ยกระดับข้าวเหนียวเขี้ยวงู เพื่อเพิ่มศักยภาพในเชิงพานิชย์ | สวก.
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI ของจังหวัดเชียงราย ที่มีอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร คนไทยทราบดีถึงความอร่อยของข้าวเหนียวชนิดนี้ แต่การจะผลักดันให้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูนั้นมีโอกาสเข้าสู่ตลาดที่กว้างขึ้น จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้เข้มแข็ง
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองของเชียงราย ที่มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวเหนียวสายพันธุ์ทั่วไป แต่กระบวนการผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงูของเกษตรกรจังหวัดเชียงราย ยังไม่มีความเป็นมืออาชีพ และไม่มีการรวมกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ปริมาณไม่เพียงพอและมีคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีแนวคิดเพื่อพัฒนาด้านการตลาดในเชิงธุรกิจ ให้กว้างขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
มีการรวมกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย และจัดทำฐานข้อมูลการผลิต การรักษาพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ต่อมา พัฒนาระบบควบคุมคุณภาพ ภายในกลุ่มเกษตรกรต้นแบบมีการประเมินและรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ช่วยเพิ่มมูลค่า สะท้อนอัตลักษณ์ของสินค้า สื่อสารไปยังผู้บริโภค ให้คนจำได้
โครงการนี้ สามารถทำให้สินค้าขยายตลาดออกไปได้กว้างมากขึ้น จากเดิมการบริโภคข้าวเหนียวเขี้ยวงูในประเทศไทย ยังจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ เป็นวัตถุดิบเพื่อทำอาหารหรือขนมหวาน และส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคในเขตภาคกลาง ทำให้การขายมีขอบเขต แค่ตลาดเฉพาะกลุ่ม ทั้งๆที่โดยสายพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู มีคุณค่าที่สามารถสร้างศักยภาพทางการตลาดได้มากกว่านั้น
การรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกเข้มแข็งมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ช่วยกันปรับปรุงวิธีการจัดการ และช่วยทำการตลาดให้น่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการทำตลาดบนออนไลน์
งานวิจัยนี้ จึงไม่เพียงยกระดับข้าวเหนียวเขี้ยวงูเท่านั้น แต่ยังกระจายประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ตั้งแต่เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ปัญหาที่มีได้รับการแก้ไข ผู้บริโภคได้ทานอาหารปลอดภัย ภาครัฐและจังหวัด นำไปเป็นต้นแบบพัฒนาสินค้าอื่นๆ และที่สำคัญ เกิดความภาคภูมิใจ ในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
#ข้าวเหนียวเขี้ยวงู #เกษตรอินทรีย์ #ส่งออก
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI ของจังหวัดเชียงราย ที่มีอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร คนไทยทราบดีถึงความอร่อยของข้าวเหนียวชนิดนี้ แต่การจะผลักดันให้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูนั้นมีโอกาสเข้าสู่ตลาดที่กว้างขึ้น จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้เข้มแข็ง
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองของเชียงราย ที่มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวเหนียวสายพันธุ์ทั่วไป แต่กระบวนการผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงูของเกษตรกรจังหวัดเชียงราย ยังไม่มีความเป็นมืออาชีพ และไม่มีการรวมกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ปริมาณไม่เพียงพอและมีคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีแนวคิดเพื่อพัฒนาด้านการตลาดในเชิงธุรกิจ ให้กว้างขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
มีการรวมกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย และจัดทำฐานข้อมูลการผลิต การรักษาพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ต่อมา พัฒนาระบบควบคุมคุณภาพ ภายในกลุ่มเกษตรกรต้นแบบมีการประเมินและรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ช่วยเพิ่มมูลค่า สะท้อนอัตลักษณ์ของสินค้า สื่อสารไปยังผู้บริโภค ให้คนจำได้
โครงการนี้ สามารถทำให้สินค้าขยายตลาดออกไปได้กว้างมากขึ้น จากเดิมการบริโภคข้าวเหนียวเขี้ยวงูในประเทศไทย ยังจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ เป็นวัตถุดิบเพื่อทำอาหารหรือขนมหวาน และส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคในเขตภาคกลาง ทำให้การขายมีขอบเขต แค่ตลาดเฉพาะกลุ่ม ทั้งๆที่โดยสายพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู มีคุณค่าที่สามารถสร้างศักยภาพทางการตลาดได้มากกว่านั้น
การรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกเข้มแข็งมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ช่วยกันปรับปรุงวิธีการจัดการ และช่วยทำการตลาดให้น่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการทำตลาดบนออนไลน์
งานวิจัยนี้ จึงไม่เพียงยกระดับข้าวเหนียวเขี้ยวงูเท่านั้น แต่ยังกระจายประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ตั้งแต่เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ปัญหาที่มีได้รับการแก้ไข ผู้บริโภคได้ทานอาหารปลอดภัย ภาครัฐและจังหวัด นำไปเป็นต้นแบบพัฒนาสินค้าอื่นๆ และที่สำคัญ เกิดความภาคภูมิใจ ในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
#ข้าวเหนียวเขี้ยวงู #เกษตรอินทรีย์ #ส่งออก
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017