วันศุกร์, 19 เมษายน 2567

รวยด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ | ARDA Talk | สวก.

ARDA Talk ตอน รวยด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญในประเทศไทย

4:10 แนะนำผู้เข้าร่วมรายการ
ผู้เสวนา
1. นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานวิจัย

2. รศ.ดร.ชูศักดิ์ จอมพุก
อาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรกำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

3. นายประเสริฐ ถาหล้า
นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5:08 สวก. มีจุดเริ่มต้นอย่างไรที่ให้ทุนวิจัยในเรื่องของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความต้องการมากประมาณ 8 ล้านตันต่อปี แต่ในประเทศไทยสามารถผลิตได้ประมาณ 5-6 ล้านตันต่อปี ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ อีกหนึ่งประเด็นคือส่วนใหญ่จะใช้เมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ ดังนั้นทาง สวก. จึงเห็นความสำคัญในจุดนี้และรวมไปถึงความมั่นคงทางด้านอาหารสัตว์ การผลิตเมล็ดพันธุ์จึงควรเริ่มต้นจากภายในประเทศ แต่เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย จึงมีการแนะนำให้ปลูกทดแทนพืชหลังนา เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ รวมไปถึงการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และยังมีการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการปลูกและเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ครบทุกองค์รวม

9:00 การพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะต้องคำนึงในเรื่องใดบ้าง
โดยการพัฒนาสายพันธุ์จะคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักคือเกษตรกร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ว่าผู้ประกอบการต้องการแบบไหนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือตลาดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือตลาดอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และอีกตลาดที่น่าสนใจคือตลาดข้าวโพดหมัก กำลังเป็นที่นิยมจะต้องคำนึงถึงผลผลิต โดยผลผลิตที่ได้ต้องไม่ต่ำกว่า 7 ตันต่อไร่ หากต่ำกว่านี้เกษตรกรอาจจะไม่ได้กำไร อายุต่ำประมาณ 85-90 วัน ลักษณะของต้นจะต้องสูงใหญ่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนมากจะได้โปรตีน 7-8 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า ไขมันมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ ค่าการย่อยได้สูง เมื่อสัตว์รับประทานเข้าไปจะสามารถย่อยได้ดี ย่อยได้ไว

15.27 เมล็ดพันธุ์ที่ตอบโจทย์สำหรับเกษตรกรจะต้องมีแบบไหน
เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะต้องได้มาจากต้นพันธุ์ที่ดี เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาด มีเสถียรภาพของพันธุ์สูง ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เป็นเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาได้นาน ลักษณะตรงตามพันธุ์ มีความชื้นต่ำสุด 12 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพดี เก็บรักษาได้นานมากกว่า 6 เดือน มีความบริสุทธิ์ทางกายภาพสูง ไม่มีวัสดุอื่นปะปนหรือประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์ ปราศจากโรคและแมลง เมล็ดพันธุ์ไม่แตกร้าว มีความบริสุทธิ์ทางกายภาพ

19:25 มีการนำเทคโนโลยีใดบ้างที่ใช้มาพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มีการแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีคือ 1. การปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน 2. การปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยงานวิจัยเน้นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบลูกผสม ปลูกในดินนาฤดูแล้งภาคกลาง การปรับปรุงพันธุ์แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือหาแหล่งพันธุกรรมข้าวโพดที่จะใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสม นำลูกผสมที่สร้างขึ้นมาทดสอบผลิตของลูกผสม แหล่งพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช นำมาจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พบว่ามี 2 คู่ผสมที่ให้ผลผลิตสูงประมาณ 1,200 – 1,300 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งผลผลิตเฉลี่ยที่ได้อยู่ในระดับเดียวกันกับภาคเอกชนที่ปลูกในที่นา เพราะฉะนั้นทางทีมวิจัยได้เสนอขึ้นเปลี่ยนพันธุ์พืชร่วมกันโดยใช้ชื่อว่าสุวรรณ 5720 และสุวรรณ 5821 เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสวก.ได้เปิดตัวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้ง 2 สายพันธุ์ ภายในงานมีการแจกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดทั้ง 2 สายพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรนำไปทดลองปลูกในแปลงที่นาของตนเอง

25:13 สภาพอากาศและความชื้นของดินมีผลต่อการปลูกข้าวโพดหรือไม่
สภาพอากาศและความชื้นของดินมีผลต่อการปลูกข้าวโพด อุณหภูมิมาเกี่ยวข้องกับข้าวโพด 2 ระยะด้วยกันคือระยะข้าวโพดต้นเล็กได้แก่ข้าวโพดต้นงอกจนถึงอายุข้าวโพดประมาณ 1 เดือน ถ้าข้าวโพดได้รับอุณภูมิต่ำประมาณ 15 องศา 2-3 วัน ดินมีความชื้นสูง ข้าวโพดจะแสดงอาการใบม่วง เนื่องจากขาดธาตุฟอสฟอรัสซึ่งข้าวโพดไม่สามารถดูดซับมาจากดินได้ สามารถแก้ไขได้โดยการฉีดสารฟอสฟอรัสทางใบ ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่ฉีดข้าวโพดก็จะกลับมาปกติ หากไม่ฉีดฟอสฟอรัสภายใน 1-2 วัน ข้าวโพดจะมีอาการใบม่วงประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ปกติ ข้าวโพดจะมีต้นเล็ก เมื่อข้าวโพดโตมาจนถึงระยะออกดอก หากปลูกล่าช้าไปถึงเดือนมกราคมข้าวโพดจะออกดอกกระทบกับช่วงร้อน จะเจอช่วงความร้อนในเดือนมีนาคมซึ่งเป็นในช่วงอุณหภูมิสูง จะทำให้การผสมเกสรของข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้การติดเมล็ดของข้าวโพดไม่เต็มฝัก และทำให้ผลผลิตลดลงเป็นอย่างมาก โดยการปลูกข้าวโพดให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม

28:42 วิธีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในภาคกลาง
จากสภาพดินและอุณหภูมิในแต่ละภาคแตกต่างกันควรจะมีการปรับพื้นที่เพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกได้อย่างไร
ขั้นตอนการพรวนดินการเตรียมดิน ขั้นตอนวิธีการปลูก ระยะเวลาในการปลูก ระยะเวลาในการใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วิธีการเก็บเกี่ยว

45:30 อุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มไปในด้านใด
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อลดการนำเข้า ควรส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย และใช้พันธุ์ข้าวโพดที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น


#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ #สุวรรณ5720 #สุวรรณ5821
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017