ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่
ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์จะมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เป็นผลพลอยได้ต่างๆ…..
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
….เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งเศษพืชและเศษมูลสัตว์ ที่สามารถนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย
สำหรับกรณีตัวอย่างที่นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างเห็นได้ชัด คือชุมชนบ้านกูเล็ง อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยที่ผ่านมาเกษตรกรในพื้นที่นี้การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ในการทำการเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบในสภาพดินเสื่อมโทรม จากปัญหาการสะสมและตกค้างของสารเคมีในดินเป็นเวลานาน และการปนเปื้อนของสารเคมีสู่แหล่งน้ำ อีกทั้งเกษตรกรมีสุขภาพทรุดโทรม ประกอบกับในชุมชนของเกษตรกรมีอาชีพเลี้ยงไก่ ซึ่งมักประสบปัญหามลภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำฟาร์ม นอกจากนี้ยังพบการเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นของวัสดุขนไก่ จากโรงเชือดไก่ในชุมชน
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนในพื้นที่ควรมีเทคโนโลยีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิต การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางเลือกที่ดี เพราะช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดมีดังนี้
– ทะลายปาล์ม 5 ส่วน
– ขนไก่ 5 ส่วน
– มูลวัว 1 ส่วน
– แกลบดำ 1 ส่วน
– กากน้ำตาล 0.025 ส่วน
– สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 0.005 ส่วน
– น้ำ 0.5 ส่วน
วิธีทำมีดังนี้
1.สับทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันเล็กด้วยเครื่องสับทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันและบดขนไก่ให้มีขนาดเล็กด้วยเครื่องบด ซึ่งขนไก่ควรตากให้แห้งก่อนนำไปบด จะช่วยให้วัสดุแตกหักง่ายไม่เหนียวติดในเครื่องบด
2. นำทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมกับขนไก่มูลวัวและแกลบดำ จากนั้นบีบกองปุ๋ยหมักเพื่อดูความชื้น
3. ทำกองปุ๋ยหมักในพลาสติกทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร ราดด้วยสารละลายซุปเปอร์ พด. 1 ให้ชุ่ม
ขั้นตอนการเตรียมน้ำจุลินทรีย์เพื่อผสมกับปุ๋ย คือน้ำจุลินทรีย์โดยละลายกับน้ำตาลสารเร่งพด. 1 ต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 0.25 : 20 โดยน้ำหนัก คนให้ละลายทิ้งไว้ 15 นาทีก่อนนำมาราดกองปุ๋ย
4.นำผ้าพลาสติกหรือผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นระเหยออกจากกองปุ๋ย
5.กลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 7 วัน โดยหมักเป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นนำมาตากแห้งแล้วใส่เครื่องบดเป็นผงละเอียด
6. เป็นขั้นตอนการเตรียมปุ๋ยอัดเม็ด คือผสมปุ๋ยกับดินเหนียวดินเนื้อละเอียด ซึ่งผ่านการร่อนก่อนในอัตราส่วน 1 ต่อ 0.5 โดยน้ำหนัก พร้อมกับเติมน้ำจุลินทรีย์ โดยมีอัตราส่วนของน้ำต่อสารเร่งพด. 1 เท่ากับ 10 : 0.05 โดยน้ำหนัก ลงในผงปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำเข้าเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยจะถูกอัดออกมาเป็นเส้นและแตกหักเป็นเม็ด
จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุ 6 ถึง 9 เดือน ซึ่งจะช่วยให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันและเจริญเติบโตดี เพราะมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสูง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยทางการค้า ลดลงกว่า 5 เท่า ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตและส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
#ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
#ปาล์ม
#ขนไก่
#ปุ๋ยอินทรีย์
#พด1
#สวก.
ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์จะมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เป็นผลพลอยได้ต่างๆ…..
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
….เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งเศษพืชและเศษมูลสัตว์ ที่สามารถนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย
สำหรับกรณีตัวอย่างที่นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างเห็นได้ชัด คือชุมชนบ้านกูเล็ง อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยที่ผ่านมาเกษตรกรในพื้นที่นี้การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ในการทำการเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบในสภาพดินเสื่อมโทรม จากปัญหาการสะสมและตกค้างของสารเคมีในดินเป็นเวลานาน และการปนเปื้อนของสารเคมีสู่แหล่งน้ำ อีกทั้งเกษตรกรมีสุขภาพทรุดโทรม ประกอบกับในชุมชนของเกษตรกรมีอาชีพเลี้ยงไก่ ซึ่งมักประสบปัญหามลภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำฟาร์ม นอกจากนี้ยังพบการเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นของวัสดุขนไก่ จากโรงเชือดไก่ในชุมชน
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนในพื้นที่ควรมีเทคโนโลยีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิต การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางเลือกที่ดี เพราะช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด จากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดมีดังนี้
– ทะลายปาล์ม 5 ส่วน
– ขนไก่ 5 ส่วน
– มูลวัว 1 ส่วน
– แกลบดำ 1 ส่วน
– กากน้ำตาล 0.025 ส่วน
– สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 0.005 ส่วน
– น้ำ 0.5 ส่วน
วิธีทำมีดังนี้
1.สับทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันเล็กด้วยเครื่องสับทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันและบดขนไก่ให้มีขนาดเล็กด้วยเครื่องบด ซึ่งขนไก่ควรตากให้แห้งก่อนนำไปบด จะช่วยให้วัสดุแตกหักง่ายไม่เหนียวติดในเครื่องบด
2. นำทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมกับขนไก่มูลวัวและแกลบดำ จากนั้นบีบกองปุ๋ยหมักเพื่อดูความชื้น
3. ทำกองปุ๋ยหมักในพลาสติกทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร ราดด้วยสารละลายซุปเปอร์ พด. 1 ให้ชุ่ม
ขั้นตอนการเตรียมน้ำจุลินทรีย์เพื่อผสมกับปุ๋ย คือน้ำจุลินทรีย์โดยละลายกับน้ำตาลสารเร่งพด. 1 ต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 0.25 : 20 โดยน้ำหนัก คนให้ละลายทิ้งไว้ 15 นาทีก่อนนำมาราดกองปุ๋ย
4.นำผ้าพลาสติกหรือผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นระเหยออกจากกองปุ๋ย
5.กลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 7 วัน โดยหมักเป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นนำมาตากแห้งแล้วใส่เครื่องบดเป็นผงละเอียด
6. เป็นขั้นตอนการเตรียมปุ๋ยอัดเม็ด คือผสมปุ๋ยกับดินเหนียวดินเนื้อละเอียด ซึ่งผ่านการร่อนก่อนในอัตราส่วน 1 ต่อ 0.5 โดยน้ำหนัก พร้อมกับเติมน้ำจุลินทรีย์ โดยมีอัตราส่วนของน้ำต่อสารเร่งพด. 1 เท่ากับ 10 : 0.05 โดยน้ำหนัก ลงในผงปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำเข้าเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยจะถูกอัดออกมาเป็นเส้นและแตกหักเป็นเม็ด
จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสมขนไก่ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุ 6 ถึง 9 เดือน ซึ่งจะช่วยให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันและเจริญเติบโตดี เพราะมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสูง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยทางการค้า ลดลงกว่า 5 เท่า ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตและส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
#ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
#ปาล์ม
#ขนไก่
#ปุ๋ยอินทรีย์
#พด1
#สวก.