ข้าวมีความสำคัญต่อชีวิตคนไทยเป็นอาหารหลักของทุกคน และมีความสำคัญในรูปแบบของวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ แต่ความสัมพันธ์กันยังไงนั้น ติดตามได้ในรายการ ARDA Talk?
ผู้ร่วมเสวนา
นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานวิจัย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
ผศ.ดร.ปวีณา ลี้ตระกูล อาจารย์โปรแกรมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ผศ.ดร.กษิดิศ ใจผาวัง รองคณะบดีด้านจัดการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นสายพันธุ์หนึ่งของทางภาคเหนือ และเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย นิยมนำมาทำเป็นอาหารคาวหวาน โดยเฉพาะข้าวเหนียวมูน ลักษณะข้าวจะเรียวยาวเรียงเม็ดสวยงาม เหลือบมันเหนียวนุ่ม ด้วยลักษณะโดดเด่นจึงทำให้เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีการพัฒนาการคัดเลือกสายพันธุ์ให้มีความบริสุทธิ์ จนได้มาเป็นข้าวเหนียวเขี้ยวงูพันธุ์ 8974 โดยจะมีลักษณะโดดเด่นคือ มีเมล็ดเล็กเรียวยาว เมื่อนึ่งแล้วมีความเหลื่อบมัน มีความเหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม มีคุณค่าทางโภชนาศาสตร์ที่โดดเด่นกว่าข้าวเหนียวพันธุ์อื่นๆ ทำให้ในเดือนกรกฎาคม 2562 ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศให้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
แต่เนื่องจากการผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู ยังมีข้อจำกัดโดยในเรื่องของผลิตมีความหลากหลายแบบ ทำให้ยังไม่ได้ตามมาตรฐานที่ดีมากนัก เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ ขาดการปลูกที่ถูกต้อง มีการปลูกน้อย ทำให้ปริมาณไม่ได้ตามความต้องการ จึงทำให้ สวก. ให้การสนับสนุนในการที่จะพัฒนาโครงการเพื่อจะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อที่จะสามารถผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงูให้ได้คุณภาพมาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการ รวมไปถึงยังคงคุณลักษณะตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
โครงการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ในจังหวัดเชียงราย โดยโครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่ผู้ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู 8974 โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ มี 3 อย่าง คือ เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนผู้ผลิตพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายให้คงความบริสุทธิ์และเป็นอัตลักษณ์ของสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ของจังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายแนวคิด Eco Rice และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายภายใต้แนวคิด Eco Rice และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI
การสร้างกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร 92 รายในพื้นที่ 4 พื้นที่ มี 4 ข้อที่ให้กับเครือข่ายเกษตรกร คือ การอบรมให้ความรู้กับเกษตรกร มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร มีแปลงนาต้นแบบให้เกษตรกรได้ศึกษาดูงาน และลำดับสุดท้ายเป็นการติดตามผล
การตลาดเมื่อได้สินค้าที่ดีแล้ว มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาในเรื่องของตราสินค้า สร้างการรับรู้สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค การผลักดันทางการตลาดคือสร้างเครือข่ายที่จะช่วยผลักดันการตลาด ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มีบทบาทที่จะช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นพาณิชย์จังหวัดรวมไปถึงภาคเอกชนที่จะร่วมมือกับ Central Plaza เพื่อที่จะนำข้าวเหนียวเขี้ยวงูไปจำหน่ายในสาขาต่างๆทั่วประเทศไทยอีกด้วย
แนวคิดการยกระดับเกษตรกรในพื้นที่สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การยกระดับและการสร้างคุณค่าของห่วงโซ่อุปทานในชุมชน มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ต้นน้ำ ได้แก่การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ การสร้างเครือข่ายเกษตรกรผ่านแนวคิด Eco Rice และ GI กลางน้ำ คือ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยขึ้นทะเบียนใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ปลายน้ำ คือ พัฒนาการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ภายใต้แนวคิด Eco Rice
กระบวนการปลูกและการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974
กระบวนการปลูกชาวนาทำการปลูกด้วยวิธีนาดำ โดยใช้คนหรือรถปลูกอายุการเพาะปลูก 150 วัน ผลผลิตต่อไร่ 60 ถังต่อไร่
ด้วยข้อจำกัดของข้าวเหนียวเขี้ยวงู คือ อายุการเพาะปลูกยาวนานกว่าข้าวสายพันธุ์อื่น และให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยต่ำกว่าเข้าสายพันธุ์อื่น จึงมีการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ตามแนวคิดเกษตรผสมผสานและ Eco Rice และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการปลูกพืชในระหว่างการทำนา เช่น ผักบุ้ง ปลูกพริก หรือเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ส่วนเป็ดก็จะไปกินศัตรูข้าวในนา รวมไปถึงการเลี้ยงปลาผสมผสานในนาข้าว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง รวมไปถึงการใช้เกษตรอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยเอาไว้ใช้เอง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายและลดต้นทุนการปลูกข้าวได้ อย่างเช่น ในอำเภอเชียงแสนจะมีปัญหาเรื่องปูนาเป็นจำนวนมาก เมื่อก่อนอาจจะใช้ยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าปู แต่ในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้จับปู นำมาแปรรูปทำเป็นอาหาร เช่น น้ำปูซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือส่งขายทั่วภาคเหนือและทั่วประเทศ
ข้อจำกัดของข้าวเหนียวเขี้ยวงูที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้บริโภค ที่เป็นผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม มีการส่งเสริมทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าโดยเป็น Brand awareness, Product identities , Origin guarantee ส่วนราคาขายที่ไม่แตกต่างจากข้าวเหนียวสายพันธุ์อื่น ก็จะมีการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI เป็นตัวการันตีอีกทางหนึ่ง
