วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

การเสวนาในหัวข้อ กล้วยไข่ “กล้วยเตี้ย สู้วาตภัย” | สวก.

?จากผลไม้ “กล้วยไข่” ของดี มีประโยชน์ของขึ้นชื่อจังหวัดกำแพงเพชร สู่นวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตกล้วยไข่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในจังหวัด ติดตามได้ในรายการ ARDA Talk?

ผู้ร่วมเสวนา?

นางสาวภาวดี ใจเอื้อ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
นายบุญมี ทองปรน เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร

กล้วยไข่เป็นผลไม้อัตลักษณ์ประจำถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชร มีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร เดิมจังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่มากถึง 40,000 ไร่ สร้างรายได้ให้เกษตรกรมากถึง 200 ล้านบาท แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันมีการปลูกกล้วยไข่ลดลงเ หลือเพียงประมาณ 3,000 ไร่ โดยมีสาเหตุมาจากพายุฤดูร้อน และข้อจำกัดของการปลูกกล้วยไข่ คือจะต้องปลูกด้วยหน่อใหม่ หรือมีการรื้อแปลงปลูกใหม่เท่านั้น เพื่อเป็นการคงคุณภาพของกล้วยไข่ จึงทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น ด้วยสาเหตุนี้ทาง สวก. จึงมีโครงการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าเพิ่มของกล้วยไข่ที่จะช่วยส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจและรายได้ให้เกษตรกร ในกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไข่ในจังหวัดกำแพงเพชร

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อลดขนาดความสูงของกล้วยไข่และเพิ่มขนาดลำต้นของกล้วยไข่ เพื่อให้ลำต้นโตขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ต้นของกล้วยไข่ และเป็นกล้วยไข่ต้นเตี้ย และอีกหนึ่งงานวิจัยคือการปลูกกล้วยด้วยระยะชิด ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นกล้วยในแปลงปลูก เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรโดยมีการทำแปลงทดลอง 2 แปลง

จากผลงานวิจัย ทีมวิจัยได้ใช้ฮอร์โมนลดความสูงในต้นกล้วย ที่ได้ผลคือต้นกล้วยระยะ 3 เดือน ซึ่งจะให้ความสูงเมื่อเริ่มตกเครือที่ความสูงประมาณ 1.5 ถึง 1.8 เมตร โดยลำต้นของกล้วยมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ส่วนการเพิ่มขนาดของกล้วยมีการใช้ฮอร์โมนเพิ่มขนาดของกล้วยฉีดในตอนที่เป็นผลอ่อน ซึ่งสามารถเพิ่มขนาดและน้ำหนักของกล้วยไข่เฉลี่ยต่อเครือที่ประมาณ 2 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น กล้วยเป็นกล้วยที่มีเกรดดีมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนได้อีกด้วย คือลดการใช้ไม้ค้ำยัน และการจ้างการมัดต้นกล้วย เมื่อกล้วยออกลูกที่ระดับไม่สูงมาก จึงทำให้การห่อกล้วยทำได้ง่าย ขึ้นลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

ต้นกล้วยที่ฉีดฮอร์โมนลดความสูง จะมีลำต้นเป็นทรงกระบอกลำต้นจะเท่ากับปลายยอด ทำให้เมื่อลมพัดมาแรงก็ยังสามารถที่จะคงตัวอยู่ได้โดยไม่หักสามารถต้านลมพายุได้ดี

รวมไปถึงการที่ปล่อยให้หน่อกล้วยออกมาก็ไม่จำเป็นต้องขยายปลูกแปลงใหม่ สามารถเลี้ยงหน่อกล้วยให้โตได้ตามปกติ และใช้ฮอร์โมนลดความสูงตามสูตรปกติ จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการทำแปลงใหม่ได้ โดยสามารถใช้หน่อกล้วยได้มากถึง 4 รุ่นภายใน 2 ปี จึงเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก

ขั้นต่อไปที่จะพัฒนาคือ ใช้พื้นที่เดิม พื้นที่น้อย และให้ผลผลิตมากขึ้น คือใช้กล้วยหน่อเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่จะให้หน่อได้ต้นละ 1 หน่อ ก็สามารถเพิ่มเป็น 2-3 หน่อต่อต้นได้ โดยจะต้องศึกษาหาปริมาณการใช้ฮอร์โมนและวิธีการบำรุงรักษาต้น เพื่อให้ต้นสมบูรณ์และออกดอกออกผลที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และอีกอย่างหนึ่งคือการปลูกกล้วยในระยะชิด ซึ่งจะเป็นการลดพื้นที่ปลูกในพื้นที่ต่อไร่ ได้จำนวนมากขึ้น โดยกล้วยที่ใช้ฮอร์โมนลดความสูง จะทำให้ใบกล้วยตั้งฉากขึ้นกว่ากล้วยปกติ จึงเป็นแนวคิดแนวที่มาของการปลูกกล้วยในระยะชิด เพื่อเพิ่มจำนวนต้นกล้วยในพื้นที่ให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น

#กล้วยไข่ #กล้วยเตี้ย ​​ # #covid19​​​ #โควิด19​​​ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​​​ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทย​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017