วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

ต้นแบบการฟื้นฟูปูม้า ณ อ่าวบ้านดอน ตามแนวทางมาตรฐานสากล | สวก.

ต้นแบบการฟื้นฟูปูม้า ณ อ่าวบ้านดอน ตามแนวทางมาตรฐานสากล

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

ปูม้าเป็นสัตว์น้ำที่นิยมบริโภคและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกปูม้าเป็นอันดับ 4 จาก 20 อันดับของโลก รองจากประเทศจีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งปัจจุบันทรัพยากรปูม้ามีจำนวนลกลงอย่างต่อเนื่อง จึงต้องวางแผนฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า ตามมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับการประมงของไทยอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการประมงปูม้า

สาเหตุสำคัญที่จำนวนปูม้าลดลง คือการจับปูม้ามากเกินไปและจับปูม้าขนาดเล็ก รวมทั้งจับปูไข่นอกกระดอง มาใช้ประโยชน์โดยไม่คืนธรรมชาติ จึงต้องเร่งสร้างความตระหนักรู้ สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ Sustainable Development Goals SDG14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนหลาย Life below water ประยุกต์ใช้งานวิจัยอาทิ ข้อมูลชีววิทยา สภาพแวดล้อม ระบบนิเวศ พื้นที่อยู่อาศัยของปูม้าแหล่งวางไข่และอนุบาลปูวัยอ่อน และสังคมเศรษฐกิจ บูรณาการ เพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลแบบองค์รวม บูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนในการจัดทำธนาคารปูม้า โดยมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย รณรงค์ส่งเสริม ให้มีการบริจาคปูม้าไข่นอกกระดองให้แก่ธนาคารปูม้า เพื่อเพาะฟักคืนสู่ทะเล

วัยเจริญพันธุ์ของปูม้า

ปูม้าเพศผู้มีความกว้างกระดอง 9.79 เซนติเมตร และปูม้าเพศเมียมีความกว้างกระดองด้านนอก 9.91 เซนติเมตร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรอดและการเติบโตของปูม้า ได้แก่
1. ความเค็มของน้ำทะเล
2. ปริมาณอาหาร
3. อุณหภูมิของน้ำ
4. แหล่งที่อยู่อาศัย
5. ปริมาณออกซิเจน
6. ระบบนิเวศ

การใช้ประโยชน์ทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืน ผลสำเร็จจากชุมชนต้นแบบในการจัดการระบบนิเวศชายฝั่ง ไม่ทำประมงในพื้นที่สันดอนทราย หญ้าทะเลและบริเวณใกล้ชายฝั่ง 500 เมตร เป็นแหล่งอนุบาลและหลบภัยสัตว์น้ำของชุมชน จะทำบ้านปลาเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ความสำเร็จในการยกระดับผลการประเมินการพัฒนาทางการประมงของไทย เสนอแนวทางบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เป็นข้อมูลวิจัยที่ประกอบการประเมิน ผลสำเร็จจากการดำเนินงานสามารถยกระดับการประเมินของไทย จากระดับ C ในปี พ.ศ. 2560 เป็นระดับ A ในปี พ.ศ. 2561 และต่อเนื่องในปี 2562 หลังจากเผยแพร่ผลงานวิจัย การบริหารจัดการทรัพยากรปูม้าในพื้นที่อ่าวบ้านดอน พื้นที่สันดอนทรายขนาดใหญ่เป็นแหล่งพื้นที่หลบภัยสัตว์น้ำของอ่าวบ้านดอน เป็นแหล่งอนุบาลของลูกปูม้าและสัตว์น้ำวัยอ่อนอื่นๆ ของอ่าวบ้านดอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำประมงของไทยไม่ทำลายพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ไม่จับ ไม่ซื้อ ไม่กินปูม้า ขนาดเล็ก 10 เซนติเมตร เพื่อให้ปูม้าสืบพันธุ์วางไข่ก่อน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรปูม้า และระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

#ปูม้า #ต้นแบบการฟื้นฟูปูม้า #อ่าวบ้านดอน #ธนาคารปูม้า #สวก