การพัฒนาชุดตรวจสอบดีเอ็นเอ เพื่อตรวจวินิจฉัยพยาธิใบไม้ในกระเพาะวัว
Development of DNA detections kit of rumen parasites in cattle
ผศ.ดร.อรินทม์ งามนิยม คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันนี้จะมาพูดถึงการวิจัยที่ได้ทุนจาก สวก. โครงการพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเอในการวินิจฉัยพยาธิตัวตืดตัวกลมตัวแบน จากอุจจาระสัตว์เคี้ยวเอื้อง
แนะนำลักษณะชุดตรวจ โดยชุดตรวจมี 2 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นชุดตรวจที่ใช้ตรวจไข่พยาธิในอุจจาระ โดยวิธี real-time PCR แบบที่ 2 คือเป็นแบบ Strip Test ซึ่งมีความแตกต่างคือ ถ้าเป็น Real Time pcr จะมีความแม่นยำและใช้เวลาน้อยกว่า แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าStrip Test
อันนี้ก็คือเครื่องที่ใช้ในเทคนิค Real Time pcr ส่วน strip Test มีลักษณะคล้ายๆกับชุดตรวจครรภ์ จุดประสงค์สำคัญก็คือเป็นการแยกพยาธิตัวตืด ตัวแบน และตัวกลม เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องที่รับการตรวจ ติดพยาธิหรือไม่ ถ้าติดจะเป็นชนิดอะไร เพื่อจะได้ใช้ยาในการฆ่าพยาธิจะได้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
การตรวจวินิจฉัยพยาธิตัวตืด ตัวแบนและตัวกลม โดยวิธี strip Test ซึ่งการแสดงผลจะเป็นในลักษณะตามรูปภาพในจอ โดยในแต่ strip ทำการใส่ไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อพยาธิตัวแบน ตัวตืดและตัวกลม ดังนั้นถ้าเส้นที่ขึ้นสีดำ 2 เส้น แสดงว่าอุจาระสัตว์ตัวนี้มีไข่พยาธิพยาธิตัวแบน แต่ถ้าไม่มีพยาธิจะขึ้นขีด Control มาแค่ขีดเดียว ถ้าขีด Control ไม่ขึ้นแสดงว่า strip เสีย
ให้สะกัดดีเอ็นเอออกจากอุจาระ จากนั้นทำการใส่มาสเตอร์มิกกับสารจำเพาะเจาะจงอย่างละ 1 หลอด แล้วนำไปเพิ่มปริมาณในเครื่อง PCR หลังจากที่ครบเวลา 2 ชั่วโมง ในการเพิ่มดีเอ็นเอด้วยเครื่อง PCR เราก็จะนำมาทดสอบด้วย strip Test โดยหยอดลงไปในช่องที่กำหนด
รอสักพักเพื่อให้ strip Test ได้ทำงาน ถ้าเลื่อนขึ้นไปตรงที่เป็น Control กับ Test แสดงว่าในอุจจาระของสัตว์เคี้ยวเอื้องมีไข่พยาธิตัวแบน แต่ในกรณีที่เป็น Negative Control หรือว่าเช็คไม่เจอมันจะขึ้นแค่ Control แสดงว่าอุจาระกองนี้ไม่มีพยาธิตัวแบน
– ช่วยเพิ่มความแม่นยํา และลดระยะเวลาการตรวจวินิจฉัยพยาธิกลุ่ม trematode, cestode หรือ nematode ของวัวเนื้อ ซึ่งปัจจุบันยังตรวจวินิจฉัย ได้ยากและยังไม่มีชุดทดสอบทางการค้าที่ผลิต เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยเฉพาะ
– ชุดทดสอบสามารถเพิ่มศักยภาพทางปศุสัตว์ในการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อจําหน่าย ชุดทดสอบทั้ง 2 รูปแบบช่วยลดข้อจํากัดของการตรวจวินิจฉัยที่ผิดพลาด มีผลให้ผู้เลี้ยงหรือสัตว์แพทย์สามารถเลือกใช้ชนิดและปริมาณ ยาเพื่อกําจัดพยาธิได้อย่างถูกต้อง
– พัฒนาชุดทดสอบสําหรับการตรวจวินิจฉัยพยาธิ 3 กลุ่ม ได้แก่ พยาธิใบไม้ ตัวกลม และตัวตืด เพือลดขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ ทําให้ทราบผลการตรวจอย่างทันที และสามารถตรวจสอบ ได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีความแม่นยํา ให้ผลการตรวจที่น่าเชื่อถือ และสามารถนําไปใช้ในภาคสนามได้จริง
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.อรินทม์ งามนิยม
คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
#พยาธิใบไม้ในกระเพาะวัว #ชุดตรวจสอบดีเอ็นเอ #พยาธิใบไม้ #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