#ข้าวเหนียวเขี้ยวงู #ข้าว #การพัฒนาที่ยั่งยืน #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ผู้ร่วมเสวนา
นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานวิจัย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
ผศ.ดร.ปวีณา ลี้ตระกูล อาจารย์โปรแกรมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ผศ.ดร.กษิดิศ ใจผาวัง รองคณะบดีด้านจัดการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นสายพันธุ์หนึ่งของทางภาคเหนือ และเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย นิยมนำมาทำเป็นอาหารคาวหวาน โดยเฉพาะข้าวเหนียวมูน ลักษณะข้าวจะเรียวยาวเรียงเม็ดสวยงาม เหลือบมันเหนียวนุ่ม ด้วยลักษณะโดดเด่นจึงทำให้เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีการพัฒนาการคัดเลือกสายพันธุ์ให้มีความบริสุทธิ์ จนได้มาเป็นข้าวเหนียวเขี้ยวงูพันธุ์ 8974 โดยจะมีลักษณะโดดเด่นคือ มีเมล็ดเล็กเรียวยาว เมื่อนึ่งแล้วมีความเหลื่อบมัน มีความเหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม มีคุณค่าทางโภชนาศาสตร์ที่โดดเด่นกว่าข้าวเหนียวพันธุ์อื่นๆ ทำให้ในเดือนกรกฎาคม 2562 ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศให้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
แต่เนื่องจากการผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู ยังมีข้อจำกัดโดยในเรื่องของผลิตมีความหลากหลายแบบ ทำให้ยังไม่ได้ตามมาตรฐานที่ดีมากนัก เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ ขาดการปลูกที่ถูกต้อง มีการปลูกน้อย ทำให้ปริมาณไม่ได้ตามความต้องการ จึงทำให้ สวก. ให้การสนับสนุนในการที่จะพัฒนาโครงการเพื่อจะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อที่จะสามารถผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงูให้ได้คุณภาพมาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการ รวมไปถึงยังคงคุณลักษณะตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
โครงการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ในจังหวัดเชียงราย โดยโครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่ผู้ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู 8974 โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ มี 3 อย่าง คือ เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนผู้ผลิตพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายให้คงความบริสุทธิ์และเป็นอัตลักษณ์ของสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ของจังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายแนวคิด Eco Rice และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายภายใต้แนวคิด Eco Rice และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI
การสร้างกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร 92 รายในพื้นที่ 4 พื้นที่ มี 4 ข้อที่ให้กับเครือข่ายเกษตรกร คือ การอบรมให้ความรู้กับเกษตรกร มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร มีแปลงนาต้นแบบให้เกษตรกรได้ศึกษาดูงาน และลำดับสุดท้ายเป็นการติดตามผล
การตลาดเมื่อได้สินค้าที่ดีแล้ว มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาในเรื่องของตราสินค้า สร้างการรับรู้สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค การผลักดันทางการตลาดคือสร้างเครือข่ายที่จะช่วยผลักดันการตลาด ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มีบทบาทที่จะช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นพาณิชย์จังหวัดรวมไปถึงภาคเอกชนที่จะร่วมมือกับ Central Plaza เพื่อที่จะนำข้าวเหนียวเขี้ยวงูไปจำหน่ายในสาขาต่างๆทั่วประเทศไทยอีกด้วย
แนวคิดการยกระดับเกษตรกรในพื้นที่สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การยกระดับและการสร้างคุณค่าของห่วงโซ่อุปทานในชุมชน มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ต้นน้ำ ได้แก่การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ การสร้างเครือข่ายเกษตรกรผ่านแนวคิด Eco Rice และ GI กลางน้ำ คือ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยขึ้นทะเบียนใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ปลายน้ำ คือ พัฒนาการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ภายใต้แนวคิด Eco Rice
กระบวนการปลูกและการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974
กระบวนการปลูกชาวนาทำการปลูกด้วยวิธีนาดำ โดยใช้คนหรือรถปลูกอายุการเพาะปลูก 150 วัน ผลผลิตต่อไร่ 60 ถังต่อไร่
ด้วยข้อจำกัดของข้าวเหนียวเขี้ยวงู คือ อายุการเพาะปลูกยาวนานกว่าข้าวสายพันธุ์อื่น และให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยต่ำกว่าเข้าสายพันธุ์อื่น จึงมีการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ตามแนวคิดเกษตรผสมผสานและ Eco Rice และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการปลูกพืชในระหว่างการทำนา เช่น ผักบุ้ง ปลูกพริก หรือเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ส่วนเป็ดก็จะไปกินศัตรูข้าวในนา รวมไปถึงการเลี้ยงปลาผสมผสานในนาข้าว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง รวมไปถึงการใช้เกษตรอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยเอาไว้ใช้เอง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายและลดต้นทุนการปลูกข้าวได้ อย่างเช่น ในอำเภอเชียงแสนจะมีปัญหาเรื่องปูนาเป็นจำนวนมาก เมื่อก่อนอาจจะใช้ยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าปู แต่ในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้จับปู นำมาแปรรูปทำเป็นอาหาร เช่น น้ำปูซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือส่งขายทั่วภาคเหนือและทั่วประเทศ
ข้อจำกัดของข้าวเหนียวเขี้ยวงูที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้บริโภค ที่เป็นผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม มีการส่งเสริมทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าโดยเป็น Brand awareness, Product identities , Origin guarantee ส่วนราคาขายที่ไม่แตกต่างจากข้าวเหนียวสายพันธุ์อื่น ก็จะมีการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI เป็นตัวการันตีอีกทางหนึ่ง
#ข้าวเหนียวเขี้ยวงู #ข้าว #การพัฒนาที่ยั่งยืน #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง