วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคราเขม่าดำ | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคราเขม่าดำ | สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคราเขม่าดำ

โรคราเขม่าดำหรือชื่อทางการเรียกว่า โรคสมัต เกิดจากเชื่อราที่มีชื่อว่า อัสทิลลาโก เมย์ดิส จะสร้างสปอร์ที่มีสีดำลอบเข้าทำลายพืช โดยเข้าไปทางปากใบ หรือบาดแผลของต้นข้าวโพด เมื่อข้าวโพดเป็นโรคราเขม่าดำ จะสังเกตเห็นได้ว่าในส่วนต่างๆ ของข้าวโพดที่อยู่เหนือดิน ได้แก่ ส่วนของลำต้น ใบ ฝัก และเกสรตัวผู้ จะมีการสร้างปมจากเชื้อรา ซึ่งในตอนแรกจะมีขนาดใหญ่สีขาว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 1 นิ้ว

เมื่อผนังที่หุ้มปมแก่ก็จะแตกออก โดยที่ภายในจะมีสปอร์เป็นผงสีดำ หลังจากนั้นสปอร์จะแพร่กระจายไปโดยลม ฝน แหล่งน้ำ แมลงและสัตว์ เพื่อรอแพร่ระบาดในฤดูต่อไป ซึ่งเชื้อราชนิดนี้สามารถอยู่ได้นานนับปี โดยอาศัยอยู่ในปมของเชื้อราบนต้นข้าวโพดและดิน

การป้องกันและกำจัดโรคราเขม่าดำ สามารถทำควบคู่กันไปดังนี้

1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 หรือ พันธุ์สุวรรณ 2 หรือพันธุ์สุวรรณ 4452
2. หมั่นตรวจดูไร่ หากพบกับข้าวโพดแสดงอาการ ให้รีบเก็บปมไปเผาทำลาย ก่อนที่ปมของเชื้อราจะแตกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ
3. ในพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียนแทนข้าวโพดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี
4. ในแหล่งที่ไม่เคยปลูกข้าวโพดมาก่อน ควรคลุกเมล็ดด้วยสารฆ่าเชื้อรา เช่น ไตรอะดิมีฟอน 25% wp 3 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
5. ในกรณีที่พบการระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อรา ได้แก่ ไซเนป 50 % ไทแรม 50% ไดไนโตร เดนเบนโซน 15 % อย่างใดอย่างหนึ่งในอัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้ควรพ่นเมื่อข้าวโพดมีใบประมาณ 5 ใบ และฉีดพ่นพริเวณที่แสดงอาการ โดยพ่นซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน จะช่วยกำจัดโรคได้ แต่ควรฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 1-2 สัปดาห์

“สมัยก่อนไม่ได้สังเกตอะไรเลย ผลผลิตออกมาก็ไม่ได้เต็มที่ มารู้ทีหลังว่าเป็นโรคสมัต ก็หันไปหาเมล็ดพันธุ์ที่ดีและคลุกยาที่ป้องกันโรค หลังจากนั้นก็ไม่เจอโรคนี้เลย ก็ได้ผลผลิตดีมากขึ้น”

#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#โรคราเขม่าดำ
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.
สวก.