การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับต้น ใบ เปลือก และซังข้าวโพด สู่ผลิตภัณฑ์กระถางชีวภาพ
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ความสำคัญและที่มาของงานวิจัยเศษวัสดุจากข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว
เนื่องจากเศษวัสดุจากข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยวมีปริมาณมากกว่า 2.9 แสนตันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 ไร่ จะมีเศษวัสดุเหลือประมาณ 950 กิโลกรัม ทำให้เกิดวัสดุเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดเพื่อจัดการเศษวัสดุจากข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพอากาศ ลดฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 ในการเผาเศษวัสดุทุกๆ 1,000 กิโลกรัม จะปลดปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 ออกมาประมาณ 7 ถึง 10 กิโลกรัม
เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้ในงานวิจัย ที่ใช้สำหรับการสร้างกระถางชีวภาพคือใช้กรรมวิธีในการอัดเย็น ซึ่งเป็นกรรมวิธีในการผลิตที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายสะดวกต่อกลุ่มเกษตรกร ชุมชน และผู้สนใจ
โดยวิธีการผลิตกระถางชีวภาพมีดังนี้
– รวบรวมเศษวัสดุนำไปสับย่อยให้มีขนาดชิ้นเล็กลง
– นำแป้งมันสำปะหลังครึ่งกิโลกรัมผสมกับน้ำ 1 ลิตร นำไปตั้งไฟคนน้ำและแป้งมันให้เข้ากันจนแป้งมันเริ่มสุกและมีลักษณะเหนียวหนืดกลายเป็นกาวแป้งเปียกเพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมประสาน
– ขั้นตอนที่ 3 นำวัสดุที่มีส่วนผสมของลำต้น ใบ เปลือกและซังข้าวโพดในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 ต่อ 1 ต่อ 1 ที่เตรียมไว้มาผสมกับเถ้าชีวมวล และกาวแป้งเปียกผสมให้เข้ากัน
– นำถุงพลาสติกมาปูลงในแม่พิมพ์ตัวนอก และนำวัสดุที่ผสมไว้แล้วใส่ลงไปในแม่พิมพ์ตัวนอกให้เต็ม จากนั้นนำถุงพลาสติกชิ้นไปให้แม่พิมพ์ตัวใน นำแม่พิมพ์ตัวในมาวางประกบกับแม่พิมพ์ตัวนอก แล้วยกเข้าเครื่องอัดแบบไฮดรอลิค
– ทำการอัดขึ้นรูปด้วยแรงอัด 1,000 ปอนด์ต่อตารางเมตรเป็นระยะเวลา 30 วินาที
– หลังจากการอัดขึ้นรูปกระถางชีวภาพแล้ว ทำการถอดไม่พิมพ์ออก ]vdถุงพลาสติกออกจากกระถางชีวภาพ และนำกระถางชีวภาพไปตากแดดเป็นระยะเวลา 2 วันก็สามารถที่จะนำกระถางชีวภาพออกไปใช้งานได้
กระถางชีวภาพที่ได้มีค่าความพรุนของกระถางอยู่ที่ 89.45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเมล็ดพืชเพาะลงในกระถางชีวภาพ กระถางชีวภาพจะมีลักษณะการเสื่อมสภาพตามการใช้งานบริเวณก้นกระถางก่อน และจะค่อยๆพังไปเรื่อยๆจน ถึงระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ดังนั้นจะต้องนำกล้าไม้ที่เพาะชำในกระถางชีวภาพลงดินปลูกก่อนครบเวลา 3 เดือน เมื่อนำกระถางลงดินแล้วกระถางจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติภายในระยะเวลา 6 เดือน
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ลำต้น ใบ เปลือกและซังข้าวโพด ลดการใช้กระถางที่ทำจากพลาสติกและถุงเพาะชำพลาสติก ลดปัญหาการเผาที่ทำให้เกิดหมอกควัน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในชุมชน
การตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาและเยาวชนที่มีความสนใจ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ กลุ่มเกษตรปลอดภัยกลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตร กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงผู้ประกอบการเอกชน ผู้ค้ากล้าไม้ โรงงานไฟฟ้าชีวมวล รวมถึงผู้ผลิต eco product ด้วย
