วันพุธ, 24 เมษายน 2567

การเสวนาในหัวข้อ “เครื่องมือบริหารจัดการน้ำในภาวะฉุกเฉิน”

?เครื่องมือบริหารจัดการน้ำในภาวะฉุกเฉิน?
ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเจอกับร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้หลายพื้นที่ประสบกับปัญหาอุทกภัย รวมทั้งพื้นที่ทางการเกษตร แล้วในภาวะฉุกเฉินจะมีวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในรายการ ARDA Talk.

ผู้ร่วมเสวนา
– นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
– นายธีระพล ตั๊งสมบุญ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน
– ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

มีงานวิจัยอะไรบ้างที่จะมาช่วยตอบโจทย์สำหรับการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ
สวก.ให้การสนับสนุนการวิจัยเพื่อบริหารจัดการน้ำโดยมีเป้าหมายคือพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งน้ำเสียสำหรับช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อสร้างความมั่นคงทางภาคการเกษตรอุตสาหกรรมเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์นโยบายของภาครัฐ
1. งานวิจัยพื้นฐานและต้นน้ำเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ร่วมฐานข้อมูลแบบจำลองและเทคนิคต่างๆในสถานการณ์น้ำฝนน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินรวมถึงวิจัยการจัดสรรน้ำการฟื้นฟูแหล่งน้ำและระบบนิเวศสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร
2. การวิจัยเพื่อบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
3 การวิจัยเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือในการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อเกษตรกรแบบมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในแหล่งชุมชนท้องถิ่น

ตัวอย่างงานวิจัยการบริหารการจัดการน้ำ
การพัฒนาแบบจำลองและโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดย ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง จัดทำร่วมกับกรมชลประทานและเกษตรกรภายในท้องถิ่น ระบบดังกล่าวสามารถนำไปขยายผล หรือการคาดการณ์ปริมาณฝนในฤดูกาลหน้าได้ เพื่อที่จะได้มีการเตรียมการวางแผนการเพาะปลูกให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีการคาดการณ์ไว้ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ โดยพัฒนาออกมาเป็นโปรแกรม NARK 1 มาจนถึง NARK 5 ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยกันตัดสินใจในการวางแผนการส่งน้ำและการเพาะปลูกในระยะต่อไป มีความแม่นยำสูงถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังมีการเปิดแอพพิเคชั่น Water SMART และ iFarmer เพื่อให้เกษตรกรยุคใหม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการการเพาะปลูกได้


เครื่องมือบริหารจัดการน้ำในวัดฉุกเฉิน
การคาดการณ์ปริมาณฝน การคาดการณ์ปริมาณน้ำท่า การวางแผนรายฤดู การปฏิบัติการรับมือภาวะฉุกเฉิน

โปรแกรม NARK 4 เป็น คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนล่วงหน้า 12 เดือน คาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างล่วงหน้า 12 เดือน ตัดสินใจระบายน้ำออกจากอ่างล่วงหน้า 12 เดือน วางแผนการบริหารจัดการน้ำรายฤดูกาล สร้างแผนที่การเกษตรเพื่อเหมาะสมกับน้ำต้นทุนคาดการณ์ นำข้อมูลไปใช้กับ water smart application
โปรแกรม NARK 5.0 ใช้จำลองระยะเวลาการเดินทางของน้ำ จำลองการปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ คาดการณ์สถานการณ์น้ำ จำลองพื้นที่น้ำท่วม เสนอแนะระบบเขื่อน โครงข่ายลำน้ำทางน้ำธรรมชาติ โดยใช้ WaterWay application คาดการณ์ปริมาณน้ำรายฤดูกาลของลำน้ำชี/ลำน้ำเพชรบุรี คาดการณ์ปริมาณน้ำสะสม 14 วัน คาดการณ์น้ำไหลเข้าอ่างล่วงหน้า 14 วัน ปฏิบัติการรับมือสถานการณ์น้ำในภาวะฉุกเฉิน

โปรแกรมใช้ AI ในการจำลองการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนรายฤดู และเหตุการณ์ราย 14 วัน โดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศโลก คาดการณ์สภาวะภูมิอากาศราย 3 เดือน ย่อไซส์ลงมาเป็นแบบจำลองในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำฝนรายเดือน จากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศผิวน้ำทะเล และย่อสเกลมาเป็นแบบจำลองการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนราย 14 วัน ในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายจังหวัดล่วงหน้า 14 วัน จาก storm tracking

ในปี 2561 คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนความแม่นยำ 83 % ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างความแม่นยำ 87% ปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ำความแม่นยำ 89 % ส่วนในปี 2562 ความแม่นยำปริมาณน้ำฝน 81 % ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างความแม่นยำ 70 % ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำความแม่นยำ 80%

จากโปรแกรมคำนวณสถานการณ์น้ำในฤดูฝนปี 2563 พบว่าคาดการณ์ฝนเฉลี่ยทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ 902 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างประมาณ 1 1,943 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมน้ำใช้การได้ประมาณ 9,500 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 50 % ของระดับน้ำในเขื่อน


กรมชลประทานมีวิธีการเตรียมการการจัดการบริหารน้ำอย่างไร

ใช้โปรแกรมNARK 4 มาวิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรมวิเคราะห์ของกรมชลประทาน เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลทำให้เกิดบริหารจัดการน้ำได้ดีขึ้น


#จัดการน้ำ #น้ำท่วม ​​ #กรมชลประทาน #covid19​​​ #โควิด19​​​ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​​​ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทย​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017