วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

ชลประทานน้ำหยด แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ | สวก.

ชลประทานน้ำหยด แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ | สวก.

ประเทศไทยกำลังประสบกับความตึงเครียดในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งใช้ในครัวเรือน และเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ จึงเกิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ชลประทานน้ำหยด แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยประชากรส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประกอบกับชุมชนนี้อยู่นอกเขตชลประทาน จากสภาพปัญหา

จึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยฝ่ายวิจัยจะศึกษาว่าพืชแต่ละชนิดต้องการน้ำปริมาณเท่าใด และดินที่ใช้ปลูกซึมน้ำได้เร็วแค่ไหน จากนั้นให้ความรู้แก่เกษตรกร เรื่องระบบชลประทานน้ำหยด เป็นระบบการให้น้ำแบบค่อยๆไหลลงไป รากพืชก็จะมีเวลาดูดซับน้ำได้ทัน การสูญเสียน้ำจึงน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย แต่กลับให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง

โดยทดสอบกับการปลูกพืชเศรษฐกิจของชุมชน คือพริกจินดาและชุมชนสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เทคนิคการให้น้ำนี้ เกษตรกรจะมีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง ประมาณ 4,000-7,000 บาทต่อไร่ ขณะที่ให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นถึง 2-3 เท่า อายุการใช้งานของระบบประมาณ 3-5 ปี โดยประมาณ ถือเป็นอีกทางเลือกในการให้น ้าพืชอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ชุมชนท้องถิ่นของท่าน สามารถนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้ได้ ภายใต้วิกฤตแล้ง ระบบชลประทานแบบน้าหยด เรียกได้ว่า…หยดน้อยๆแต่ให้ผลมาก


#ชลประทานน้ำหยด #น้ำ​ #น้ำหยด
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​​​ #arda​​​ #วิจัยและพัฒนา​​​ #สวก​​​.​​​​

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017