วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคต้นเน่า | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคต้นเน่า

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคต้นเน่าเกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า ฟิวซาเรี่ยม โมนิลิฟอม พบการระบาดได้ทั่วไป ในทุกพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพด มักเกิดการระบาดในช่วงที่ข้าวโพดออกดอก และมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อข้าวโพดติดฝัก โดยอาการจะพบที่บริเวณราก และลำต้นส่วนล่าง ทำให้พืชตายก่อนที่จะแก่ ฝักเล็ก เมล็ดลีบ

เมื่อข้าวโพดเป็นโรคต้นเน่าจากเชื้อรา จะสังเกตเห็นได้ว่า ใบของต้นข้าวโพด จะเริ่มมีสีเขียวอมเทา และจะค่อยๆ ไหม้จนแห้งตาย ส่วนลำต้นส่วนล่างนั้น จะมีรอยแผลเป็นสีน้ำตาลอ่อน ถึงสีน้ำตาลเข้ม บริเวณแผลจะแห้งยุบตัวลง ลำต้นแตกหรือฉีกบริเวณเหนือดิน เมื่อผ่าดูจะพบเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุม

ในส่วนบริเวณแผลภายในลำต้น จะมีลักษณะเป็นสีชมพูหรือม่วง เชื้อราจะย่อยสลายลำต้นข้าวโพดจนภายในกลวง เมื่อถูกลมพัดลำต้นก็จะหักล้มได้ง่าย

การแพร่ระบาดของโรคต้นเน่าจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้จากการที่เชื้อราติดไปกับเมล็ดหรืออาศัยในดิน และเศษซากพืช อีกทั้งสามารถแพร่กระจายปนเปื้อนเมล็ดอื่นๆ ที่อยู่ในโรงเก็บได้อีกด้วย

สามารถเตรียมการป้องกันโรคต้นเน่าได้ดังต่อไปนี้

1. ควรเผาทำลายเศษซากข้าวโพดหลังฤดูเก็บเกี่ยวทันทีแล้ว แล้วปลูกพืชหมุนเวียนในแหล่งที่เคยมีการระบาด
2. เตรียมดินขึ้นร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำที่ดี และไม่ให้มีแอ่งน้ำขังและไม่ควรปลูกข้าวโพดให้แน่นจนเกินไป เพราะจะได้มีพื้นที่ในการระบายอากาศและความชื้น
3. ปลูกข้าวโพดพันธุ์ต้านทานโรคเช่น สุวรรณ 3583 สุวรรณ 4452 สุวรรณ 72 นครสวรรค์ 72 หรือ นครสวรรค์ 3 ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อมีการปะปนมาในแปลง

เกษตรกรควรนำเมล็ดพันธุ์พืชมาคลุกสารป้องกันกำจัดเชื้อราเช่น แมนโคแซป หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซบ ในอัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม

“สมัยก่อนปลูกข้าวโพดพันธุ์พื้นบ้าน เวลาฝนตกมาก็จะทำให้ต้นเน่า ต้นไม่ดี ไม่มีการต้นทานโรค แต่ในสมัยนี้ต้นพันธุ์จะแข็งแรง มีการคลุกยา คลุกสารกำจัดเชื้อรามา ต้นจะแข็งแรง ไม่มีโรคเกิดขึ้น”

#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#โรคต้นเน่า
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.