หลายปี
กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผักและสมุนไพรมูลค่าสูง เกษตรกรที่มีความสนใจในการผลิตพืชแบบใหม่ โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ หน่วยงานภาครัฐหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานเอกชนที่ต้องการพัฒนาไปในรูปแบบอุตสาหกรรมได้
#มะเขือเทศเชอร์รี่
#หลอดแอลอีดี
#LED
#วิจัย
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศเชอรี่ในอาคารโดยใช้แสงไฟจากหลอด LED
มะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับโลก มีพื้นที่ปลูกกว้างขวางทั่วโลก มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ สามารถนำมาบริโภคทั้งผลสดหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกทั้งมะเขือเทศยังมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และไลโคปีน
การผลิตมะเขือเทศรับประทานสดเป็นธุรกิจหนึ่ง ที่ทางเกษตรกรได้ค่าตอบแทนสูง แต่การผลิตมะเขือเทศสดในสภาพแปลงปลูก มีปัญหาหลายอย่าง เช่น ไม่สามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ ปัญหาการเข้าทำลายของศัตรูพืช และปัญหาสารเคมีตกค้าง ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตพืชแบบปิดในลักษณะคอนเทนเนอร์ฟาร์มจึงเป็นเทคโนโลยีการผลิตพืชแบบใหม่ที่น่าสนใจ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างดีและสามารถช่วยเสริมความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศในอนาคตได้
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบผลิตพืชแบบปิดโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า Plant Factory มาปรับให้เหมาะสมต่อการผลิตมะเขือเทศเชอรี่ภายใต้แสงเทียม เพื่อศึกษาอิทธิพลของสเปกตรัมที่ได้จากหลอด LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ที่ผลิตในระบบปิด โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า
การพัฒนาเทคโนโลยีใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า
มีโครงสร้างต้นทุนต่ำง่ายต่อการขนส่ง มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีขนาดมาตรฐานง่ายต่อการออกแบบ เหมาะสมกับพื้นที่หลากหลาย
การพัฒนาเทคโนโลยี
ใช้แผ่นไอโซวอลเป็นฉนวนกันความร้อน ใช้พลังงานจากธรรมชาติโซล่าเซลล์ ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในด้วยระบบดิจิตอล ใช้แสงเทียมจากหลอด LED ในการผลิต
ความพิเศษของผลผลิตจาก container farm คือปริมาณในด้านปริมาณของผลผลิตและคุณภาพผลผลิตสูงขึ้นได้ผลผลิตมากกว่า 2 กิโลกรัมต่อรอบการปลูกต่อ 1 ต้น ให้ความหวานสูงมากกว่า ปริมาณวิตามินและไลโคปีนสูงขึ้น ผลผลิตมีความสะอาด สด ปลอดภัย ไม่มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต และได้ผลตอบแทนคงที่ตลอดทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานขึ้น ผลิตได้ทั้งปี เป็นการปลูกแบบแขนงเดียว มีอายุการปลูกและเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น 5-6 เดือน
จุดเด่นของคอนเทนเนอร์ฟาร์มเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการปล่อยของเสียสู่สภาพแวดล้อม และใช้พลังงานธรรมชาติปลูกได้ตลอดทั้งปี ไม่มีข้อจำกัดเรื่องฤดูกาล สามารถผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีรายรับที่คงที่เสริมความมั่นคงทางอาหารสู่ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ขาดแคลนอาหาร เป็นระบบที่กะทัดรัดเล็กง่ายต่อการขนส่ง และมีอุปกรณ์พร้อมในการใช้งาน
สามารถใช้งานได้ทันทีเป็นระบบปลูกพืชแบบปิดต้นทุนต่ำ หาซื้อได้ง่ายแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่หลายปี
กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผักและสมุนไพรมูลค่าสูง เกษตรกรที่มีความสนใจในการผลิตพืชแบบใหม่ โดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ หน่วยงานภาครัฐหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานเอกชนที่ต้องการพัฒนาไปในรูปแบบอุตสาหกรรมได้
#มะเขือเทศเชอร์รี่
#หลอดแอลอีดี
#LED
#วิจัย
#สวก.