วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

การเสวนาในหัวข้อ “การบริหารจัดการ เทคโนโลยีการปลูกข้าวสมัยใหม่”

ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แล้วใน สวก.มีอะไรเกี่ยวกับ “ข้าว” บ้างนะ ติดตามได้ในรายการ ARDA Talk.?

ผู้ร่วมเสวนา
– นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
– นางสาวกุลศิริ กลั่นนุรักษ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวคลองหลวง
– รศ.ดร.เอกรัฐ บุญภูงา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
– นายเชน หอมผา ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สวก. มีการพัฒนาและสนับสนุนเกษตรกรเกี่ยวกับการปลูกข้าวสมัยใหม่อย่างไรบ้าง
กรอบงานวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศกลุ่มเรื่องข้าว ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวก. คือส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรด้วยเทคโนโลยี การจัดการระบบนิเวศในแปลงนา พัฒนาเครื่องจักรกลพัฒนาต้นแบบ การรวมกลุ่มของเกษตรกร การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว นวัตกรรมการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การพัฒนาข้าวคุณภาพสำหรับตลาดพิเศษ ด้วยการพัฒนานวัตกรรมการแปรรูป ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีคุณภาพดี พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีมูลค่าสูง

งานวิจัยในกลุ่มเรื่องข้าวจะครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานคือ
ต้นน้ำ คือการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว การพัฒนาวิธีการเพาะปลูก การบริหารการจัดการทรัพยากรการผลิต การวิจัยเกี่ยวกับโรคพืช รวมไปถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการเพาะปลูก
กลางน้ำ คือการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การพัฒนาวิธีการสีข้าว การตรวจคุณภาพข้าว การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการการสีสำหรับใช้ในชุมชน
ปลายน้ำ คือการแปรรูปข้าวเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ยา เครื่องสำอางอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ รวมไปถึงการแปรรูปผลพลอยได้จากกระบวนการเพาะปลูกข้าว เช่น รำข้าว ฟางข้าว แกลบ ไปเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พลังงาน และอื่นๆ
การตลาด วิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมไปถึงปัจจัยทางการตลาด เช่น เศรษฐกิจของประเทศและต่างประเทศที่มีผลต่อตลาดข้าว รวมไปถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ทางการตลาด การวางแผนทางการตลาดอย่างครอบคลุม
การศึกษาทิศทางการวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน การประเมินปัญหาและอุปสรรค อุปสรรคในการพัฒนาข้อมูลในการกำหนดนโยบายในอนาคต

งานวิจัยต่อให้ดีแค่ไหนก็ต้องทำให้ดู ต้นแบบอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากในแต่ละบริบทของนาในแต่ละพื้นที่ เช่น นาชลประทาน นาน้ำฝนหรืออาจจะเป็นนาน้ำใต้ดิน จะต้องดูว่าแบบไหนที่เป็นต้นแบบได้จริง รวมไปถึงงานวิจัยจะต้องทำให้ดูด้วย ในต้นแบบต่างๆ โดยให้เกษตรกรได้เห็นเองจะเป็นการที่เกษตรกรบอกปากต่อปาก

โครงการแอพพลิเคชั่นแบบครบวงจร
พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ชาวนาได้มีการประเมินตนเอง ว่าต้องการปลูกข้าวพันธุ์ไหน ถึงจะเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมไปถึงการคำนวณต้นทุนกำไรและจำนวนขนาดทุนของชาวนา เพื่อเป็นการวิเคราะห์และประเมินก่อนการตัดสินใจทำนา จะทำให้ชาวนาได้ทราบถึงแนวทางในการปลูกข้าว เพื่อที่จะเป็นการลดต้นทุนและได้ผลกำไรจากการปลูกในแต่ละช่วง

ในภายในแอพพลิเคชั่น มีฐานข้อมูลที่กรมการข้าวได้รวบรวมไว้หลายปี ข้อมูลการพยากรณ์ต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลของกรมชลประทาน เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการปลูกข้าวโดยให้เกษตรกรเข้ามากรอกข้อมูลที่จำเป็นในการประเมิน ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างง่าย เพื่อให้เกษตรกรสามารถมีความเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้แอปพลิเคชันนี้สามารถตอบโจทย์เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

โดยภายใน application จะเป็นการแนะนำตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำรวมไปถึงการตลาดการขายข้าว โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

การพัฒนาระบบสารสนเทศให้แบบจำลองอัจฉริยะเพื่อบริหารการจัดการการผลิตข้าวแบบครบวงจรโครงการนี้ได้นำงานวิจัยมาเข้าร่วมอย่างไรบ้าง

คือ ช่วยเกษตรกรคิดว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุดและกำไรสูงสุด โดยในระยะแรกเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศระบบจำลองอัจฉริยะ คือช่วยในการตัดสินใจของเกษตรกรว่าจะปลูกพืชข้าวพันธุ์อะไรรวมไปถึงขั้นตอนในการปลูก เกษตรกรจะต้องทำอย่างไรบ้าง ต้องเริ่มต้นจากการใส่ปุ๋ยเมื่อไหร่ ดูแลโรคแมลงอย่างไร รวมไปถึงการจัดจำหน่ายการตลาด และประเมินกำไรต่อพื้นที่จะได้เท่าไร
ตัวข้อมูลวิเคราะห์ได้ข้อมูลมาจากกรมอุตุนิยมวิทยา จะทำให้ทราบปริมาณน้ำฝนในปัจจุบัน ปริมาณน้ำฝนในอนาคต ความชื้นในอากาศว่ามีปริมาณเท่าไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำมาประมวลผลเพื่อคาดการณ์ การดูแลกระบวนการผลิตรวมถึงคาดการณ์การเกิดโรคและแมลงได้ ข้อมูลที่ได้จากทรัพยากรดิน คือพื้นที่ดินโซนนี้เหมาะแก่การปลูกข้าวพันธุ์ไหน โดยใช้ระบบ AI ในการประมวลผล เด็กๆรวมถึงใช้ข้อมูลจากเกษตรกรเองโดยเมื่อเกษตรกรกรอกข้อมูลที่จำเป็นเข้าไปในระบบ ระบบจะทำการประเมินตัวเองในการคาดการณ์ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงตอนท้ายการเก็บเกี่ยว มีความคลาดเคลื่อนมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลจะถูกย้อนกลับมาใช้ในการประมวลผลนอกจากนี้การประมวลผลจะแม่นยำมากยิ่งขึ้นถ้ามีเซ็นเซอร์ในการวัด เช่น วัดปริมาณน้ำ ว่าข้อมูลต่างๆในนาวัดความชื้นสัมภาษณ์รวมไปถึงการประเมินการเกิดโรคและแมลงโดยเฉพาะแมลงถ้ามีเครื่องกับดักแมลงที่ติดไว้ในไร่นาแล้วแจ้งขึ้นมายัง application ก็จะสามารถแจ้งเตือนไปยังเกษตรกรคนอื่นได้

#เทคโนโลยี #ข้าว ​​ #ปลูกข้าว #covid19​​​ #โควิด19​​​ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​​​ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทย​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017