#ซังข้าวโพด
#กระถางชีวภาพ
#สร้างมูลค่าเพิ่ม
#วิจัย
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ความสำคัญและที่มาของงานวิจัยเศษวัสดุจากข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว
เนื่องจากเศษวัสดุจากข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยวมีปริมาณมากกว่า 2.9 แสนตันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 ไร่ จะมีเศษวัสดุเหลือประมาณ 950 กิโลกรัม ทำให้เกิดวัสดุเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดเพื่อจัดการเศษวัสดุจากข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพอากาศ ลดฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 ในการเผาเศษวัสดุทุกๆ 1,000 กิโลกรัม จะปลดปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 ออกมาประมาณ 7 ถึง 10 กิโลกรัม
เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้ในงานวิจัย ที่ใช้สำหรับการสร้างกระถางชีวภาพคือใช้กรรมวิธีในการอัดเย็น ซึ่งเป็นกรรมวิธีในการผลิตที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายสะดวกต่อกลุ่มเกษตรกร ชุมชน และผู้สนใจ
โดยวิธีการผลิตกระถางชีวภาพมีดังนี้
– รวบรวมเศษวัสดุนำไปสับย่อยให้มีขนาดชิ้นเล็กลง
– นำแป้งมันสำปะหลังครึ่งกิโลกรัมผสมกับน้ำ 1 ลิตร นำไปตั้งไฟคนน้ำและแป้งมันให้เข้ากันจนแป้งมันเริ่มสุกและมีลักษณะเหนียวหนืดกลายเป็นกาวแป้งเปียกเพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมประสาน
– ขั้นตอนที่ 3 นำวัสดุที่มีส่วนผสมของลำต้น ใบ เปลือกและซังข้าวโพดในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 ต่อ 1 ต่อ 1 ที่เตรียมไว้มาผสมกับเถ้าชีวมวล และกาวแป้งเปียกผสมให้เข้ากัน
– นำถุงพลาสติกมาปูลงในแม่พิมพ์ตัวนอก และนำวัสดุที่ผสมไว้แล้วใส่ลงไปในแม่พิมพ์ตัวนอกให้เต็ม จากนั้นนำถุงพลาสติกชิ้นไปให้แม่พิมพ์ตัวใน นำแม่พิมพ์ตัวในมาวางประกบกับแม่พิมพ์ตัวนอก แล้วยกเข้าเครื่องอัดแบบไฮดรอลิค
– ทำการอัดขึ้นรูปด้วยแรงอัด 1,000 ปอนด์ต่อตารางเมตรเป็นระยะเวลา 30 วินาที
– หลังจากการอัดขึ้นรูปกระถางชีวภาพแล้ว ทำการถอดไม่พิมพ์ออก ]vdถุงพลาสติกออกจากกระถางชีวภาพ และนำกระถางชีวภาพไปตากแดดเป็นระยะเวลา 2 วันก็สามารถที่จะนำกระถางชีวภาพออกไปใช้งานได้
กระถางชีวภาพที่ได้มีค่าความพรุนของกระถางอยู่ที่ 89.45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเมล็ดพืชเพาะลงในกระถางชีวภาพ กระถางชีวภาพจะมีลักษณะการเสื่อมสภาพตามการใช้งานบริเวณก้นกระถางก่อน และจะค่อยๆพังไปเรื่อยๆจน ถึงระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ดังนั้นจะต้องนำกล้าไม้ที่เพาะชำในกระถางชีวภาพลงดินปลูกก่อนครบเวลา 3 เดือน เมื่อนำกระถางลงดินแล้วกระถางจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติภายในระยะเวลา 6 เดือน
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ลำต้น ใบ เปลือกและซังข้าวโพด ลดการใช้กระถางที่ทำจากพลาสติกและถุงเพาะชำพลาสติก ลดปัญหาการเผาที่ทำให้เกิดหมอกควัน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในชุมชน
การตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาและเยาวชนที่มีความสนใจ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ กลุ่มเกษตรปลอดภัยกลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตร กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงผู้ประกอบการเอกชน ผู้ค้ากล้าไม้ โรงงานไฟฟ้าชีวมวล รวมถึงผู้ผลิต eco product ด้วย
#ซังข้าวโพด
#กระถางชีวภาพ
#สร้างมูลค่าเพิ่ม
#วิจัย
#สวก.