ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ด้วยนาโนเทคโนโลยี
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ด้วยนาโนเทคโนโลยี พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเติบโตและดำรงชีวิตได้ โดยอาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ดินน้ำ แสง และธาตุอาหาร พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณสูง ทำให้ธาตุอาหารในดินมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้ต้องมีการใส่ปุ๋ยเพิ่ม โดยปุ๋ยสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น ปุ๋ยอินทรีย์คือปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุโดยจุลินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยสด ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไปจะเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดี และมีส่วนผสมของธาตุอาหารหลักที่มีปริมาณเข้มข้น จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้ เช่น ปุ๋ยยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟต
ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย คือปุ๋ยที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาได้อย่างช้าๆ พืชมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วง แต่มีความต้องการตลอดเวลา และความต้องการนั้นจะสอดคล้องกับการเติบโตของพืช ซึ่งการเติบโตที่ดี พืชจะต้องได้รับธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ แต่การให้ปุ๋ยเคมีจะมีการให้ที่มากเกินความจำเป็นของพืช ทำให้อัตราการให้ปุ๋ยและการรับธาตุอาหารไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นผลกระทบจากปริมาณธาตุอาหาร ในช่วงที่มีปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินความต้องการ จากการให้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็น พืชจะมีการดูดซึมไปใช้ไม่หมด ส่งผลให้เกิดการสูญเสีย ธาตุอาหารที่เหลือจะถูกสะสมที่ผิวดิน เกิดเป็นภาวะดินเสื่อม อีกทั้งยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง
ในช่วงที่ปุ๋ยมีการให้ธาตุอาหารน้อย แต่พืชยังคงมีความต้องการธาตุอาหารตลอดเวลา และเนื่องจากมีปริมาณอาหารต่ำกว่าที่พืชต้องการ จึงทำให้พืชเกิดภาวะขาดสารอาหาร และให้ผลผลิตไม่เต็มที่ ซึ่งทั้ง 2 แบบจะส่งผลโดยตรงต่อพืช ทำให้พืชเกิดความเสียหาย และผลผลิตต่ำ
ความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ปุ๋ยเคมีเมื่อให้ปุ๋ยแก่พืชได้รับความชื้นในดินและเกิดการละลายทันที เพราะเป็นเกลือ ละลายน้ำได้ดี ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ไม่ทัน เกิดการสูญเสียของปุ๋ยที่ใส่ ขณะที่ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย เมื่อได้รับความชื้นก็ค่อยละลายออกมาอย่างช้าๆ ผ่านสารเคลือบในปริมาณที่พืชดูดซึมได้ทันตามความต้องการ และจะมีการปลดปล่อยออกมาตลอด ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทิศทางตลาดโลกของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย มีรายงานว่าตลาดของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย จะโตขึ้นจากปี 2017 ที่มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2022 จะมีมูลค่าสูงถึงกว่า 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 6.29 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยมีหลายชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่นิยมจะประกอบไปด้วยธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดี ซึ่งจะถูกเคลือบด้วยสารโพลิเมอร์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ กลไกการปลดปล่อยของปุ๋ยการปลดปล่อย จะมีทั้งหมด 3 ระยะตามหลักการแพร่ คือ
– ระยะแรกน้ำจะผ่านชั้นสารเคลือบซึมเข้าสู่เม็ดปุ๋ย
– ระยะที่ 2 น้ำที่เข้าไปจะละลายอยู่ภายในสารเคลือบ และ
– ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย ปุ๋ยที่ละลายจะเกิดแรงดันภายใน ทำให้เกิดการปลดปล่อยโดยการแพร่
ปัจจัยที่มีผลต่อการปลดปล่อยจะมีด้วยกัน 2 ปัจจัยหลักคือ สภาวะแวดล้อมและเม็ดปุ๋ย ด้านสภาวะแวดล้อมจะประกอบด้วยความชื้น อุณหภูมิ และชนิดของจุลินทรีย์ในดิน ขณะที่เม็ดปุ๋ยขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของชั้นสารเคลือบ ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยโดยเทคโนโลยีของเรา ได้พัฒนาชั้นสารเคลือบชนิดนาโนคอมโพสิต ที่ผลิตจากวัสดุฐานธรรมชาติ ให้ได้ชั้นเคลือบที่มีความแข็งแรงขึ้น และสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อการปลดปล่อยธาตุอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บธาตุอาหารเสริม เพื่อให้พืชได้รับสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆได้อย่างครบถ้วน โดยสามารถออกแบบการปลดปล่อยธาตุอาหารเสริมได้อย่างเหมาะสม และตรงกับความต้องการของพืชได้อีกด้วย
ข้อดีของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ทำให้สามารถลดการสูญเสีย จากการปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ พืชจะสามารถใช้งานได้จนหมด ไม่หลงเหลือสารตกค้างที่เกินความต้องการของพืช ซึ่งถือเป็นการดูดซึมธาตุอาหารที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโพลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารเคลือบสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนรวมในการปลูกพืช ซึ่งจะครอบคลุมทั้งด้านแรงงานและเวลาในการเพาะปลูก
สามารถที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการทั้งในไทยและต่างประเทศที่ต้องการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อผลิตปุ๋ยประเภทนี้ใช้เอง และมีการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย คือ กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูก พืชไร่ พืชสวน พืชเศรษฐกิจ เพื่อการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทางการเกษตร อันจะเป็นการส่งเสริมภาคเกษตรกรไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
#ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย
#นาโน
#ปุ๋ยเคมี
#วิจัย
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ด้วยนาโนเทคโนโลยี พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเติบโตและดำรงชีวิตได้ โดยอาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ดินน้ำ แสง และธาตุอาหาร พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณสูง ทำให้ธาตุอาหารในดินมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้ต้องมีการใส่ปุ๋ยเพิ่ม โดยปุ๋ยสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น ปุ๋ยอินทรีย์คือปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุโดยจุลินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยสด ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไปจะเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดี และมีส่วนผสมของธาตุอาหารหลักที่มีปริมาณเข้มข้น จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้ เช่น ปุ๋ยยูเรีย และแอมโมเนียมซัลเฟต
ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย คือปุ๋ยที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาได้อย่างช้าๆ พืชมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วง แต่มีความต้องการตลอดเวลา และความต้องการนั้นจะสอดคล้องกับการเติบโตของพืช ซึ่งการเติบโตที่ดี พืชจะต้องได้รับธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ แต่การให้ปุ๋ยเคมีจะมีการให้ที่มากเกินความจำเป็นของพืช ทำให้อัตราการให้ปุ๋ยและการรับธาตุอาหารไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นผลกระทบจากปริมาณธาตุอาหาร ในช่วงที่มีปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินความต้องการ จากการให้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็น พืชจะมีการดูดซึมไปใช้ไม่หมด ส่งผลให้เกิดการสูญเสีย ธาตุอาหารที่เหลือจะถูกสะสมที่ผิวดิน เกิดเป็นภาวะดินเสื่อม อีกทั้งยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง
ในช่วงที่ปุ๋ยมีการให้ธาตุอาหารน้อย แต่พืชยังคงมีความต้องการธาตุอาหารตลอดเวลา และเนื่องจากมีปริมาณอาหารต่ำกว่าที่พืชต้องการ จึงทำให้พืชเกิดภาวะขาดสารอาหาร และให้ผลผลิตไม่เต็มที่ ซึ่งทั้ง 2 แบบจะส่งผลโดยตรงต่อพืช ทำให้พืชเกิดความเสียหาย และผลผลิตต่ำ
ความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ปุ๋ยเคมีเมื่อให้ปุ๋ยแก่พืชได้รับความชื้นในดินและเกิดการละลายทันที เพราะเป็นเกลือ ละลายน้ำได้ดี ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ไม่ทัน เกิดการสูญเสียของปุ๋ยที่ใส่ ขณะที่ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย เมื่อได้รับความชื้นก็ค่อยละลายออกมาอย่างช้าๆ ผ่านสารเคลือบในปริมาณที่พืชดูดซึมได้ทันตามความต้องการ และจะมีการปลดปล่อยออกมาตลอด ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทิศทางตลาดโลกของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย มีรายงานว่าตลาดของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย จะโตขึ้นจากปี 2017 ที่มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2022 จะมีมูลค่าสูงถึงกว่า 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 6.29 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยมีหลายชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่นิยมจะประกอบไปด้วยธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดี ซึ่งจะถูกเคลือบด้วยสารโพลิเมอร์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ กลไกการปลดปล่อยของปุ๋ยการปลดปล่อย จะมีทั้งหมด 3 ระยะตามหลักการแพร่ คือ
– ระยะแรกน้ำจะผ่านชั้นสารเคลือบซึมเข้าสู่เม็ดปุ๋ย
– ระยะที่ 2 น้ำที่เข้าไปจะละลายอยู่ภายในสารเคลือบ และ
– ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย ปุ๋ยที่ละลายจะเกิดแรงดันภายใน ทำให้เกิดการปลดปล่อยโดยการแพร่
ปัจจัยที่มีผลต่อการปลดปล่อยจะมีด้วยกัน 2 ปัจจัยหลักคือ สภาวะแวดล้อมและเม็ดปุ๋ย ด้านสภาวะแวดล้อมจะประกอบด้วยความชื้น อุณหภูมิ และชนิดของจุลินทรีย์ในดิน ขณะที่เม็ดปุ๋ยขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของชั้นสารเคลือบ ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยโดยเทคโนโลยีของเรา ได้พัฒนาชั้นสารเคลือบชนิดนาโนคอมโพสิต ที่ผลิตจากวัสดุฐานธรรมชาติ ให้ได้ชั้นเคลือบที่มีความแข็งแรงขึ้น และสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อการปลดปล่อยธาตุอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บธาตุอาหารเสริม เพื่อให้พืชได้รับสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆได้อย่างครบถ้วน โดยสามารถออกแบบการปลดปล่อยธาตุอาหารเสริมได้อย่างเหมาะสม และตรงกับความต้องการของพืชได้อีกด้วย
ข้อดีของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ทำให้สามารถลดการสูญเสีย จากการปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ พืชจะสามารถใช้งานได้จนหมด ไม่หลงเหลือสารตกค้างที่เกินความต้องการของพืช ซึ่งถือเป็นการดูดซึมธาตุอาหารที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโพลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารเคลือบสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนรวมในการปลูกพืช ซึ่งจะครอบคลุมทั้งด้านแรงงานและเวลาในการเพาะปลูก
สามารถที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการทั้งในไทยและต่างประเทศที่ต้องการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อผลิตปุ๋ยประเภทนี้ใช้เอง และมีการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย คือ กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูก พืชไร่ พืชสวน พืชเศรษฐกิจ เพื่อการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทางการเกษตร อันจะเป็นการส่งเสริมภาคเกษตรกรไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
#ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย
#นาโน
#ปุ๋ยเคมี
#วิจัย
#สวก.