การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่ เพื่อใช้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง
สืบเนื่องจากปัจจุบันแรงงานที่ใช้ในการคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่บนพื้นที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของโครงการหลวงขาดแคลน และอีกประการหนึ่งก็คือว่ากำลังการผลิตที่ใช้ในการคัดแยกและค่อนข้างต่ำ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโครงการหลวงในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของเครื่องคัดขนาดที่ได้พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ แต่เดิมโครงการหลวงใช้คนประมาณ 8 คน โดย 1 คนนั้นจะคัดมะเขือเทศได้ประมาณ 8 – 10 กิโลกรัมต่อชั่วโมงเท่านั้นหรือประมาณ 640 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของโครงการหลวงที่ต้องการประมาณ 3,000 – 4,000 กิโลกรัมต่อวัน
ภายหลังจากที่ได้เครื่องจักรนี้มาใช้ กำลังผลิตอยู่ที่ประมาณ 3,800 กิโลกรัมต่อวันซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของโครงการหลวง การลดลงของแรงงาน จะเหลือแค่ประมาณ 2 คนในการ operate เครื่อง สามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของการคัดแยกมะเขือเทศได้ถึงกิโลกรัมละ 2 บาท
รูปแบบงานวิจัยที่เน้นในทางการสร้างนวัตกรรม ออกแบบให้มีความง่ายต่อการผลิต ใช้วัสดุในประเทศที่ง่ายต่อการประกอบและที่สำคัญ คือสามารถเคลื่อนย้ายโดยพาหนะ เช่น รถกระบะไปยังสวนของเกษตรกรผู้ที่จะจำหน่าย ส่วนการต่อยอด จากเดิมจะต้องยกเครื่องขึ้นไปไว้บนรถ อาจจะพัฒนาให้ตัวเครื่องเป็นยูนิตเดียวกันกับตัวรถ หลังจากที่เคลื่อนที่ไปแปลงที่เก็บเกี่ยวแล้ว จะมีสายพานที่สามารถที่จะป้อนหรือว่าเก็บผลผลิตขึ้นมาบนตัวรถได้เลย ซึ่งจะทำให้ลดเวลาในการทำงาน และทำงานดีขึ้น
เครื่องคัดมะเขือเทศพันธุ์เชอรี่
เครื่องคัดมะเขือเทศพันธุ์เชอรี่ แบบลูกกลิ้ง สามารถคัดขนาดได้ทั้งหมด 3 เกรด ได้แก่เกรด A มีขนาด 24 มิลลิเมตรขึ้นไป เกรด B มีขนาด 20-23 มิลลิเมตร และเกรด F มีขนาดน้อยกว่า 20 มิลลิเมตรลงไป กําลังการผลิตของ เครื่องคัดขนาดมะเขือเทศพันเชอรี่ แบบลูกกลิ้งเท่ากับ 3,382 กิโลกรัมต่อวัน ในขณะที่การใช้แรงงานคนคัดขนาดมะเขือเทศพันธุ์เชอรี่ ได้ค่าเฉลี่ยที่ 200 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยเพิ่มขึ้น 17.6 เท่า จากกําลังการผลิตเดิม
เครื่องคัดขนาดผลมะเขือเทศเชอรี่ สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และเพิ่มกําลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งสร้างมาตรฐานความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในด้านคุณภาพ ของสินค้าที่มาจากโครงการหลวงให้มากขึ้น
เครื่องคัดผลมะเขือเทศเชอรี่ ใช้หลักการคัดขนาดแบบสายพานลําเลียงและเพลาหมุนในเวลาเดียวกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ของผลมะเขือเทศเชอรี่ ที่มีรูปทรงไม่เป็นทรงกลมทั้งหมด และคัดแยกเป็นเวลาอันสั้นทําให้ลดการชํ้าบริเวณผิวได้มากขึ้น
ผศ.ดร.นเรศ อินต๊ะวงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
#มะเขือเทศเชอรี่ #เครื่องคัดขนาด #โครงการหลวง #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
สืบเนื่องจากปัจจุบันแรงงานที่ใช้ในการคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่บนพื้นที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของโครงการหลวงขาดแคลน และอีกประการหนึ่งก็คือว่ากำลังการผลิตที่ใช้ในการคัดแยกและค่อนข้างต่ำ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโครงการหลวงในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของเครื่องคัดขนาดที่ได้พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ แต่เดิมโครงการหลวงใช้คนประมาณ 8 คน โดย 1 คนนั้นจะคัดมะเขือเทศได้ประมาณ 8 – 10 กิโลกรัมต่อชั่วโมงเท่านั้นหรือประมาณ 640 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของโครงการหลวงที่ต้องการประมาณ 3,000 – 4,000 กิโลกรัมต่อวัน
ภายหลังจากที่ได้เครื่องจักรนี้มาใช้ กำลังผลิตอยู่ที่ประมาณ 3,800 กิโลกรัมต่อวันซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของโครงการหลวง การลดลงของแรงงาน จะเหลือแค่ประมาณ 2 คนในการ operate เครื่อง สามารถลดต้นทุนการผลิตในส่วนของการคัดแยกมะเขือเทศได้ถึงกิโลกรัมละ 2 บาท
รูปแบบงานวิจัยที่เน้นในทางการสร้างนวัตกรรม ออกแบบให้มีความง่ายต่อการผลิต ใช้วัสดุในประเทศที่ง่ายต่อการประกอบและที่สำคัญ คือสามารถเคลื่อนย้ายโดยพาหนะ เช่น รถกระบะไปยังสวนของเกษตรกรผู้ที่จะจำหน่าย ส่วนการต่อยอด จากเดิมจะต้องยกเครื่องขึ้นไปไว้บนรถ อาจจะพัฒนาให้ตัวเครื่องเป็นยูนิตเดียวกันกับตัวรถ หลังจากที่เคลื่อนที่ไปแปลงที่เก็บเกี่ยวแล้ว จะมีสายพานที่สามารถที่จะป้อนหรือว่าเก็บผลผลิตขึ้นมาบนตัวรถได้เลย ซึ่งจะทำให้ลดเวลาในการทำงาน และทำงานดีขึ้น
เครื่องคัดมะเขือเทศพันธุ์เชอรี่
เครื่องคัดมะเขือเทศพันธุ์เชอรี่ แบบลูกกลิ้ง สามารถคัดขนาดได้ทั้งหมด 3 เกรด ได้แก่เกรด A มีขนาด 24 มิลลิเมตรขึ้นไป เกรด B มีขนาด 20-23 มิลลิเมตร และเกรด F มีขนาดน้อยกว่า 20 มิลลิเมตรลงไป กําลังการผลิตของ เครื่องคัดขนาดมะเขือเทศพันเชอรี่ แบบลูกกลิ้งเท่ากับ 3,382 กิโลกรัมต่อวัน ในขณะที่การใช้แรงงานคนคัดขนาดมะเขือเทศพันธุ์เชอรี่ ได้ค่าเฉลี่ยที่ 200 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยเพิ่มขึ้น 17.6 เท่า จากกําลังการผลิตเดิม
เครื่องคัดขนาดผลมะเขือเทศเชอรี่ สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และเพิ่มกําลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งสร้างมาตรฐานความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในด้านคุณภาพ ของสินค้าที่มาจากโครงการหลวงให้มากขึ้น
เครื่องคัดผลมะเขือเทศเชอรี่ ใช้หลักการคัดขนาดแบบสายพานลําเลียงและเพลาหมุนในเวลาเดียวกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ของผลมะเขือเทศเชอรี่ ที่มีรูปทรงไม่เป็นทรงกลมทั้งหมด และคัดแยกเป็นเวลาอันสั้นทําให้ลดการชํ้าบริเวณผิวได้มากขึ้น
ผศ.ดร.นเรศ อินต๊ะวงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
#มะเขือเทศเชอรี่ #เครื่องคัดขนาด #โครงการหลวง #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง