ผู้ร่วมเสวนา
รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ กรรมการพิจารณา ติดตาม และประเมินผลโครงการ กลุ่มเรื่อง สัตว์เศรษฐกิจ ของ สวก.
รศ.ดร.นิติ ชูเชิด ภาควิชาชีววิทยา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น.สพ.ปรีชา เอกธรรมสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที อาร์ เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในโลกเลย ที่สามารถที่จะผลิตสินค้าอาหารทะเลเพื่อป้อนความต้องการของผู้บริโภคได้ หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของกุ้งขาว ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตได้ถึงปีละ 260,000 ตัน และเมื่อคำนวนเป็นอาหารสัตว์ที่จะต้องใช้ในการเลี้ยงกุ้งแล้ว จะต้องใช้อาหารอยู่ที่ประมาณ 364,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 138 ล้านบาท อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยประสบกับปัญหาทรัพยากรทางประมงในทะเลลดลง ทำให้การหาอาหารปลาป่นมาเพื่อมาเป็นอาหารกุ้งยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ ทางสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรจึงได้สนับสนุนทุนวิจัยในการที่จะนำเอากากถั่วเหลืองหมัก มาใช้เป็นอาหารแทนปลาป่น เพื่อที่จะแก้ปัญหาในเรื่องของการผลิตกุ้งขาวในประเทศไทย ดังนั้นผลงานวิจัยที่ สวก. ได้รับมาจากนักวิจัยก็คือ สามารถที่จะนำเอากากถั่วเหลืองมาหมักด้วยบาซิลลัส ก็ใช้เป็นอาหารแทนปลาป่นได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคขี้ขาวในกุ้ง และสามารถที่จะให้อุตสาหกรรมอาหารกุ้งนั้นใช้กากถั่วเหลืองที่หมักแล้วมาทดแทนตามผลได้ร้อยละ 25 ซึ่งเป็นการลดการสูญเสียทรัพยากรทางทะเลได้อีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการลดต้นทุนการผลิตของการเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศไทยด้วย และสุดท้ายกากถั่วเหลืองซึ่งถูกนำมาแปรรูปแล้วนั้นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกทอดหนึ่ง
IUU ให้ใบเหลืองกับประเทศไทยในเรื่องของการทำประมง ทำให้ส่งผลกระทบต้องการส่งออกสัตว์น้ำรวมไปถึงกุ้งด้วย ทำให้ต้องมีการจัดระเบียบและหาแนวทางอก รวมไปถึงการเลี้ยงกุ้งที่จะต้องใช้ปลาป่นเป็นส่วนผสมของอาหารมากถึง 35 % โดยทาง IUU กำหนดว่าจะต้องไม่เกินที่ 7% โดยจากงานวิจัยที่ผ่านมาจากถั่วเหลืองสามารถใช้เป็นอาหารทดแทนปลาป่นได้ แต่ยังประสบปัญหาในเรื่องของการย่อยของกุ้ง เนื่องจากกุ้งมีลำไส้สั้น สามารถย่อยกากถั่วเหลืองได้เพียง 55 % เท่านั้น เนื่องจากมีไฟเบอร์จำนวนมากหรือที่เรียกว่าสารต้านโภชนาการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้สารต้านโภชนาการที่มีอยู่ในกากถั่วเหลือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของตับและตับอ่อนของกุ้ง มีความสามารถในการดูดซึมอาหารลดลง
จึงมีการคิดค้นและพัฒนากากถั่วเหลืองโดยใช้จุลินทรีย์มาย่อยกากถั่วเหลือง โดยใช้จุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัสมาย่อยกากถั่วเหลือง ทำให้กากถั่วเหลืองมีขนาดเล็กลง โดยจุลินทรีย์จะเข้ามาทำลายสารต้านโภชนาการทำให้กากถั่วเหลืองมีขนาดเล็กลง มีสัดส่วนของเปปไทด์ขนาดเล็กสูงขึ้น รวมไปถึงกุ้งยังสามารถดูดซึมและนำสารอาหารไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้กุ้งมีสุขภาพแข็งแรงมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ลดปัญหาเซลล์ตับลอกหลุด ทนทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคมากขึ้น มีอัตราการรอดตายมากขึ้น และมีผลผลิตที่สูงขึ้น
กากถั่วเหลืองหมักมีโปรตีนประมาณ 52 % ปลาป่นมีโปรตีน 60% โดยใช้กากถั่วเหลืองหมัก 10 % ในสูตรทดแทนปลาป่นได้ 8% จากการส่งออกอาหารกุ้งประมาณ 450,000 ตัน จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 350 ล้านบาท หรือเกษตรกรสามารถซื้ออาหารกุ้งได้ในราคาที่ลดลง 80 สตางค์ต่อกิโลกรัม ลดการใช้ปลาป่นได้ 36,000ตันต่อปี คิดเป็นปลาสดที่มาทำปลาป่นประมาณเกือบ 200,000 ตันต่อปีและยังสามารถนำไปปรับใช้กับอาหารปลาได้โดยจะสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 20-30 สตางค์ต่อกิโลกรัม
สามารถอัดเม็ดขึ้นรูปอาหารกุ้งได้ดีขึ้นมีความคงตัวอยู่ในน้ำได้นานขึ้นเมื่อกุ้งกินไปแล้วจะทำให้ย่อยง่าย ย่อยได้เร็วสามารถดูดซึมได้เร็ว และในอนาคตอาจจะได้ใช้กากถั่วเหลืองแทนปลาป่น 100%
#กากถั่วเหลือง #โปรตีน #กุ้ง #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง