วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

รอบรู้เรื่องปลาช่อน | สวก.

การอนุบาลลูกปลาช่อน
0:15 การอนุบาลลูกปลาช่อน เริ่มตั้งแต่ลูกปลาฟักออกเป็นตัว เป็นขั้นตอนสำคัญของการผลิตลูกปลาช่อน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกปลาที่มีอัตรารอดตายสูง สุขภาพแข็งแรง เหมาะสำหรับนำไปเลี้ยงต่อไป ไข่ปลาเป็นตัวภายใน 30-36 ชั่วโมง ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมานี้จะใช้บริเวณส่วนท้องลอยน้ำ ซึ่งบริเวณท้องนี่เองจะมีถุงไข่แดง ซึ่งเป็นอาหารของลูกปลาระยะวัยอ่อนระยะแรก

0:52 การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน เพื่อเพาะพันธุ์ปลาช่อน
การเพาะเลี้ยงปลาช่อนเริ่มจากการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่เลี้ยงเองตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้ปลาเชื่องและคุ้นเคยกับสภาพกักขังการ

การเลี้ยงปลาช่อนควรเริ่มจากเตรียมบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร ใส่น้ำความสูง 60 เเซนติเมตร อยู่ในโรงเรือนหลังคาสูงและเงียบสงบ ปล่อยปลาช่อนทั้งตัวผู้และตัวเมียคละกัน น้ำหนักเฉลี่ย 300-400 กรัม ความยาวขนาด 35-40 เซนติเมตร ในอัตรา 10 ตัวต่อตารางเมตร

ในช่วงฤดูเพาะพันธุ์ปลาช่อนจะคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด โดยพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 800 ถึง 1,000 กรัม เป็นปลาที่เลี้ยงเองตั้งแต่เล็กซึ่งวิธีสังเกตแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ คือเมื่อนอนที่พื้นบริเวณท้องจะแบนออกด้านข้างมีลำตัวสั้นป้อม ช่องเพศขยายใหญ่มีสีชมพูปนแดง ส่วนพ่อพันธุ์จะมีลำตัวเรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบต่างๆ ยาวและมีสีเข้ม

2:10 การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด
ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อกินอาหารมีชีวิตในน้ำ แต่ก็สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ จากเดิมเกษตรกรเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารผสมระหว่างรำกับปลาเป็ด ปัจจุบันลูกปลาช่อนที่ผลิตได้สามารถกินและเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดได้ตั้งแต่ยังเล็ก จึงทำให้การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด เป็นที่นิยมของเกษตรกรและแพร่หลายในหลายพื้นที่ของประเทศ นับเป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตปลาช่อนให้ได้จำนวนมากและอนาคตต่อไป
เนื่องจากอาหารเม็ดสามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด เปรียบกับอาหารสดเช่น ปลาเป็ด จะหาได้เฉพาะพื้นที่ที่ติดทะเล สำหรับพื้นที่เลี้ยงปลาช่อนที่ห่างไกลจากทะเล การที่จะหาอาหารสดให้กับปลาช่อนทำได้ค่อนข้างลำบาก และมีต้นทุนสูง ปัจจุบันเกษตรกรจึงนิยมให้อาหารปลาเป็นแบบเม็ด ซึ่งปลาก็เริ่มชินกับอาหารเม็ดมากขึ้น

3:05 โรคที่สำคัญของปลาช่อนส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย และพยาธิ โดยจะแบ่งเป็น
1.โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมี 5 ชนิดคือ แอโรโมนาส โฮโดรฟิลา เฟลคซิแบคเตอร์ คอลัมนาริส ไมโครแบคทีเรีย แบคทีเรียทั้ง 5 ชนิด จะทำให้ปลาช่อนมีลักษณะอาการของโรคโดยทั่วไปที่พบได้แก่ ผิวหนังบริเวณเกร็ด เกิดแผลที่มีลักษณะช้ำเป็นจุดแดงๆ สีดำตัวซีด หรือมีด่างขาว เมือกมากผิดปกติ เกล็ดหลุด แผลเน่าเปื่อย ว่ายน้ำผิดปกติ เสียการทรงตัว หรือตะแคงข้าง เอาตัวซุกขอบบ่อ ครีบเปื่อยแหว่ง ตาฟาง หรือขุ่นขาว ตาบอด ปลาจะกินอาหารน้อยลง
2.โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิ เห็บระฆัง ปลิงใส และอื่นๆ
3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำไส้ลักษณะอาการตัวผอม และกินอาหารลดลง
3:54 การเลี้ยงปลาช่อนด้วยวิธีการที่เคยกล่าวมาแล้ว ตั้งแต่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ จนถึงการดูแลป้องกันโรค เป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเลี้ยงปลาช่อน ซึ่งถือว่าเป็นปลาที่ติดชาร์ตในอันดับของปลาเศรษฐกิจของประเทศ หากทุกท่านใส่ใจและมีความรู้เกษตรกรทุกคนจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลาช่อน

คลิปที่เกี่ยวข้องกับปลาช่อน
การอนุบาลลูกปลาช่อน https://www.youtube.com/watch?v=dC7ksGYzFWg
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน เพื่อเพาะพันธุ์ปลาช่อน https://www.youtube.com/watch?v=oMNX_dTIaDk
การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด https://www.youtube.com/watch?v=onSepEHhNKM
โรคปลาช่อน รู้ก่อนป้องกันก่อน https://www.youtube.com/watch?v=KXR8hIrbQBo

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#ปลาช่อน #การเลี้ยงปลาช่อน​ ​​ #การอนุบาลลูกปลาช่อน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​