สัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดของไทยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพ สัตว์เศรษฐกิจที่เราจะมาพูดคุยกันวันนี้ก็คือโคนม เรามาดูกันสิว่า ความสำคัญอาหารโคนม ที่เกษตรกรควรรู้ คืออะไร
ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระองค์ ได้เสด็จประพาสประเทศเดนมาร์ก มีความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก จึงมีพระราชดำริให้นำอาชีพการเลี้ยงโคนมเข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก และสนับสนุนให้เกษตรกรไทยเลี้ยงโคนม เพื่อทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพที่เกษตรกรการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย จึงทรงริเริ่มวางรากฐานกิจการโคนมเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2505 โดยรัฐบาลเดนมาร์กได้น้อมเกล้าถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย โดยการจัดตั้งฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์กขึ้น ที่อำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าเฟรคเตอริกที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดร่วมกัน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 ทำให้เกษตรกรไทยผู้ผลิต สามารถสร้างรายได้และสร้างอาชีพที่เข้มแข็ง และผู้บริโภคนมโคก็มีร่างกายที่แข็งแรง ดังเช่นพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “การเลี้ยงโคนมก็เป็นอาชีพที่ดีสำหรับคนไทย เหมาะกับประเทศและถ้าใช้หลักวิชาที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีความเจริญและมีรายได้ดี”
สำหรับความสำคัญของความต้องการโภชนะโคนมซึ่งเป็นงานวิจัยของ สวก. ในครั้งนี้นั้นแม้ว่าประเทศไทยจะมีการเลี้ยงโคนมมายาวนานแล้วก็ตามแต่การคำนวณสูตรอาหารของโคนม ที่ทำกันอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังไปพึ่งพิงข้อมูลความต้องการโภชนะของโคนมต่างประเทศอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการเลี้ยง สภาพสิ่งแวดล้อม ที่แตกต่างกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้ได้สูตรอาหารที่อาจจะยังไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้เลี้ยงโคนมจำนวนมากกว่า 20,000 ราย มีจำนวนโคนมทั้งประเทศประมาณ 700,000 ตัว ผลผลิตน้ำนมที่ผลิตได้จะค่อนข้างต่ำ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม คุณภาพการจัดการฟาร์ม สายพันธุ์โคนม และการจัดการด้านอาหาร เป็นต้น ปัญหาต่างๆเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตน้ำนม และเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเลี้ยงโคนม ดังนั้นการที่จะให้อาหารที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น ควรใช้วัตถุดิบที่มีในปริมาณมาก สามารถหาได้ตลอดเวลาทั้งปี ตลอดจนมีฐานข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องของคุณภาพทางโภชนะ ค่าการย่อยได้ของโภชนะ ตลอดจนค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่ครบถ้วน เพื่อประกอบเป็นสูตรอาหาร ให้โคนมได้รับปริมาณภาชนะที่เพียงพอต่อความต้องการที่ระยะต่างๆของการเจริญเติบโต ย่อมส่งผลดีต่อการมีสภาพร่างกายที่เหมาะสม มีความสมบูรณ์ของพันธุ์ และสามารถให้ผลผลิตน้ำนมเพิ่มสูงขึ้นได้ แล้วยังช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อีกด้วย
สำหรับในงานวิจัยในโครงการย่อยอยู่ทั้งหมดอยู่ 5 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่ายมาก เรื่องแรก จะทำการศึกษาฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด ว่าจะมีธาตุอาหารมากน้อยเพียงไร หลังจากนั้นก็จะมีการศึกษาเรื่องค่าการย่อยได้ของโภชนะ และค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของวัตถุดิบอาหารโคนม จากวัตถุดิบต่างๆที่พบในประเทศไทย หลังจากนั้นจึงจะเลือกวัตถุดิบบางชนิดที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง มาศึกษาในเชิงลึก ในตัวสัตว์ เพื่อให้ข้อมูลการย่อยได้ของโภชนะ และพลังงานที่ใกล้เคียงกับสัตว์มากที่สุด เพื่อนำมาปรับใช้ในการคำนวณสูตรอาหารต่อไป สำหรับอีก 3 โครงการจะไปศึกษาในเรื่องของความต้องการโปรตีนและพลังงานทดแทนสูงและศึกษาความต้องการพลังงานของโครีดนม ศึกษาเรื่องความต้องการโปรตีนและพลังงานในระดับของฟาร์มโคนม จากงานวิจัยทั้ง 5 ชิ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสูตรอาหาร ความต้องการของโปรตีนและพลังงานทดแทนสูงของโครีดนม สิ่งเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้ในการจัดทำคู่มือค่าความต้องการโภชนะของโคนมแห่งประเทศไทย เพื่อส่งต่อให้กับพี่น้องเกษตรกรวิสาหกิจ กลุ่มสหกรณ์ ผู้เลี้ยงโคนมแห่งประเทศไทย เพื่อให้สามารถที่จะลดต้นทุนการผลิตน้ำนม มีวัตถุดิบและอาหารที่มีคุณค่าตรงตามความต้องการของโคนม ตามสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ในประเทศไทยต่อไป
การใช้อาหาร TMR ดีอย่างไร
สามารถควบคุมสัดส่วนของอาหารหยาบ เช่น หญ้าหรือข้าวโพด กับสัดส่วนของอาหารข้นได้ การควบคุมส่วนทำให้วัวเคี้ยวเอื้องได้ดีขึ้น กินง่าย ย่อยง่าย นำไปใช้ประโยชน์ได้สูง กระเพาะอาหารมีความสมดุล การจ่ายอาหาร TMR ทำให้สามารถใช้ผลพลอยได้ทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรด เปลือกข้าวโพดหรือแม้แต่ฟางข้าว นำมาผสมเป็นอาหาร TMR ได้ ทำให้การออกสูตรอาหารได้ราคาต่ำ อาหารมีราคาถูก และจะเกิดอีกคำนึงคือ Zero Waste คือจ่ายกินหมดพอดี ทำให้อาหารไม่มีการสูญเสีย มีประสิทธิภาพในการจ่ายอาหาร
กิน TMR ดีอย่างไร นอกจากวัวนมแล้ว วัวเนื้อก็สามารถทานได้เช่นกัน วัวนมเมื่อกิน TMR จะเพิ่มผลผลิตน้ำนม 15-20 % องค์ประกอบน้ำนมมากกว่า 12.25 โดยสหกรณ์โคนมทั่วประเทศจะมีสมาชิกมี ที่มีองค์ประกอบของน้ำนมมากกว่า 12.25 ต่ำกว่า 50% ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ จะต้องส่งเสริมให้สมาชิกผู้เลี้ยงวัวนมเปลี่ยนระบบการเลี้ยง เป็นแบบสูตร TMR กินอาหารTMR แล้วจะทำให้วัวมีสุขภาพดีขึ้นไม่เป็นโรคด้วย
#อาหาร #โคนม #น้ำนม #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระองค์ ได้เสด็จประพาสประเทศเดนมาร์ก มีความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก จึงมีพระราชดำริให้นำอาชีพการเลี้ยงโคนมเข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก และสนับสนุนให้เกษตรกรไทยเลี้ยงโคนม เพื่อทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพที่เกษตรกรการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย จึงทรงริเริ่มวางรากฐานกิจการโคนมเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2505 โดยรัฐบาลเดนมาร์กได้น้อมเกล้าถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย โดยการจัดตั้งฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์กขึ้น ที่อำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าเฟรคเตอริกที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดร่วมกัน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 ทำให้เกษตรกรไทยผู้ผลิต สามารถสร้างรายได้และสร้างอาชีพที่เข้มแข็ง และผู้บริโภคนมโคก็มีร่างกายที่แข็งแรง ดังเช่นพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “การเลี้ยงโคนมก็เป็นอาชีพที่ดีสำหรับคนไทย เหมาะกับประเทศและถ้าใช้หลักวิชาที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีความเจริญและมีรายได้ดี”
