รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนหนอนกระทู้ข้าวโพด
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
หนอนกระทู้ข้าวโพดเมื่อโตเต็มที่ยาว 35 ถึง 40 มิลลิเมตร ที่ส่วนด้านสันหลังลงมาด้านข้างเล็กน้อย มีเส้นสีนวลๆ ตามความยาวของลำตัว 3 เส้น ปากรูหายใจมีสีดำเห็นชัดเจน ทางด้านท้องของหนอนมีสีนวลปนเหลือง ขาที่ส่วนอกมีสีน้ำตาลแก่ ระยะของการเป็นตัวหนอนเฉลี่ย 26 วัน ก่อนเข้าดักแด้ที่โคนซอกกาบใบหรือในดิน
หนอนกระทู้ข้าวโพดจะระบาดทำลายข้าวโพดได้ตั้งแต่ข้าวโพดอายุ 20 วันจนข้าวโพดออกฝัก โดยจะกัดกินยอดและใบข้าวโพดจนแหว่งหรือกัดกินทั้งแผ่นใบ เหลือแต่ก้านใบ และจะหลบซ่อนอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบใบข้าวโพด
หากพบหนอนเข้าทำลายหนักจะทำให้ต้นข้าวโพดไม่เจริญเติบโต ฝักลีบเล็กไม่สมบูรณ์ ขายไม่ได้ราคา จะมีจุดสังเกตก็คือมูลหนอนที่ถ่ายออกมา ตกค้างอยู่ตามยอดและกาบใบ
เกษตรกรท่านใดที่มีศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงวันก้นขน แตนเบียน หรือ แมลงหางหนีบ คอยต่อสู้กับหนอนกระทู้ข้าวโพดอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกำจัด แต่ก็อย่าลืมสำรวจแปลงข้าวโพดอยู่เสมอ หากพบหนอนกระทู้ให้เก็บออกมาทำลาย และถ้าพบปริมาณหนอนกระทู้ข้าวโพดเฉลี่ย 3-4 ตัวต่อต้น หรือพบว่าใบถูกทำลายมากเกินไป ให้ใช้สารเคมีพ่นข้าวโพด โดยสารเคมีที่แนะนำได้แก่ คาร์บาริล 85 เปอร์เซ็นต์ wp เป็นสารเคมีชนิดผงละลายน้ำในอัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ เมทโทมิล 90% wp เป็นสารชนิดผงละลายน้ำในอัตรา 1.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เกษตรกรเลือกใช้เพียง 1 ชนิดโดยใน 1 ไร่ควรใช้สารเคมีที่ผสมแล้วในอัตรา 80 ลิตร เมื่อผสมเสร็จแล้วฉีดพ่นบริเวณที่พบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดได้ทันทีและควรฉีดพ่นสาร 2-3 ครั้งโดยมีช่วงห่าง 7 วันถึงจะฉีดได้อีกครั้ง
“ตอนหนอนกระทู้ระบาดหนักเสียหายมาก ต้องใช้วิธีเดินเก็บหนอนปล่อยให้แมลงกินกันเองตามธรรมชาติ ตอนระบาดมากต้องใช้ยาฉีดพ่นตามคำแนะนำทุกวันนี้นอนลดลงจนเห็นได้ชัด”
#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#หนอนกระทู้ข้าวโพด
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
หนอนกระทู้ข้าวโพดเมื่อโตเต็มที่ยาว 35 ถึง 40 มิลลิเมตร ที่ส่วนด้านสันหลังลงมาด้านข้างเล็กน้อย มีเส้นสีนวลๆ ตามความยาวของลำตัว 3 เส้น ปากรูหายใจมีสีดำเห็นชัดเจน ทางด้านท้องของหนอนมีสีนวลปนเหลือง ขาที่ส่วนอกมีสีน้ำตาลแก่ ระยะของการเป็นตัวหนอนเฉลี่ย 26 วัน ก่อนเข้าดักแด้ที่โคนซอกกาบใบหรือในดิน
หนอนกระทู้ข้าวโพดจะระบาดทำลายข้าวโพดได้ตั้งแต่ข้าวโพดอายุ 20 วันจนข้าวโพดออกฝัก โดยจะกัดกินยอดและใบข้าวโพดจนแหว่งหรือกัดกินทั้งแผ่นใบ เหลือแต่ก้านใบ และจะหลบซ่อนอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบใบข้าวโพด
หากพบหนอนเข้าทำลายหนักจะทำให้ต้นข้าวโพดไม่เจริญเติบโต ฝักลีบเล็กไม่สมบูรณ์ ขายไม่ได้ราคา จะมีจุดสังเกตก็คือมูลหนอนที่ถ่ายออกมา ตกค้างอยู่ตามยอดและกาบใบ
เกษตรกรท่านใดที่มีศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงวันก้นขน แตนเบียน หรือ แมลงหางหนีบ คอยต่อสู้กับหนอนกระทู้ข้าวโพดอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกำจัด แต่ก็อย่าลืมสำรวจแปลงข้าวโพดอยู่เสมอ หากพบหนอนกระทู้ให้เก็บออกมาทำลาย และถ้าพบปริมาณหนอนกระทู้ข้าวโพดเฉลี่ย 3-4 ตัวต่อต้น หรือพบว่าใบถูกทำลายมากเกินไป ให้ใช้สารเคมีพ่นข้าวโพด โดยสารเคมีที่แนะนำได้แก่ คาร์บาริล 85 เปอร์เซ็นต์ wp เป็นสารเคมีชนิดผงละลายน้ำในอัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ เมทโทมิล 90% wp เป็นสารชนิดผงละลายน้ำในอัตรา 1.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เกษตรกรเลือกใช้เพียง 1 ชนิดโดยใน 1 ไร่ควรใช้สารเคมีที่ผสมแล้วในอัตรา 80 ลิตร เมื่อผสมเสร็จแล้วฉีดพ่นบริเวณที่พบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดได้ทันทีและควรฉีดพ่นสาร 2-3 ครั้งโดยมีช่วงห่าง 7 วันถึงจะฉีดได้อีกครั้ง
“ตอนหนอนกระทู้ระบาดหนักเสียหายมาก ต้องใช้วิธีเดินเก็บหนอนปล่อยให้แมลงกินกันเองตามธรรมชาติ ตอนระบาดมากต้องใช้ยาฉีดพ่นตามคำแนะนำทุกวันนี้นอนลดลงจนเห็นได้ชัด”
#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#หนอนกระทู้ข้าวโพด
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.