Development of DNA detections kit of rumen parasites in cattle
ผศ.ดร.อรินทม์ งามนิยม คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันนี้จะมาพูดถึงการวิจัยที่ได้ทุนจาก สวก. โครงการพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเอในการวินิจฉัยพยาธิตัวตืดตัวกลมตัวแบน จากอุจจาระสัตว์เคี้ยวเอื้อง
แนะนำลักษณะชุดตรวจ โดยชุดตรวจมี 2 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นชุดตรวจที่ใช้ตรวจไข่พยาธิในอุจจาระ โดยวิธี real-time PCR แบบที่ 2 คือเป็นแบบ Strip Test ซึ่งมีความแตกต่างคือ ถ้าเป็น Real Time pcr จะมีความแม่นยำและใช้เวลาน้อยกว่า แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าStrip Test
อันนี้ก็คือเครื่องที่ใช้ในเทคนิค Real Time pcr ส่วน strip Test มีลักษณะคล้ายๆกับชุดตรวจครรภ์ จุดประสงค์สำคัญก็คือเป็นการแยกพยาธิตัวตืด ตัวแบน และตัวกลม เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องที่รับการตรวจ ติดพยาธิหรือไม่ ถ้าติดจะเป็นชนิดอะไร เพื่อจะได้ใช้ยาในการฆ่าพยาธิจะได้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
การตรวจวินิจฉัยพยาธิตัวตืด ตัวแบนและตัวกลม โดยวิธี strip Test ซึ่งการแสดงผลจะเป็นในลักษณะตามรูปภาพในจอ โดยในแต่ strip ทำการใส่ไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อพยาธิตัวแบน ตัวตืดและตัวกลม ดังนั้นถ้าเส้นที่ขึ้นสีดำ 2 เส้น แสดงว่าอุจาระสัตว์ตัวนี้มีไข่พยาธิพยาธิตัวแบน แต่ถ้าไม่มีพยาธิจะขึ้นขีด Control มาแค่ขีดเดียว ถ้าขีด Control ไม่ขึ้นแสดงว่า strip เสีย
ให้สะกัดดีเอ็นเอออกจากอุจาระ จากนั้นทำการใส่มาสเตอร์มิกกับสารจำเพาะเจาะจงอย่างละ 1 หลอด แล้วนำไปเพิ่มปริมาณในเครื่อง PCR หลังจากที่ครบเวลา 2 ชั่วโมง ในการเพิ่มดีเอ็นเอด้วยเครื่อง PCR เราก็จะนำมาทดสอบด้วย strip Test โดยหยอดลงไปในช่องที่กำหนด
รอสักพักเพื่อให้ strip Test ได้ทำงาน ถ้าเลื่อนขึ้นไปตรงที่เป็น Control กับ Test แสดงว่าในอุจจาระของสัตว์เคี้ยวเอื้องมีไข่พยาธิตัวแบน แต่ในกรณีที่เป็น Negative Control หรือว่าเช็คไม่เจอมันจะขึ้นแค่ Control แสดงว่าอุจาระกองนี้ไม่มีพยาธิตัวแบน
– ช่วยเพิ่มความแม่นยํา และลดระยะเวลาการตรวจวินิจฉัยพยาธิกลุ่ม trematode, cestode หรือ nematode ของวัวเนื้อ ซึ่งปัจจุบันยังตรวจวินิจฉัย ได้ยากและยังไม่มีชุดทดสอบทางการค้าที่ผลิต เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยเฉพาะ
– ชุดทดสอบสามารถเพิ่มศักยภาพทางปศุสัตว์ในการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อจําหน่าย ชุดทดสอบทั้ง 2 รูปแบบช่วยลดข้อจํากัดของการตรวจวินิจฉัยที่ผิดพลาด มีผลให้ผู้เลี้ยงหรือสัตว์แพทย์สามารถเลือกใช้ชนิดและปริมาณ ยาเพื่อกําจัดพยาธิได้อย่างถูกต้อง
– พัฒนาชุดทดสอบสําหรับการตรวจวินิจฉัยพยาธิ 3 กลุ่ม ได้แก่ พยาธิใบไม้ ตัวกลม และตัวตืด เพือลดขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ ทําให้ทราบผลการตรวจอย่างทันที และสามารถตรวจสอบ ได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีความแม่นยํา ให้ผลการตรวจที่น่าเชื่อถือ และสามารถนําไปใช้ในภาคสนามได้จริง
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.อรินทม์ งามนิยม
คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
#พยาธิใบไม้ในกระเพาะวัว #ชุดตรวจสอบดีเอ็นเอ #พยาธิใบไม้ #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง