ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ของดีจากภาตใต้ของประเทศไทย ถูกยกระดับให้เป็นที่รู้จักสู่สากล แต่จะมีวิธีการอย่างไรนั้น ติดตามได้ใน ARDA Talk
ผู้เสวนา
1.นางสาวภาวดี ใจเอื้อ
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สวก.
2.ผศ.ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว
หัวหน้าโครงการวิจัย คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
3.นายวิสุทธิ์ วิบูลย์พันธุ์
ผู้ประกอบการโรงสีรับจ้างแปรรูปข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยม
4.นายรณชัย อเปสริยโย
ประธานตรวจสอบคุณภาพการผลิตภายใน
สมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
6:00 จุดเริ่มต้นที่ทำให้ สวก. สนใจวิจัยเกี่ยวกับข้าวสังข์หยด
ข้าวพันธุ์สังหยดเป็นข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้กับพัทลุง เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นข้าวที่มีค่าทางโภชนาการสูง เป็นข้าวที่ตลาดมีความต้องการสูง แต่เนื่องจากการปลูกด้วยระบบอินทรีย์ ได้ผลผลิตที่ไม่มีความสม่ำเสมอผลผลิตต่ำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและตลาดรับซื้อ และความไม่มีมาตรฐานของราคาขายทำให้เกษตรกรไม่สามารถประมาณการในการผลิตได้ สวก.จึงมีการสนับสนุนงานวิจัยในโครงการการยกระดับคุณภาพและการเพิ่มมูลค่าข้าวสังข์หยดพัทลุงด้วยนวัตกรรม
10:25 อย่างไรถึงจะได้ข้าวสังข์หยดพัทลุงพรีเมี่ยม
ในการวิจัยใช้ระบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยให้ทางสมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยมีจุดมุ่งหมายคือต้องการข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยมที่สูงขึ้นกว่าเดิม โดยกลุ่มเป้าหมายของการผลิตข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยม สำหรับผู้สูงวัยและผู้รักสุขภาพ ระบบการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล จะทำให้สามารถส่งออกข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ และมีการควบคุมการผลิตภายในด้วยขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ กลไกงานวิจัยได้ให้สมาคมมีการปฏิบัติงานร่วมกับเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรนำร่อง และเข้าร่วมกับผู้ประกอบการโรงสีแปรรูปและสร้างระบบขึ้นมา เพื่อใช้ตรวจสอบภายในเพื่อการรองรับของผู้ตรวจสอบภายนอกเกี่ยวกับการให้คำรับรองการทำเกษตรอินทรีย์
22:58 ผู้ตรวจสอบจากภายนอก โดยได้เชิญผู้ตรวจสอบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกาเข้ามาตรวจสอบได้มีการตรวจสอบเกษตรกรผู้ประกอบการและตรวจสอบผู้ตรวจสอบภายในระบบบริหารสมาคมและขณะนี้อยู่ในระหว่างการรอการอนุมัติใช้ตรามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา
27:40 มาตรฐานการตรวจสอบภายในมีอะไรบ้าง
สภาวะพื้นที่สิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ใช้น้ำแบบไหนมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเคมีหรือไม่ แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดต้องมีความเชื่อถือได้ มีการตรวจสอบตั้งแต่ระยะการแตกกอ การออกรวงรวมไปถึงขั้นตอนในการเก็บเกี่ยว มีการบันทึกข้อมูลในแปลงนาถูกต้องหรือไม่ ดูวิธีการเก็บเกี่ยวรวมไปถึงการเก็บข้าวในยุ้งฉางทุกขั้นตอนจะต้องมีการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มให้ถูกต้องและครบถ้วน
35:50 ประโยชน์ของโครงการวิจัยในครั้งนี้มีอะไรบ้าง
ผู้ประกอบการได้มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตการแปรรูปข้าวที่มีมาตรฐานแบบพรีเมี่ยม ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างสูง ส่วนของสมาคมผู้ประกอบการมีรูปแบบการทำงานให้ชัดเจนขึ้น มีการวางแผนผังองค์กรใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้นได้ทำงานเป็นระบบมากขึ้น ในส่วนของเกษตรกรเกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้ตามมาตรฐานก็จะสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นที่ดีกว่าข้าวอินทรีย์ทั่วไป
42:20 ผู้ใดได้รับประโยชน์จากโครงการวิจัยในครั้งนี้
การทำโครงการวิจัยในครั้งนี้ยกระดับเป็น 2 ประเด็น คือ ยกระดับข้าวอินทรีย์เข้าไปให้เป็นพรีเมียม 2 คือกลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ยกระดับมาตรฐานให้เกษตรกรให้มีมาตรฐาน เกษตรกรสามารถขายข้าวได้ในราคาที่สูงขึ้นและลดขั้นตอนการทำการตลาดโดยที่ทำตามคู่มือในระบบการผลิตข้าวแบบต่างๆ ทางสมาคมก็จะเป็นผู้รับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูง
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#ข้าวสังข์หยด #พันธุ์ข้าว #อินทรีย์ #พัทลุง
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
ผู้เสวนา
1.นางสาวภาวดี ใจเอื้อ
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สวก.
2.ผศ.ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว
หัวหน้าโครงการวิจัย คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
3.นายวิสุทธิ์ วิบูลย์พันธุ์
ผู้ประกอบการโรงสีรับจ้างแปรรูปข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยม
4.นายรณชัย อเปสริยโย
ประธานตรวจสอบคุณภาพการผลิตภายใน
สมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
6:00 จุดเริ่มต้นที่ทำให้ สวก. สนใจวิจัยเกี่ยวกับข้าวสังข์หยด
ข้าวพันธุ์สังหยดเป็นข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้กับพัทลุง เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นข้าวที่มีค่าทางโภชนาการสูง เป็นข้าวที่ตลาดมีความต้องการสูง แต่เนื่องจากการปลูกด้วยระบบอินทรีย์ ได้ผลผลิตที่ไม่มีความสม่ำเสมอผลผลิตต่ำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและตลาดรับซื้อ และความไม่มีมาตรฐานของราคาขายทำให้เกษตรกรไม่สามารถประมาณการในการผลิตได้ สวก.จึงมีการสนับสนุนงานวิจัยในโครงการการยกระดับคุณภาพและการเพิ่มมูลค่าข้าวสังข์หยดพัทลุงด้วยนวัตกรรม
10:25 อย่างไรถึงจะได้ข้าวสังข์หยดพัทลุงพรีเมี่ยม
ในการวิจัยใช้ระบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยให้ทางสมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยมีจุดมุ่งหมายคือต้องการข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยมที่สูงขึ้นกว่าเดิม โดยกลุ่มเป้าหมายของการผลิตข้าวสังข์หยดพรีเมี่ยม สำหรับผู้สูงวัยและผู้รักสุขภาพ ระบบการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล จะทำให้สามารถส่งออกข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ และมีการควบคุมการผลิตภายในด้วยขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ กลไกงานวิจัยได้ให้สมาคมมีการปฏิบัติงานร่วมกับเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรนำร่อง และเข้าร่วมกับผู้ประกอบการโรงสีแปรรูปและสร้างระบบขึ้นมา เพื่อใช้ตรวจสอบภายในเพื่อการรองรับของผู้ตรวจสอบภายนอกเกี่ยวกับการให้คำรับรองการทำเกษตรอินทรีย์
22:58 ผู้ตรวจสอบจากภายนอก โดยได้เชิญผู้ตรวจสอบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกาเข้ามาตรวจสอบได้มีการตรวจสอบเกษตรกรผู้ประกอบการและตรวจสอบผู้ตรวจสอบภายในระบบบริหารสมาคมและขณะนี้อยู่ในระหว่างการรอการอนุมัติใช้ตรามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา
27:40 มาตรฐานการตรวจสอบภายในมีอะไรบ้าง
สภาวะพื้นที่สิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ใช้น้ำแบบไหนมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเคมีหรือไม่ แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดต้องมีความเชื่อถือได้ มีการตรวจสอบตั้งแต่ระยะการแตกกอ การออกรวงรวมไปถึงขั้นตอนในการเก็บเกี่ยว มีการบันทึกข้อมูลในแปลงนาถูกต้องหรือไม่ ดูวิธีการเก็บเกี่ยวรวมไปถึงการเก็บข้าวในยุ้งฉางทุกขั้นตอนจะต้องมีการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มให้ถูกต้องและครบถ้วน
35:50 ประโยชน์ของโครงการวิจัยในครั้งนี้มีอะไรบ้าง
ผู้ประกอบการได้มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตการแปรรูปข้าวที่มีมาตรฐานแบบพรีเมี่ยม ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างสูง ส่วนของสมาคมผู้ประกอบการมีรูปแบบการทำงานให้ชัดเจนขึ้น มีการวางแผนผังองค์กรใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้นได้ทำงานเป็นระบบมากขึ้น ในส่วนของเกษตรกรเกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้ตามมาตรฐานก็จะสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นที่ดีกว่าข้าวอินทรีย์ทั่วไป
42:20 ผู้ใดได้รับประโยชน์จากโครงการวิจัยในครั้งนี้
การทำโครงการวิจัยในครั้งนี้ยกระดับเป็น 2 ประเด็น คือ ยกระดับข้าวอินทรีย์เข้าไปให้เป็นพรีเมียม 2 คือกลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ยกระดับมาตรฐานให้เกษตรกรให้มีมาตรฐาน เกษตรกรสามารถขายข้าวได้ในราคาที่สูงขึ้นและลดขั้นตอนการทำการตลาดโดยที่ทำตามคู่มือในระบบการผลิตข้าวแบบต่างๆ ทางสมาคมก็จะเป็นผู้รับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูง
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#ข้าวสังข์หยด #พันธุ์ข้าว #อินทรีย์ #พัทลุง
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
เรื่องที่เกี่ยวข้อง