วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคราน้ำค้าง | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนโรคราน้ำค้าง

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พืชสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกชนิดหนึ่ง และโรคราน้ำค้างก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่มีปัญหาต่อเกษตรกร โดยมีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา เพอโรโนสเทอโรส สปอราซอไจ เข้าทำลายข้าวโพดตั้งแต่ตอนที่เป็นต้นกล้า ไปจนถึงออกดอก

ลักษณะอาการของโรคนี้แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
– ระยะแรก ตอนที่ยังเป็นต้นกล้าจะมีจุดสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ขนาด 1-2 มิลลิเมตร บนใบเลี้ยงและใบจริง หลังจากนั้นจะค่อยๆขยายขึ้นและลามไปที่ฐานใบ
– ระยะที่ 2 ใบอ่อนที่ผลิออกมาใหม่จะถูกทำลายจากเชื้อ

โรคราน้ำค้างที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีวิธีป้องกันและกำจัดโดยทำควบคู่กันไป
ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ตากแห้งมาทำพันธุ์ จะสามารถป้องกันโรคนี้ได้
1. ใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรคสูง คือ พันธุ์นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ 5 และสุวรรณ 3601
2. ใช้สารเคมี เมตตาแลกซิล 25% สารเคมีชนิดผงในอัตรา 7 กรัมหรือประมาณ 1 ช้อนชาครึ่ง ต่อน้ำหนักของเมล็ด 1 กิโลกรัม คลุกกับเมล็ดก่อนปลูก

เกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดกำลังทุกข์ใจว่าพวกของตนเองกำลังเกิดโรคราน้ำค้างนี้อยู่ ลองเอาวิธีนี้ไปปฏิบัติตามกันได้

โรคราน้ำค้างทำให้ใบลายทางต้น คิดว่าจะไม่รุนแรง แต่กลับรุนแรงมาก ผลผลิตก็ได้ลดลง แต่พอได้รับคำแนะนำซื้อสารเคมีมาคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ทำให้ไม่พบโรคและผลผลิตดีขึ้น

#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#โรคราน้ำค้าง
#ศัตรูพืช
#โรคพืช
#วิจัย
#สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนหนอนเจาะลำต้น | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนหนอนเจาะลำต้น

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดมานานหลายปี หรือในแหล่งที่มีการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง เพราะยาฆ่าแมลงได้ทำลายแมลงที่เป็นศัตรูของพืชด้านทางธรรมชาติ เช่นแตนเบียนไข่ ที่คอยทำลายหนอนเจาะลำต้น

ตัวโตเต็มวัยของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเป็นผีเสื้อกลางคืนแต่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ข้าวโพดมากเท่ากับระยะของตัวหนอน

ขนาดตัวหนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีขาวนวลอมชมพูและมีจุดตามตัว อาการที่เห็นได้ชัดเมื่อมีหนอนเจาะลำต้นเข้าทำลายคือ ข้าวโพดจะหักลงได้ง่ายเมื่อมีลมพัดแรง ลำต้นถูกเจาะเป็นรู หนอนที่ฟักออกจากไข่ในระยะแรก จะเริ่มกัดกินใบที่ม้วนอยู่ หากหนอนระบาดในช่วงที่ข้าวโพดกำลังออกเกสร ตัวผู้ก็จะอาศัยติดอยู่ที่ช่อดอกทำให้ช่อดอกไม่คลี่ออก ต่อมาจึงจะเข้าลำต้นด้านบริเวณก้านใบหรือข้อ และโคนฝากด้วยจะกัดกินเป็นรูย้อนขึ้นด้านบน และในแหล่งที่มีการระบาดมากจะเจาะกินฝักด้วย

สำหรับในไร่ที่มีหนอนเจาะเข้าทำลายโดยเฉลี่ย 3-6 รูต่อต้น จะทำให้ผลผลิตลดลง 10-40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้จะพบการระบาดของหนอนในช่วงปลายฤดูฝน มากกว่าต้นฤดูฝน

การป้องกันและกำจัดหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดตามธรรมชาติแล้วจะมีแมลงบางชนิดที่คอยควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ให้มีปริมาณลดลง ซึ่งได้แก่ แตนเบียนในวงไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ แมลงช้าง และ แมงมุม

ถ้าหากไม่เกิดการระบาดที่รุนแรงจริงๆไม่ควรจำเป็นใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันและกำจัด เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นที่ปลายฝักหรือส่วนของลำต้น ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตมากนัก
อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2 วิธีคือ

1. เลือกพันธุ์ข้าวโพดที่ค่อนข้างจะต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้น พันธุ์สุวรรณ 1 พันธุ์สุวรรณ 2 พันธุ์สุวรรณ 4452
2. หากพบการแพร่ระบาดรุนแรงโดยสังเกตจากพบกลุ่มไข่ผีเสื้อประมาณ 15 กลุ่มต่อ 100 ต้น อายุข้าวโพดประมาณ 30-40 วัน หรือถ้าพบหรือทำลายที่ลำต้น 2 รูต่อต้นจึงค่อยเริ่มใช้สารฆ่าแมลง ช่วยป้องกันกำจัด โดยใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งได้แก่ ไตรฟลูมูรอน ชนิดเป็นผงละลายน้ำในอัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร หรือ เทฟลูเบนฟูรอน เป็นสารละลายน้ำมันในอัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคลอฟลูอาซูรอน ในอัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร

ใน 1 ไร่เกษตรกรควรใช้สารเคมีที่ผสมน้ำแล้วใรอัตตราเพียง 80 ลิตร เมื่อผสมเสร็จแล้วควรฉีดพ่นบริเวณที่พบการเข้าทำลายคือพบการระบาดของหนอนเจาะลำต้นได้ทันที และควรฉีดพ่นสาร 2-3 ครั้งโดยทิ้งช่วงห่าง 7 วันถึงจะฉีดได้อีกครั้ง

ควรใช้ในระยะหนอนที่ยังเล็กอยู่จึงจะได้ผลดีที่สุดและไม่ควรใช้สารเคมีชนิดเดิมติดต่อกันเกิน 2 ครั้งเพราะจะทำให้เกิดการดื้อยาได้

#ข้าวโพด
#หนอนเจาะลำต้น
#โรคพืช
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.