วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

รอบรู้เรื่องมะเขือเทศ | สวก.

รอบรู้เรื่องมะเขือเทศ | สวก.
0:15 การพัฒนาสายพันธุ์ มะเขือเทศอินทรีย์
การปลูกมะเขือเทศอินทรีย์นั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้เมล็ดพันธุ์ผักการค้าเป็นหลัก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ภายใต้ระบบเคมีมาโดยตลอด ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นเมื่อนำมาผลิตภายใต้ระบบอินทรีย์ จึงเกิดปัญหาความอ่อนแอ โรคแมลงรุมเร้า ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์หรือการจัดการแบบอินทรีย์ จึงจำเป็น ต้องพัฒนาสายพันธุ์มะเขือเทศ ด้วยเทคนิคการรวมยีน การผสมข้ามพันธุ์ เพื่อเพิ่มยีนต้านทานโรค หรือเพิ่มลักษณะที่ต้องการ จากนั้นปลูกทดสอบในรูปแบบต่างๆ จนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยว มีการวิเคราะห์ คัดเลือกพันธุ์สำหรับการบริโภคสด หรือนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป
หลังจากได้เมล็ดมะเขือเทศพันธุ์แท้ พันธุ์ลูกผสมแล้ว ทดลองปลูกทั้งโรงเรือนและแปลงเปิด ภายใต้ระบบอินทรีย์ พบว่า ต้นมะเขือเทศ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมดี ทนโรคแมลง การเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง ผลสวย ลูกโตได้ขนาด มีสารสำคัญในมะเขือเทศตามที่ควรจะเป็น ลักษณะที่ได้ของมะเขือเทศทานสดผลใหญ่ คือ มีผลกลม สีแดงสด หรือส้มสด เนื้อหนา ผิวมันวาว เมล็ดน้อย

1:30 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศเชอร์รี่ในอาคารโดยใช้แสงไฟจากหลอดแอลอีดี
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบผลิตพืชแบบปิดโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า Plant Factory มาปรับให้เหมาะสมต่อการผลิตมะเขือเทศเชอรี่ภายใต้แสงเทียม เพื่อศึกษาอิทธิพลของสเปกตรัมที่ได้จากหลอด LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ที่ผลิตในระบบปิด โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เก่า
ความพิเศษของผลผลิตจาก container farm คือปริมาณในด้านปริมาณของผลผลิตและคุณภาพผลผลิตสูงขึ้นได้ผลผลิตมากกว่า 2 กิโลกรัมต่อรอบการปลูกต่อ 1 ต้น ให้ความหวานสูงมากกว่า ปริมาณวิตามินและไลโคปีนสูงขึ้น ผลผลิตมีความสะอาด สด ปลอดภัย ไม่มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต และได้ผลตอบแทนคงที่ตลอดทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานขึ้น ผลิตได้ทั้งปี เป็นการปลูกแบบแขนงเดียว มีอายุการปลูกและเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น 5-6 เดือน

3:26 การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่
สืบเนื่องจากปัจจุบันแรงงานที่ใช้ในการคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่บนพื้นที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของโครงการหลวงขาดแคลน และอีกประการหนึ่งก็คือว่ากำลังการผลิตที่ใช้ในการคัดแยกและค่อนข้างต่ำ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโครงการหลวงในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของเครื่องคัดขนาดที่ได้พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้
รูปแบบงานวิจัยที่เน้นในทางการสร้างนวัตกรรม ออกแบบให้มีความง่ายต่อการผลิต ใช้วัสดุในประเทศที่ง่ายต่อการประกอบและที่สำคัญ คือสามารถเคลื่อนย้ายโดยพาหนะ เช่น รถกระบะไปยังสวนของเกษตรกรผู้ที่จะจำหน่าย ส่วนการต่อยอด จากเดิมจะต้องยกเครื่องขึ้นไปไว้บนรถ อาจจะพัฒนาให้ตัวเครื่องเป็นยูนิตเดียวกันกับตัวรถ หลังจากที่เคลื่อนที่ไปแปลงที่เก็บเกี่ยวแล้ว จะมีสายพานที่สามารถที่จะป้อนหรือว่าเก็บผลผลิตขึ้นมาบนตัวรถได้เลย ซึ่งจะทำให้ลดเวลาในการทำงาน และทำงานดีขึ้น

ติดตามคลิปที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเขือเทศ
การพัฒนาสายพันธุ์ มะเขือเทศอินทรีย์
https://www.youtube.com/watch?v=yYG-H_bPGQE
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศเชอร์รี่ในอาคารโดยใช้แสงไฟจากหลอดแอลอีดี
https://www.youtube.com/watch?v=T7Mhrck4foA
การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่
https://www.youtube.com/watch?v=OAVzdfhKBwc

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#รอบรู้เรื่องมะเขือเทศ #​ มะเขือเทศ​​ #ปลูกมะเขือเทศ
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​