วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

การใช้ประโยชน์ลำต้นปาล์มน้ำมัน โดยการอัดกาวและเพิ่มความหนา | สวก.

05 ต.ค. 2020
420
การใช้ประโยชน์ลำต้นปาล์มน้ำมันและการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของไม้ปาล์มน้ำมันโดยการอัดกาวและเพิ่มความหนา
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

การวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์ลำต้นปาล์มน้ำมันและการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของไม้ปาล์มน้ำมันโดยการอัดกาวและเพิ่มความหนาแน่นโดยใช้แรงอัดเคลือบไม้แปรรูปปีที่ 1 และ 2

การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรองค์การมหาชน

งานวิจัยดังกล่าวเป็นการนำเอาลำต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 25 ปีที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันในจำนวนที่ลดลง ชาวสวนปาล์มต้องการปลูกต้นใหม่ทดแทน ดังนั้นลำต้นปาล์มที่มีอายุเกิน 25 ปีมักจะถูกเลือกตัดลง เดิมจะไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์เนื่องจากลำต้นมีเนื้อไม้ที่มีความหนาแน่นต่ำ มีความแข็งแรงจากไม้ทั่วไป มีปริมาณความชื้นในไม้สูง หากจะขนถ่ายก็จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากมีน้ำหนักมาก จึงมักปล่อยให้ยืนต้นตายโดยการหยดสารเคมี หรือใช้วิธีสลับลำต้นเป็นท่อนแล้วปล่อยไว้ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งก็จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลง เชื้อรา เห็ดต่างๆที่จะไปทำลายผลผลิต

มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆเข้ามา จะทำให้ไม้แผ่นมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น มีความทนทานในการใช้งานนานขึ้น ลดการยืดหรือหดตัวเมื่อนำไปใช้งาน สามารถแปรรูปเป็นแบบมีความหนาและหลายขนาด การอัดด้วยกาวฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์จะได้แผ่นไม้ที่มีสีคล้ำขึ้น และทนความชื้นได้มากขึ้น

ต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากผลผลิตน้อย หากไม่ปล่อยให้ยืนต้นตายสามารถที่จะโค่นลงมาและแปรรูปเพื่อให้เป็นไม้แผ่น เมื่อได้ไม้แผ่นแล้วก็จะต้องทาด้วยสารป้องกันเชื้อราที่มีความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งระดับนี้จะช่วยป้องกันเชื้อราเจริญเติบโตบนผิวหน้าไม้ได้ประมาณ 12 วัน จากนั้นนำแผ่นไม้มาอบ ควรใช้ตารางอบไม้ที่มีอุณหภูมิปานกลาง ซึ่งจะทำให้ไม้มีการบิดงอน้อยที่สุด หลังจากอบไม้แล้วนำไม้มาอัดกาวกาวที่เลือกใช้มี 2 ชนิดคือ กาวยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ กาวฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์

กาวแต่ละชนิดจะเลือกใช้ความเข้มข้น 3 ระดับซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ หลังจากอัดด้วยกาวแล้ว นำไม้ตัวอย่างมาทำการอัดร้อนตามสภาวะที่เลือก เพื่อให้ได้ความหนาแน่นของเนื้อไม้ แตกต่างกัน 3 ระดับ หลังจากนั้นนำแผ่นไม้ที่อดอัดร้อนแล้วไปทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติเชิงกล ซึ่งการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบทั้งการทดสอบโดยวิธีการใช้แรงอัด แรงดึง ทดสอบความเหนียว ทดสอบการฉีด ทดสอบการต้านทานแรงดึงของตะปู ทดสอบความแข็งแรงและค่าต่างๆ ซึ่งจะนำไปเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างคุณสมบัติของไม้ปาล์ม และคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นใหม่

เดิมมีคุณสมบัติที่มีความหนาแน่นต่ำ ง่ายต่อการถูกทำลายของแมลง เชื้อรา เห็ด นอกจากนี้ไม้ปาล์มมีแนวโน้มที่จะติดต่อเนื่องจากเป็นไม้ที่มีการเรียงตัวของเทือกเป็นแบบความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นของต้นไปสามารถวัดได้จากธาตุต่างๆที่กล่าวมาแล้ว

นอกจากนี้ยังพบว่าความแข็งแรงของลำต้นปาล์มก็เพิ่มขึ้นอีก เช่น ความแข็งของเนื้อไม้เพิ่มขึ้นจากเดิม ความสามารถในการยึดติดกับปูก็เพิ่มขึ้น


#ลำต้นปาล์มน้ำมัน
#การอัดกาว
#เพิ่มความหนา
#วิจัย
#สวก.