วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

ชุดทดสอบสังกะสีภาคสนามในดิน | สวก.

ชุดทดสอบสังกะสีภาคสนามในดิน

ผศ.ดร. วรากร ลิ่มบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นนักวิจัยจาก สวก.
ที่ผ่านมาจากประเทศไทยของเราส่งข้าวออกเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่พบว่าเมื่อเปรียบเทียบถึงผลผลิตที่ได้ต่อไร่ ของประเทศไทยมีผลผลิตต่อไร่ตกต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เราตั้งข้อสังเกตว่าการวัดปริมาณสังกะสีในดินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทำกันอย่างไร และที่ผ่านมาพบว่าเมื่อเกษตรกรต้องการทราบปริมาณสังกะสีในดินสำหรับการปลูกข้าว

งานวิจัยของเรามุ่งเน้นที่จะตรวจวัดสังกะสีที่อยู่ในดินหรือในรูปของสังกะสีที่ละลายน้ำหรือเรียกว่า available ซิงค์ ซึ่งเราได้พัฒนามาเป็นชุดทดสอบที่ใช้งานง่ายสะดวกรวดเร็ว เกษตรกรสามารถนำมาทดสอบหรือนำมาตรวจวัดปริมาณของสังกะสีหรือปริมาณการขาดธาตุสังกะสีของดิน ได้ที่แปลงนาของเกษตรกรได้เลย

ในชุดทดสอบสามารถทำง่ายๆได้ 3 ขั้นตอน
1. เกษตรกรตักดินมา 1 ช้อน ใส่ในหลอดที่ 1 แล้วเขย่า ขั้นนี้จะเป็นการสกัด
2. เป็นการขั้นการตกตะกอน จะมีผงสีขาว เกษตรกรก็จะเติมผงสีขาวเข้าไปในหลอดที่ 2 และเขย่า ในขั้นตอนที่ 2 นี้จะมีแค่ซิงค์ที่ละลายน้ำได้ไปอยู่ในสารละลายส่วนบนส่วน
3. ขั้นการตรวจวัด เราจะนำสารละลายส่วนบนของหลอดที่ 2 มาใส่ในหลอดที่ 3 จากนั้นเสร็จเติมผงสีดำแล้วเกษตรกรสามารถทำนายหรือคาดคดีผลการทดลองได้จากสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างง่ายดายถ้าสีของหลอดที่ 3 เป็นสีฟ้าแสดงว่าดินของเกษตรกรมีปริมาณสังกะสีที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำนาแต่ถ้าเกิดว่าสีของสารละลายเป็นสีม่วงแดงแสดงว่ามีปริมาณสังกะสีที่ละลายน้ำได้มีเพียงพอต่อการปลูกข้าว

สำหรับการเจริญเติบโตของต้นข้าว จะต้องอาศัยบทบาทของสังกะสี ซึ่งสังกะสีมีบทบาทจะเป็นตัวกระตุ้นตัวเองทรายหรือกระบวนการทางชีวเคมีที่อยู่ในตัวต้นข้าวไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสร้างแป้งสร้างน้ำตาลการต้านโรคหรือกระบวนการสังเคราะห์แสงถ้าเกิดว่ามีสังกะสีไม่เพียงพอก็จะทำให้กระบวนการเหล่านี้ลดน้อยลงทำให้ผลผลิตลดลงมากเช่นกัน

#ชุดทดสอบสังกะสี #สังกะสี #ข้าว #วิจัย #สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017