วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

ขั้นตอนและวิธีการจัดการอะฟลาทอกซินในพริกแห้ง | สวก.

อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่สร้างขึ้นจากเชื้อรา พบได้ในทั่วไปในประเทศไทย สามารถพบเชื้อตัวนี้ในผลิตภัณฑ์การเกษตรหลายอย่าง โดยเฉพาะพริกแห้ง ซึ่งจะเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสารพิษอะฟลาทอกซินในระดับสูง เพราะสารพิษนี้สามารถปนเปื้อนได้ตั้งแต่ระยะหลังเก็บเกี่ยว การแปรรูป และกระบวนการเก็บรักษา ดังนั้นเพื่อให้พริกแห้งปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซิน จึงควรมีการจัดการที่ดี และมีความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

วิธีการป้องกันสารอะฟลาทอกซินในพริกแห้ง
1. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตขึ้นจากแปลง ให้ทำการคัดแยกพริก โดยคัดแยกผลเขียว ผลที่สุกไม่สม่ำเสมอออกจากพริกที่สุก และมีสีแดงเต็มที่แล้ว

2. นำพริกที่คัดแยกแล้วมาล้างทำความสะอาดโดยการแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ปริมาตร 1,000 ppm นาน 3 นาที โดยการเตรียมสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 1,000 ppm สามารถเตรียมได้จากโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 6% ปริมาณ 17 มิลลิลิตร ละลายในน้ำสะอาด 1 ลิตร

3. ผึ่งให้สะเด็ดน้ำประมาณ 30 นาที

4. นำพริกที่ได้ไปลวกในน้ำเดือด 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 นาท

5. หลังจากลวกเสร็จแล้ว นำพริกที่ได้ไปตากแดดประมาณ 3-5 วันหรือจนกว่าจะแห้ง หรือนำไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 วัน

เพียงเท่านี้ก็จะได้พริกแห้งที่ปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซิน

วิธีการนี้สามารถลดการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินได้นานประมาณ 3-6 เดือน แล้วแต่ว่าจะเก็บพริกมาในรูปของอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บพริกในรูปของพริกแห้งก็อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน แต่ถ้าอยู่ในรูปของพริกป่นก็จะอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน ถือว่าเป็นอายุการเก็บรักษาที่ค่อนข้างจะนาน

#อะฟลาทอกซิน #พริกแห้ง #เชื้อรา #สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017