สำหรับความสำคัญของความต้องการโภชนะโคนมซึ่งเป็นงานวิจัยของ สวก. ในครั้งนี้นั้นแม้ว่าประเทศไทยจะมีการเลี้ยงโคนมมายาวนานแล้วก็ตามแต่การคำนวณสูตรอาหารของโคนม ที่ทำกันอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังไปพึ่งพิงข้อมูลความต้องการโภชนะของโคนมต่างประเทศอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการเลี้ยง สภาพสิ่งแวดล้อม ที่แตกต่างกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้ได้สูตรอาหารที่อาจจะยังไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้เลี้ยงโคนมจำนวนมากกว่า 20,000 ราย มีจำนวนโคนมทั้งประเทศประมาณ 700,000 ตัว ผลผลิตน้ำนมที่ผลิตได้จะค่อนข้างต่ำ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม คุณภาพการจัดการฟาร์ม สายพันธุ์โคนม และการจัดการด้านอาหาร เป็นต้น ปัญหาต่างๆเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตน้ำนม และเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเลี้ยงโคนม ดังนั้นการที่จะให้อาหารที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น ควรใช้วัตถุดิบที่มีในปริมาณมาก สามารถหาได้ตลอดเวลาทั้งปี ตลอดจนมีฐานข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องของคุณภาพทางโภชนะ ค่าการย่อยได้ของโภชนะ ตลอดจนค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่ครบถ้วน เพื่อประกอบเป็นสูตรอาหาร ให้โคนมได้รับปริมาณภาชนะที่เพียงพอต่อความต้องการที่ระยะต่างๆของการเจริญเติบโต ย่อมส่งผลดีต่อการมีสภาพร่างกายที่เหมาะสม มีความสมบูรณ์ของพันธุ์ และสามารถให้ผลผลิตน้ำนมเพิ่มสูงขึ้นได้ แล้วยังช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อีกด้วย
สำหรับในงานวิจัยในโครงการย่อยอยู่ทั้งหมดอยู่ 5 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่ายมาก เรื่องแรก จะทำการศึกษาฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด ว่าจะมีธาตุอาหารมากน้อยเพียงไร หลังจากนั้นก็จะมีการศึกษาเรื่องค่าการย่อยได้ของโภชนะ และค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของวัตถุดิบอาหารโคนม จากวัตถุดิบต่างๆที่พบในประเทศไทย หลังจากนั้นจึงจะเลือกวัตถุดิบบางชนิดที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง มาศึกษาในเชิงลึก ในตัวสัตว์ เพื่อให้ข้อมูลการย่อยได้ของโภชนะ และพลังงานที่ใกล้เคียงกับสัตว์มากที่สุด เพื่อนำมาปรับใช้ในการคำนวณสูตรอาหารต่อไป สำหรับอีก 3 โครงการจะไปศึกษาในเรื่องของความต้องการโปรตีนและพลังงานทดแทนสูงและศึกษาความต้องการพลังงานของโครีดนม ศึกษาเรื่องความต้องการโปรตีนและพลังงานในระดับของฟาร์มโคนม จากงานวิจัยทั้ง 5 ชิ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสูตรอาหาร ความต้องการของโปรตีนและพลังงานทดแทนสูงของโครีดนม สิ่งเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้ในการจัดทำคู่มือค่าความต้องการโภชนะของโคนมแห่งประเทศไทย เพื่อส่งต่อให้กับพี่น้องเกษตรกรวิสาหกิจ กลุ่มสหกรณ์ ผู้เลี้ยงโคนมแห่งประเทศไทย เพื่อให้สามารถที่จะลดต้นทุนการผลิตน้ำนม มีวัตถุดิบและอาหารที่มีคุณค่าตรงตามความต้องการของโคนม ตามสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์ในประเทศไทยต่อไป
การใช้อาหาร TMR ดีอย่างไร
สามารถควบคุมสัดส่วนของอาหารหยาบ เช่น หญ้าหรือข้าวโพด กับสัดส่วนของอาหารข้นได้ การควบคุมส่วนทำให้วัวเคี้ยวเอื้องได้ดีขึ้น กินง่าย ย่อยง่าย นำไปใช้ประโยชน์ได้สูง กระเพาะอาหารมีความสมดุล การจ่ายอาหาร TMR ทำให้สามารถใช้ผลพลอยได้ทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรด เปลือกข้าวโพดหรือแม้แต่ฟางข้าว นำมาผสมเป็นอาหาร TMR ได้ ทำให้การออกสูตรอาหารได้ราคาต่ำ อาหารมีราคาถูก และจะเกิดอีกคำนึงคือ Zero Waste คือจ่ายกินหมดพอดี ทำให้อาหารไม่มีการสูญเสีย มีประสิทธิภาพในการจ่ายอาหาร
กิน TMR ดีอย่างไร นอกจากวัวนมแล้ว วัวเนื้อก็สามารถทานได้เช่นกัน วัวนมเมื่อกิน TMR จะเพิ่มผลผลิตน้ำนม 15-20 % องค์ประกอบน้ำนมมากกว่า 12.25 โดยสหกรณ์โคนมทั่วประเทศจะมีสมาชิกมี ที่มีองค์ประกอบของน้ำนมมากกว่า 12.25 ต่ำกว่า 50% ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ จะต้องส่งเสริมให้สมาชิกผู้เลี้ยงวัวนมเปลี่ยนระบบการเลี้ยง เป็นแบบสูตร TMR กินอาหารTMR แล้วจะทำให้วัวมีสุขภาพดีขึ้นไม่เป็นโรคด้วย
#อาหาร #โคนม #น้ำนม #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง