จัดการน้ำ ระบบเทปน้ำหยด จัดการน้ำ ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างมาก ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
ประกอบกับปัจจุบันสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวนสูง ทั้งฝนตกทิ้งช่วงและภาวะแล้งนานกว่าปกติ โดยบางพื้นที่ เช่น พื้นที่นอกเขตชลประทานจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำเกษตรกรรมมากกว่าพื้นที่อื่น สำหรับกรณีตัวอย่างที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างเห็นได้ชัดคือ ชุมชนเกษตรกรเทศบาลตำบลออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยที่ผ่านมาเกษตรกรอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำทำการเกษตรเพาะปลูกพืชต่างๆและเลี้ยงสัตว์ แต่ปัจจุบันพบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลง อ.สันกำแพงถูกประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้ง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรในพื้นที่ ควรมีเทคโนโลยีการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ระบบชลประทานน้ำหยดหรือระบบเทปน้ำหยดจึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางเลือกที่ดีเพราะประหยัดน้ำกว่าระบบอื่น ซึ่งชุดอุปกรณ์หลักประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำแบบเครื่องยนต์ดีเซลหรือไฟฟ้าขนาดสามแรงม้า ถังเก็บน้ำขนาดความจุ 200 ลิตร จำนวน 2 ใบ ตัวกรอง มิเตอร์วัดอัตราการไหล ขนาด 1 นิ้ว ท่อจ่ายน้ำPVC ขนาด 1 นิ้วและเทปน้ำหยด
ขั้นตอนการติดตั้งระบบเทปน้ำหยด 1.การประกอบถังเก็บน้ำ ทั้ง 2 ใบกับท่อจ่ายน้ำ PVC 2.ติดตั้งนั่งร้านสำหรับวางถังเก็บน้ำพร้อมติดตั้งถังเก็บน้ำด้านบนและจัดตำแหน่งที่สมดุล 3.ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อดูดน้ำจากสระน้ำเข้าถังเก็บน้ำ 4.ติดตั้งท่อจ่ายน้ำเพื่อจ่ายน้ำจากถังเก็บน้ำไปยังเทปน้ำหยดและตรงทางออกของถังเก็บน้ำตั้งวาล์วน้ำเพื่อใช้เปิดและปิดน้ำ 5.ติดตั้งตัวกรองเพื่อกรองสิ่งสกปรก 6.ติดตั้งมิเตอร์วัดอัตราการไหล 7.ติดตั้งเทปน้ำหยดเข้ากับวาล์วเทปน้ำหยด จุดเด่นของเทคโนโลยีแบบเทปน้ำหยด คือ ปล่อยน้ำออกมาครั้งละน้อยๆ ทำให้ใช้เวลาในการให้น้ำนาน สามารถกำหนดจุดปล่อยน้ำสู่รากพืชได้ และช่วยให้พืชเจริญเติบโตดีและมีผลผลิตมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการให้น้ำแบบร่องคูเล็ก
ดังนั้น เทคโนโลยีแบบเทปน้ำหยด ชลประทานน้ำหยดจึงประหยัดน้ำกว่าระบบอื่น ตัวอย่าง การทดสอบในแปลงพริกพบว่าการให้น้ำแบบเทปน้ำหยดให้ผลผลิตพริกนอกฤดูต่อไร่ เพิ่มสูงกว่าวิธีการให้น้ำแบบร่องคูเล็ก 3 เท่า โดยต้นทุนการก่อสร้างแบบเทปน้ำหยดและอุปกรณ์ต่างๆประมาณ 4,000-7,500 บาทต่อไร่ มีระยะเวลาในการคืนทุนเฉลี่ย 3 เดือน
#จัดการน้ำ #ระบบเทปน้ำหยด #ชลประทานน้ำหยด #การจัดการน้ําเพื่อการเกษตร #การจัดการน้ําเสีย
ประกอบกับปัจจุบันสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวนสูง ทั้งฝนตกทิ้งช่วงและภาวะแล้งนานกว่าปกติ โดยบางพื้นที่ เช่น พื้นที่นอกเขตชลประทานจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำเกษตรกรรมมากกว่าพื้นที่อื่น สำหรับกรณีตัวอย่างที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างเห็นได้ชัดคือ ชุมชนเกษตรกรเทศบาลตำบลออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยที่ผ่านมาเกษตรกรอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำทำการเกษตรเพาะปลูกพืชต่างๆและเลี้ยงสัตว์ แต่ปัจจุบันพบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลง อ.สันกำแพงถูกประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้ง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรในพื้นที่ ควรมีเทคโนโลยีการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ระบบชลประทานน้ำหยดหรือระบบเทปน้ำหยดจึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางเลือกที่ดีเพราะประหยัดน้ำกว่าระบบอื่น ซึ่งชุดอุปกรณ์หลักประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำแบบเครื่องยนต์ดีเซลหรือไฟฟ้าขนาดสามแรงม้า ถังเก็บน้ำขนาดความจุ 200 ลิตร จำนวน 2 ใบ ตัวกรอง มิเตอร์วัดอัตราการไหล ขนาด 1 นิ้ว ท่อจ่ายน้ำPVC ขนาด 1 นิ้วและเทปน้ำหยด
ขั้นตอนการติดตั้งระบบเทปน้ำหยด 1.การประกอบถังเก็บน้ำ ทั้ง 2 ใบกับท่อจ่ายน้ำ PVC 2.ติดตั้งนั่งร้านสำหรับวางถังเก็บน้ำพร้อมติดตั้งถังเก็บน้ำด้านบนและจัดตำแหน่งที่สมดุล 3.ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อดูดน้ำจากสระน้ำเข้าถังเก็บน้ำ 4.ติดตั้งท่อจ่ายน้ำเพื่อจ่ายน้ำจากถังเก็บน้ำไปยังเทปน้ำหยดและตรงทางออกของถังเก็บน้ำตั้งวาล์วน้ำเพื่อใช้เปิดและปิดน้ำ 5.ติดตั้งตัวกรองเพื่อกรองสิ่งสกปรก 6.ติดตั้งมิเตอร์วัดอัตราการไหล 7.ติดตั้งเทปน้ำหยดเข้ากับวาล์วเทปน้ำหยด จุดเด่นของเทคโนโลยีแบบเทปน้ำหยด คือ ปล่อยน้ำออกมาครั้งละน้อยๆ ทำให้ใช้เวลาในการให้น้ำนาน สามารถกำหนดจุดปล่อยน้ำสู่รากพืชได้ และช่วยให้พืชเจริญเติบโตดีและมีผลผลิตมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการให้น้ำแบบร่องคูเล็ก
ดังนั้น เทคโนโลยีแบบเทปน้ำหยด ชลประทานน้ำหยดจึงประหยัดน้ำกว่าระบบอื่น ตัวอย่าง การทดสอบในแปลงพริกพบว่าการให้น้ำแบบเทปน้ำหยดให้ผลผลิตพริกนอกฤดูต่อไร่ เพิ่มสูงกว่าวิธีการให้น้ำแบบร่องคูเล็ก 3 เท่า โดยต้นทุนการก่อสร้างแบบเทปน้ำหยดและอุปกรณ์ต่างๆประมาณ 4,000-7,500 บาทต่อไร่ มีระยะเวลาในการคืนทุนเฉลี่ย 3 เดือน
#จัดการน้ำ #ระบบเทปน้ำหยด #ชลประทานน้ำหยด #การจัดการน้ําเพื่อการเกษตร #การจัดการน้ําเสีย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง