วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนหนอนเจาะฝัก | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตอนหนอนเจาะฝัก

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

หนอนเจาะฝักข้าวโพด ศัตรูพืชที่มาทำลายผลผลิตของเกษตรกร หนอนเจาะฝักข้าวโพดมีขนาด 3-4 เซนติเมตร ลำตัวของหนอนมีขนขึ้นประปราย ลายที่พาดยาวตามตัวเห็นได้ชัด สีตัวหนอนมีหลายสี จากสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีค่อนข้างดำ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม มักเกาะอยู่ปลายฝักข้าวโพดฝักละ 1 ตัว เมื่อหนอนกัดกินปลาฝักหมดแล้ว ก็จะเปลี่ยนไปกินปลายฝักอื่นๆ ต่อไป

หนอนเจาะฝักข้าวโพดเข้าทำลายตั้งแต่ระยะยังไม่ออกดอก จนถึงระยะข้าวโพดเป็นฝักโดยเข้ากัดกินไหม แล้วเจาะเข้าไปที่ปลายฝัก ถ้าหนอนเจาะฝักระบาดในระยะที่ฝักไม่ได้ผสมเกสรเต็มที่ ก็จะทำให้ฝักติดเมล็ดไม่สมบูรณ์ เกิดเป็นข้าวโพดฟันหลอขึ้น

ในธรรมชาติมีแมลงศัตรูที่คอยทำลายไข่ของหนอนเจาะฝัก แต่หากหนอนระบาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อผลผลิต ก็จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง และควรใช้กำจัดในช่วงที่หนอนยังเล็กอยู่จึงจะได้ผลดี

สารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลดีมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งได้แก่
1. ฟิโพรนิล 5% สารเคมีชนิดน้ำในอัตรา 20 มิลลิลิตร หรือประมาณ 4 ช้อนชา ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
2. ไบเฟนทริน 10% สารเคมีชนิดน้ำมันในอัตรา 30 มิลลิลิตร หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ฟลูเฟนนอกซูรอน 5% สารเคมีชนิดน้ำมันใช้อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือประมาณ 4 ช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร

น้ำยาที่ผสมแล้ว 60 ลิตร สามารถใช้ได้กับพื้นที่ปลูกข้าวโพด 1 ไร่

เคยมีช่วงหนึ่งที่หนอนเจาะข้าวโพดระบาดมากและข้าวโพดก็เสียหายหนักมากและฝักก็ไม่สมบูรณ์ ตอนแรกก็ใช้วิธีเดินเก็บเอาหนอนออก ปล่อยให้แมลงกินกันเองบ้าง แต่หลังจากที่ระบาดหนักขึ้นจึงใช้สารเคมีฉีดพ่นตามคำแนะนำจึงช่วยได้

#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#หนอนเจาะฝัก
#ศัตรูพืช
#โรคพืช
#วิจัย