วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

การเสวนาในหัวข้อ “ปูม้า สัตว์เศรษฐกิจ ที่ต้องฟื้นฟู”

อุตสาหกรรมการส่งออกอาหารทะเลนับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญและสร้างรายได้หลักให้กับประเทศไทย แต่ในปัจจุบันนี้ทรัพยากรสัตว์น้ำจะลดลงอย่างมาก และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกอาหารทะเลของประเทศไทย จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรประมงเพื่อเพิ่มประชากรสัตว์น้ำในธรรมชาติ และรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ แต่จะทำอย่างไรนั้นต้องติดตามพร้อมกันที่รายการ ARDA Talk

ผู้ร่วมเสวนา
– นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
– ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
– นายกำพล ลอยชื่น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลระยอง
– นายตรีรัตน์ เชาวน์ทวี ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการกลุ่มผลิตภัณฑ์ปู สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย

ปูม้าเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกปูม้าเป็นอันดับต้นๆของโลก ซึ่งปัจจุบันทรัพยากรปูม้ามีจำนวนลกลงอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุสำคัญที่จำนวนปูม้าลดลง คือการจับปูม้ามากเกินไปและจับปูม้าขนาดเล็ก รวมทั้งจับปูไข่นอกกระดอง มาใช้ประโยชน์โดยไม่คืนธรรมชาติ ทางสวก. จึงได้ท้ทุนสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการฟื้นฟูปูม้า โดยมีการวางแผนฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า ตามมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับการประมงของไทยอย่างยั่งยืน

งานวิจัยนี้ เป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำประมงในพื้นที่สันดอนทราย หญ้าทะเลและบริเวณใกล้ชายฝั่ง 500 เมตร ทำเป็นแหล่งอนุบาลและหลบภัยสัตว์น้ำของชุมชน ทำให้เกิดผลสำเร็จจากการดำเนินงาน สามารถยกระดับการประเมินของไทย จากระดับ C ในปี พ.ศ. 2560 เป็นระดับ A ในปี พ.ศ. 2561 และต่อเนื่องในปี 2562 หลังจากเผยแพร่ผลงานวิจัย การบริหารจัดการทรัพยากรปูม้าในพื้นที่อ่าวบ้านดอน พื้นที่สันดอนทรายขนาดใหญ่เป็นแหล่งพื้นที่หลบภัยสัตว์น้ำของอ่าวบ้านดอน เป็นแหล่งอนุบาลของลูกปูม้าและสัตว์น้ำวัยอ่อนอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำประมงของไทยไม่ทำลายพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ไม่จับ ไม่ซื้อ ไม่กินปูม้า ขนาดเล็ก 10 เซนติเมตร เพื่อให้ปูม้าสืบพันธุ์วางไข่ก่อน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปูม้า และระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนในการจัดทำธนาคารปูม้า โดยมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย รณรงค์ส่งเสริม ให้มีการบริจาคปูม้าไข่นอกกระดองให้แก่ธนาคารปูม้า เพื่อเพาะฟักคืนสู่ทะเล

สถานการณ์ของปูม้ากระทบต่อสถานการณ์ส่งออกอย่างไรบ้าง
ค่อนข้างกระทบเยอะเนื่องจากทรัพยากรปูม้าลดลง ราคาของปูม้าสูงขึ้น ทำให้การแกะเนื้อออกมาได้ปริมาณลดลง ผลิตได้ไม่เต็มกำลังของโรงงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นยากแก่การแข่งขัน

จากสถานการณ์ของผู้มาลดลงผลงานวิจัยส่งผลดีกับทางสมาคมอย่างไรบ้าง
ผลงานวิจัยที่ผ่านมาสามารถยกระดับทรัพยากรปูม้าได้เป็นอย่างดีโดยสามารถจับปูม้าได้มากขึ้นกว่าเดิม
แนวทางการจัดการปูม้าบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
1. การกำหนดขนาดของช่องตาอวน ลอบปู ขนาดตาอวนไม่ต่ำกว่า 2.5 นิ้ว อวนจมปู ขนาดตาอวนไม่ต่ำกว่า 9 ซม. หรือ 3.5 นิ้ว
2. กำหนดจำนวนและปริมาณเครื่องมือประมง ลอบปู เรือประมงพื้นบ้านใช้จำนวนไม่เกิน 46 ลูก/ราย เรือประมงพาณิชย์ใช้จำนวนไม่เกิน 1,357 ลูก/ราย ในส่วนของอวนจมปู การทำประมงแต่ละครั้งควรใช้อวนความยาวไม่เกิน 3,045 เมตรต่อราย เรือประมงพาณิชย์ควรใช้ความยาวควรไม่เกิน 4,167 เมตรต่อราย

สิ่งเหล่านี้จะช่วยในการลดการลงแรงประมงลง ให้เข้าสู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม 2 วิธีนี้อาจจะเกิดปัญหา เนื่องจากในปัจจุบันมีกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆเกิดขึ้นมาก ซึ่งยากที่ชาวประมงจะติดตามได้ แต่จะมีแนวทางหนึ่ง คือ ช่วยส่งเสริมกับชาวประมงโดยการเพิ่มจำนวนปูม้าลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันกรมประมงก็มีการเพาะปูม้าปล่อยลงไปในทะเล ชาวประมงเองก็มีการจัดทำธนาคารปูม้า ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ การที่จะฟื้นฟูมาให้กลับมาให้เหมาะสมกับการลงแรงที่มี ให้ปล่อยปูม้าอย่างน้อย 97 ตัวต่อวัน เป็นจำนวนอย่างน้อย 200 วัน จะทำให้ปูม้ากลับมาอยู่ที่ในระดับการใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน


#ปูม้า #สัตว์เศรษฐกิจ ​​ #ส่งออก #covid19​​​ #โควิด19​​​ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​​​ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทย​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017