การเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมืองบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน เกษตรกรบนพื้นที่สูง เช่น ชุมชนเผ่าม้งและชุมชนเผ่าเย้า
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
ในพื้นที่บ้านปังค่า จังหวัดพะเยา ใช้ไก่พื้นเมืองและไข่ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของท้องถิ่น เช่น งานแต่งงาน งานศพหรืองานพิธีกรรมสู่ขวัญ แต่ปัจจุบัน ไก่พื้นเมืองมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากการเลี้ยงที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เกษตรกรขาดความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงที่ถูกวิธี ชุมชนบนพื้นที่สูงมีการพึ่งพาตนเองน้อยลง เดิมเคยเลี้ยงไก่ไว้บริโภคเองในครัวเรือน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นการซื้อเนื้อไก่และไข่ในตลาดมาบริโภค ทำให้มีรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับความรู้การเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมืองด้วยตนเองอย่างถูกวิธี เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เลี้ยง อาหาร พันธุ์ไก่ วิธีการป้องกันโรคระบาด การจัดการผลผลิตและการจัดการฟาร์ม รูปแบบการเลี้ยงไก่ลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะสมบนพื้นที่สูง มี 3 รูปแบบ คือ การเลี้ยงแบบขังกรง ใช้คอกแบบยกพื้น การเลี้ยงแบบขังกรง ใช้คอกแบบติดกับพื้นดินและการเลี้ยงแบบครึ่งกักครึ่งปล่อย โดยการออกแบบรูปแบบโรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อหนึ่งครอบครัว ควรทำกรงความสูง 2 เมตรจากพื้นดิน กว้าง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร ทำจากไม้ไผ่หรือไม่เนื้อแข็ง ซึ่งเป็นขนาดโรงเรือนที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่จำนวน 5-10 ตัว หรือเลี้ยงแบบขังกรงโดยทำคอกให้ติดกับพื้นดินและการเลี้ยงแบบครึ่งกักครึ่งปล่อย ให้จำกัดบริเวณในการเลี้ยงแบบปล่อย มีการแยกขนาดไก่เล็กและไก่ใหญ่ออกจากกัน เพื่อควบคุมการแย่งอาหารและเคลื่อนย้ายได้ง่าย สูตรอาหารเป็นส่วนผสมที่หาได้จากในท้องถิ่น เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ เมล็ดฟักทอง ใบกระถิน ปลวก เป็นต้น โดยเฉพาะการใช้จุลินทรีย์ที่เก็บจากท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมเป็นอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เน้นการดูแลรักษาด้วยสมุนไพร เช่น กะเพรา ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงเลี้ยงไก่ เพาะพันธุ์ไก่ให้ประสบความสำเร็จ คือ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพึ่งพาและจัดการตนเอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน
#การเลี้ยงไก่ #ไก่ลูกผสม #เพาะพันธุ์ไก่ #การเลี้ยงไก่ไข่ #การเลี้ยงไก่ชน
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
ในพื้นที่บ้านปังค่า จังหวัดพะเยา ใช้ไก่พื้นเมืองและไข่ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของท้องถิ่น เช่น งานแต่งงาน งานศพหรืองานพิธีกรรมสู่ขวัญ แต่ปัจจุบัน ไก่พื้นเมืองมีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากการเลี้ยงที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เกษตรกรขาดความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงที่ถูกวิธี ชุมชนบนพื้นที่สูงมีการพึ่งพาตนเองน้อยลง เดิมเคยเลี้ยงไก่ไว้บริโภคเองในครัวเรือน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นการซื้อเนื้อไก่และไข่ในตลาดมาบริโภค ทำให้มีรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับความรู้การเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมืองด้วยตนเองอย่างถูกวิธี เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เลี้ยง อาหาร พันธุ์ไก่ วิธีการป้องกันโรคระบาด การจัดการผลผลิตและการจัดการฟาร์ม รูปแบบการเลี้ยงไก่ลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะสมบนพื้นที่สูง มี 3 รูปแบบ คือ การเลี้ยงแบบขังกรง ใช้คอกแบบยกพื้น การเลี้ยงแบบขังกรง ใช้คอกแบบติดกับพื้นดินและการเลี้ยงแบบครึ่งกักครึ่งปล่อย โดยการออกแบบรูปแบบโรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อหนึ่งครอบครัว ควรทำกรงความสูง 2 เมตรจากพื้นดิน กว้าง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร ทำจากไม้ไผ่หรือไม่เนื้อแข็ง ซึ่งเป็นขนาดโรงเรือนที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่จำนวน 5-10 ตัว หรือเลี้ยงแบบขังกรงโดยทำคอกให้ติดกับพื้นดินและการเลี้ยงแบบครึ่งกักครึ่งปล่อย ให้จำกัดบริเวณในการเลี้ยงแบบปล่อย มีการแยกขนาดไก่เล็กและไก่ใหญ่ออกจากกัน เพื่อควบคุมการแย่งอาหารและเคลื่อนย้ายได้ง่าย สูตรอาหารเป็นส่วนผสมที่หาได้จากในท้องถิ่น เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่ เมล็ดฟักทอง ใบกระถิน ปลวก เป็นต้น โดยเฉพาะการใช้จุลินทรีย์ที่เก็บจากท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมเป็นอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เน้นการดูแลรักษาด้วยสมุนไพร เช่น กะเพรา ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงเลี้ยงไก่ เพาะพันธุ์ไก่ให้ประสบความสำเร็จ คือ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการพึ่งพาและจัดการตนเอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน
#การเลี้ยงไก่ #ไก่ลูกผสม #เพาะพันธุ์ไก่ #การเลี้ยงไก่ไข่ #การเลี้ยงไก่ชน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง