วันพฤหัสบดี, 21 พฤศจิกายน 2567

ชาลำไย นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าและยกระดับลำไย

20 เม.ย. 2020
408
ชาลำไย นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าและยกระดับลำไย งานวิจัยการผลิตชาลำไยสด
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
ด้วยเทคนิคทางศิลปวิทยาการอาหารระดับโมเลกุล โดย ผศ.ดร.ชุติมา คงจรูญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดทำชุดโครงการวิจัยลำไย เริ่มจากการนำลำไยที่ร่วงหรือที่ตกไซส์ตกเกรด มาทำให้มีมูลค่าสูงขึ้นด้วยการทำเป็นเครื่องดื่ม งานวิจัยนี้ตอบโจทย์เศรษฐกิจครบวงจรในการผลิตลำไย แทนที่จะนำลำไยเล็กๆไปทิ้ง คุณภาพที่ตกเกรดนำมาเข้าสู่โครงการวิจัย นำเอาลำไยมาแกะเฉพาะเนื้อ สกัดเอาสารสำคัญจากเนื้อลำไยออก โดยใช้เครื่องมือในห้องแล็ปที่เรียกว่า เครื่อง Autoclave หรือหม้อนึ่งแรงดัน ดึงสารอาหารออกมาจากเนื้อลำไย ทั้งสารอาหารกลุ่มใหญ่ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน สารโมเลกุลเล็กๆ จำพวก วิตามิน แร่ธาตุ นอกจากนี้ยังได้สารในกลุ่มที่ไม่ให้พลังงาน ไฟโตเคมีคอลหรือพฤกษาเคมี ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ

เกษตรครบวงจร ทำไม ถึงเลือกทำเป็นชา? สารสกัดที่ได้จากเนื้อลำไย มีคุณสมบัติเหมือนชา คือ มีสารประกอบในกลุ่มฟีนอลิก แต่ตัวชาลำไย ความหวานมาจากเนื้อลำไยมีเฉพาะลำไยกับน้ำเท่านั้น แล้วก็กรองเอาเนื้อออก ได้เป็นเครื่องดื่มที่เรียกว่า ชาลำไยสด ผลิตภัณฑ์แรกของประเทศไทยที่ เทคนิคทางศิลปวิทยาการอาหารระดับโมเลกุล คือ (Molecular Gastronomy) คือ เอาเครื่องมือในแล็ปมาทำอาหาร เอาห้องแล็ปทำเป็นห้องครัว ใช้อุปกรณ์ในแล็ปมาทำอาหาร สิ่งที่ได้คือ เราจะได้รสชาติที่แท้จริงของอาหาร เช่น ชาลำไยสด เราได้ความหวาน ความหอมจากลำไยโดยที่ไม่ต้องเติมน้ำตาล

งานวิจัยนี้ เป็นนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า ที่ไม่ทิ้งลำไยที่มีผลขนาดเล็ก ทำให้เพิ่มมูลค่ามากขึ้น เป็นงานวิจัยที่เกษตรกรสามารถทำได้จริงและขยายผลได้เร็ว เป็นการกระจายรายได้ในแนวราบ ดังนั้น งานวิจัยจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจและภาคเกษตรกรรม เพราะนักวิจัยสามารถใช้เครื่องมือหรือองค์ความรู้ ประสบการณ์การทำวิจัยมาประยุกต์ใช้กับผลผลิตทางการเกษตร อาทิ พืช สัตว์ แปรรูปได้มากขึ้นและสามารถยกมูลค่าให้สูงขึ้น สาขาวิศวกรรมก็สามารถทำเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการผลิตหรือช่วยให้ในแปลงทำงานได้ง่ายขึ้น คิดว่านักวิจัยและเกษตรกรไปด้วยกันได้อย่างดี
ลำไย…ตกเกรด ยังมีประโยชน์ คุณค่าสูง ใครรู้ไหม? เอาไปทำอะไรได้บ้าง?
#ชาลำไย #เกษตรครบวงจร #นวัตกรรมเพิ่มมูลค่า #เกษตรพอเพียง #เกษตรพารวย
#เกษตรใครๆก็เก็ตได้กับสวก.
#เกษตรก้าวไกลกับสวก.
#ARDA
#ทุนวิจัยเกษตร

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน