รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนสารพิษอะฟลาทอกซิน
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
สารพิษอะฟลาทอกซิน เป็นปัญหาสำคัญในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะต่อการบริโภค และมีคุณภาพดีต่อการแปรรูปเป็นผลิตผลอื่นและการจำหน่าย
สารพิษอะฟลาทอกซินเกิดจากเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส หรือที่รู้จักกันในชื่อ ราเขียว ปัจจัยที่ทำให้เชื้อราเจริญและสร้างสารพิษได้นั้นคือ อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ซึ่งอยู่ในช่วง 10-40 องศาเซลเซียล ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศร้อยละ 70 ขึ้นไป พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนั้นวิธีเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรยังส่งผลให้เชื้อราชนิดนี้เกิดการปนเปื้อนมากขึ้นได้อีกด้วย
ลักษณะของข้าวโพดเมื่อเกิดเชื้อรา จะสามารถสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ได้จากกลุ่มของสปอร์สีเหลืองปนเขียว ซึ่งต่างจากเชื้อราชนิดอื่น เมื่อเกิดการแพร่ระบาด เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตที่ปลายของฝักข้าวโพด และจะเริ่มทำลายเมล็ดข้าวโพดที่กำลังเจริญเติบโต ซึ่งปกติแล้ว เชื้อราชนิดนี้จะเข้าทำลายเมล็ดข้าวโพดได้จากแผลเท่านั้น เช่น แผลที่เกิดจากการเก็บเกี่ยว ขนย้าย ขนส่ง และระหว่างเก็บ
วิธีการป้องกันสารพิษอะฟลาทอกซินในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันนั้น สามารถทำได้ตามวิธีการดังต่อไปนี้
1. เก็บเกี่ยวข้าวโพดเมื่อผลแก่จัดหรือหลังจากที่ใบข้าวโพดแห้ง เปลี่ยนเป็นสีฟางข้าวหมดทั้งแปลงและไม่ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังฝนตก
2. ลดความชื้นให้กับเมล็ดข้าวโพดด้วยการนำไปตากแดด 3-4 แดด บนพื้นคอนกรีตหรือใช้เครื่องลดความชื้น
3. การเก็บรักษาฝักข้าวโพดแบบมีเปลือกหุ้ม ค่าความชื้นในเมล็ดต่ำกว่าร้อยละ 23 จะไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซิน สามารถเก็บรักษาได้นาน 3-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการเกิดอาการของอะฟลาทอกซินในแต่ละปีด้วย
4. ควรปรับปรุงยุ้งเก็บข้าวโพด ให้มีอากาศถ่ายเทที่ดี ซึ่งช่วยยืดอายุการเก็บรักษา และยังช่วยลดการเกิดสารอะฟลาทอกซินได้
“เมื่อก่อนก็ไม่รู้หรอกนะว่าการเก็บเกี่ยวข้าวโพด มันสามารถปนเปื้อนเชื้อราได้ ซึ่งตอนนี้ก็เลยหันมาเก็บเกี่ยวข้าวโพดตอนแก่จัดเท่านั้น บางครั้งก็เอาไปตากแห้ง และที่สำคัญยุ้งข้าวโพดจะต้องโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งก็สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อราลงได้”
#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#อะฟลาทอกซิน
#เชื้อโรค
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
สารพิษอะฟลาทอกซิน เป็นปัญหาสำคัญในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะต่อการบริโภค และมีคุณภาพดีต่อการแปรรูปเป็นผลิตผลอื่นและการจำหน่าย
สารพิษอะฟลาทอกซินเกิดจากเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส หรือที่รู้จักกันในชื่อ ราเขียว ปัจจัยที่ทำให้เชื้อราเจริญและสร้างสารพิษได้นั้นคือ อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ซึ่งอยู่ในช่วง 10-40 องศาเซลเซียล ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศร้อยละ 70 ขึ้นไป พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนั้นวิธีเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรยังส่งผลให้เชื้อราชนิดนี้เกิดการปนเปื้อนมากขึ้นได้อีกด้วย
ลักษณะของข้าวโพดเมื่อเกิดเชื้อรา จะสามารถสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ได้จากกลุ่มของสปอร์สีเหลืองปนเขียว ซึ่งต่างจากเชื้อราชนิดอื่น เมื่อเกิดการแพร่ระบาด เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตที่ปลายของฝักข้าวโพด และจะเริ่มทำลายเมล็ดข้าวโพดที่กำลังเจริญเติบโต ซึ่งปกติแล้ว เชื้อราชนิดนี้จะเข้าทำลายเมล็ดข้าวโพดได้จากแผลเท่านั้น เช่น แผลที่เกิดจากการเก็บเกี่ยว ขนย้าย ขนส่ง และระหว่างเก็บ
วิธีการป้องกันสารพิษอะฟลาทอกซินในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันนั้น สามารถทำได้ตามวิธีการดังต่อไปนี้
1. เก็บเกี่ยวข้าวโพดเมื่อผลแก่จัดหรือหลังจากที่ใบข้าวโพดแห้ง เปลี่ยนเป็นสีฟางข้าวหมดทั้งแปลงและไม่ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังฝนตก
2. ลดความชื้นให้กับเมล็ดข้าวโพดด้วยการนำไปตากแดด 3-4 แดด บนพื้นคอนกรีตหรือใช้เครื่องลดความชื้น
3. การเก็บรักษาฝักข้าวโพดแบบมีเปลือกหุ้ม ค่าความชื้นในเมล็ดต่ำกว่าร้อยละ 23 จะไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซิน สามารถเก็บรักษาได้นาน 3-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการเกิดอาการของอะฟลาทอกซินในแต่ละปีด้วย
4. ควรปรับปรุงยุ้งเก็บข้าวโพด ให้มีอากาศถ่ายเทที่ดี ซึ่งช่วยยืดอายุการเก็บรักษา และยังช่วยลดการเกิดสารอะฟลาทอกซินได้
“เมื่อก่อนก็ไม่รู้หรอกนะว่าการเก็บเกี่ยวข้าวโพด มันสามารถปนเปื้อนเชื้อราได้ ซึ่งตอนนี้ก็เลยหันมาเก็บเกี่ยวข้าวโพดตอนแก่จัดเท่านั้น บางครั้งก็เอาไปตากแห้ง และที่สำคัญยุ้งข้าวโพดจะต้องโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งก็สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อราลงได้”
#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#อะฟลาทอกซิน
#เชื้อโรค
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.