วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

การเสวนาในหัวข้อ “ความมั่นคงด้านอาหารของไทย กับภัยโควิด-19”

เชิญชมการเสวนาเรื่อง “ความมั่นคงด้านอาหารของไทย กับภัยโควิด19″ เมื่อประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นครัวของโลก จะมีทิศทางและแผนรับมือทางด้านอาหารสำหรับสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ในปัจจุบัน อย่างไร?

ผู้ร่วมเสวนา
– ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
– นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่ ภายใต้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ

Covid-19 ส่งผลกระทบอย่างไรกับสินค้าการเกษตรและเกษตรกร
ประเทศไทยเป็นครัวโลก โดยมีการทำการเกษตรเป็นหลัก การเกิด Covid-19 มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร เช่น มาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้าย จึงทำให้มีรูปแบบการจัดการสินค้าเกษตรที่เปลี่ยนไป หลายคนกลับบ้าน จะทำให้ได้แรงงานทำการเกษตรมาเพิ่ม มีรูปแบบการจัดการการขายที่เปลี่ยนไป หันมาจำหน่ายสินค้ากันเอง ผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการ มีการสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง โดยที่ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง มีการจัดการระบบขนส่งที่เอื้อต่อเกษตรกร ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้

สถานการณ์ส่งออกเป็นอย่างไรบ้าง
ในช่วงแรกทำให้ส่งออกสินค้าไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกและเกษตรกร โดยมีการวางแผนการผลิตและส่งออกใหม่ ให้เตรียมพร้อมไว้ เมื่อทุกประเทศเปิดประเทศ จะสามารถผลิตและส่งออกได้เลย รวมไปถึงการจัดทำเว็บไซต์รวมรวมสินค้าเกษตรในแต่ละจังหวัด เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งอาหารในแต่ละจังหวัด

ในเรื่องของการวิจัย สวก. มีวิธีการรับมือการวิจัยทางด้านอาหารอย่างไรบ้าง

กรอบวิจัยของ สวก. คือ กรอบที่ 1 ความมั่นคงอาหาร จะต้องมีอาหารเพียงพอ มีโภชนาการที่ดี กรอบที่ 2 คือ การผลิตอาหารที่ปลอดภัย กรอบที่ 3 อาหารศึกษา อาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเช่น เด็ก คนชรา หรือคนป่วย กรอบที่ 4 คือ การวิจัยในเชิงนโยบาย จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยในแต่ละกรอบวิจัยจะมีเป้าหมายและประเด็นแตกต่างกันไป หากประเด็นใด ตามกรอบวิจัยที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาแก้ไข ทาง สวก. จำเป็นจะต้องไปแสวงหาสถาบันการศึกษา ผู้รู้ เพื่อที่จะมา ทำข้อเสนองานวิจัยปัญหาเหล่านั้นให้ครบถ้วน

จะทำอย่างไรให้สินค้าเกษตรของเรายั่งยืน และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ
สามารถเพิ่มคุณค่า เพิ่มมูลค่าสินค้า ให้กับสินค้าการเกษตรโดยใช้งานวิจัยของ สวก. เป็นตัวต้นแบบ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าเกษตรของตนเอง

ในภาวะวิกฤต Covid 19 มีงานวิจัยอะไรบ้างที่จะมาแก้ไขปัญหาได้
สวก. มีแบบแผนรับมือไว้ 3 ระยะ ในที่นี้ระยะแรกคือ ระยะเร่งด่วนระยะสั้น มี 6 เรื่องดังนี้

– การให้ข้อมูลการจัดการความปลอดภัยอาหารและการบริโภคส่งเสริมโภชนาการกับประชาชนแต่ละกลุ่มวัย
– การสร้างกลไกในการเสริมสร้างความมั่นคงอาหารระดับครัวเรือนชุมชนด้วยทฤษฎีการใช้ที่ดินและเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจฐานราก
– สร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์กับผู้บริโภคโดยตรง
– การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร Smart farming
– การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
– การพัฒนาตำรับสมุนไพรเพื่อป้องกันบำบัดรักษา covid-19

นอกจากอาหารแล้วยังมีการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรตำรับยาสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาและป้องกันโรคอุบัติใหม่ covid-19 อีกด้วย

จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุตสาหกรรม
ในระยะแรกที่เกิด covid 19 เกิดการชะลอตัวของอุตสาหกรรมทั่วโลก ทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าการเกษตร และเมื่อหลายประเทศเริ่มคลี่คลายก็ทำให้เริ่มส่งออกผลไม้ได้ และเกิดการขยายตัวภายในประเทศโดยใช้ระบบขนส่งภายในประเทศ รวมไปถึงการใช้นวัตกรรมใหม่จาก สวก. มาช่วยในการแปรรูปสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรได้มากขึ้น ทำให้มีสินค้าใหม่ๆเกิดขึ้น ทำให้วิถีการทำเกษตรเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ จากผู้ผลิตผันตัวเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น

หากต้องการความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ จะต้องปกป้องไม่ให้มีเรื่องของโรค การระบาดของจุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตที่จะปนเปื้อน เกิดจากการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศเข้ามาภายในประเทศ เพราะจะเป็นการรักษาแหล่งผลิตอาหารภายในประเทศ เพื่อให้มีความบริสุทธิ์จากสิ่งที่เป็นอันตรายจากต่างประเทศ เมื่อนำเข้ามาแล้วจะต้องปลอดภัยด้วย

ในการแสวงหางานวิจัยใหม่ๆจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง
สวก. มีเครื่อข่ายนักวิจัยอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา ครู หรือสถาบันการศึกษา เมื่อเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา สวก. สามารถจัดหาผู้วิจัยในเฉพาะด้านนั้นๆได้


#ความมั่นคงด้านอาหาร #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017