ภาชนะจากทะลายปาล์มน้ำมัน | สวก
ภาชนะที่ทำมาจากทะลายปาล์มน้ำมัน ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน ได้ให้ทุนสนับสนุนกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท SCG ในการทำผลงานวิจัยชิ้นนี้
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจซึ่งหลังจากการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว ก็จะมีการขนส่งเข้าสู่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มต่อไป และยังมีทะลายปาล์มที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมากจึงได้รับความร่วมมือจาก สวก. และ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต เพื่อวิจัยหาทางออกโดยการนำเส้นใยปาล์มมาทำภาชนะใส่อาหารดังนี้
โครงการเอาปาล์ม เส้นใยปาล์มมาทำถ้วยชามใส่อาหาร เริ่มจากการที่ตระหนักว่าพื้นที่ปาล์มน้ำมันขยับขยายขึ้นเรื่อยๆ พบว่าในการที่นำเม็ดปาล์มมาสกัดเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือน้ำมันปาล์มต่างๆ มักจะเหลือทะลายปาล์มเปล่าเสมอ ในปัจจุบันทะลายปาล์มเปล่าปัจจุบันจะเป็นเชื้อเพลิง แบบเปียกๆ ไม่แห้ง มีมูลค่าต่ำมากอยู่ที่ประมาณกิโลกรัม 25 สตางค์ จึงคิดว่าทะลายปาล์มเปล่าน่าจะมีศักยภาพมากกว่าการนำไปเผา เพราะว่าเส้นใยแข็งแรงมาก มีลิกนินสูงมาก มี 2 สาขาที่ให้ความสนใจ คือ อุตสาหกรรมอาหารสำหรับภาชนะใส่อาหาร อุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมยารักษาโรค พบว่าศักยภาพของเราไม่สามารถจะไปถึงอุตสาหกรรมยาได้ จึงอยู่ที่อุตสาหกรรมอาหาร จึงได้ทำการปรับเส้นใย มาเป็นที่ใส่อาหาร ซึ่งยากมากเพราะว่าต้องเป็น Food Contact จึงได้พัฒนาจนสุดท้ายประสบความสำเร็จที่ออกมาเป็น Collection ที่เป็นโอริกามิ จะมีเมลามีนที่ใช้เส้นใยปาล์มเป็นส่วนประกอบ
จากผลงานวิจัยทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการนำเอาวัสดุเหลือใช้จากปาล์มน้ำมันมาใช้ประโยชน์อีกด้วย
#ปาล์มน้ำมัน #ภาชนะ #อาหาร
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ภาชนะที่ทำมาจากทะลายปาล์มน้ำมัน ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน ได้ให้ทุนสนับสนุนกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท SCG ในการทำผลงานวิจัยชิ้นนี้
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจซึ่งหลังจากการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว ก็จะมีการขนส่งเข้าสู่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มต่อไป และยังมีทะลายปาล์มที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมากจึงได้รับความร่วมมือจาก สวก. และ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต เพื่อวิจัยหาทางออกโดยการนำเส้นใยปาล์มมาทำภาชนะใส่อาหารดังนี้
โครงการเอาปาล์ม เส้นใยปาล์มมาทำถ้วยชามใส่อาหาร เริ่มจากการที่ตระหนักว่าพื้นที่ปาล์มน้ำมันขยับขยายขึ้นเรื่อยๆ พบว่าในการที่นำเม็ดปาล์มมาสกัดเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือน้ำมันปาล์มต่างๆ มักจะเหลือทะลายปาล์มเปล่าเสมอ ในปัจจุบันทะลายปาล์มเปล่าปัจจุบันจะเป็นเชื้อเพลิง แบบเปียกๆ ไม่แห้ง มีมูลค่าต่ำมากอยู่ที่ประมาณกิโลกรัม 25 สตางค์ จึงคิดว่าทะลายปาล์มเปล่าน่าจะมีศักยภาพมากกว่าการนำไปเผา เพราะว่าเส้นใยแข็งแรงมาก มีลิกนินสูงมาก มี 2 สาขาที่ให้ความสนใจ คือ อุตสาหกรรมอาหารสำหรับภาชนะใส่อาหาร อุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมยารักษาโรค พบว่าศักยภาพของเราไม่สามารถจะไปถึงอุตสาหกรรมยาได้ จึงอยู่ที่อุตสาหกรรมอาหาร จึงได้ทำการปรับเส้นใย มาเป็นที่ใส่อาหาร ซึ่งยากมากเพราะว่าต้องเป็น Food Contact จึงได้พัฒนาจนสุดท้ายประสบความสำเร็จที่ออกมาเป็น Collection ที่เป็นโอริกามิ จะมีเมลามีนที่ใช้เส้นใยปาล์มเป็นส่วนประกอบ
จากผลงานวิจัยทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการนำเอาวัสดุเหลือใช้จากปาล์มน้ำมันมาใช้ประโยชน์อีกด้วย
#ปาล์มน้ำมัน #ภาชนะ #อาหาร
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง