วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องปาล์มน้ำมัน ตอนโรคทะลายเน่า | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องปาล์มน้ำมัน ตอนโรคทะลายเน่า

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคทะลายเน่าเกิดจากเชื้อรามาราสมีอัส ปามมิโวรัส หรือรู้จักกันทั่วไปว่า ราเห็ด โดยราชนิดนี้ แพร่ระบาดโดยการอาศัยลมและแมลง เมื่อเชื้อราเข้าทำลายปาล์มน้ำมันจะทำให้ต้นทรุดโทรม ใบเหลืองซีดกว่าต้นปกติ ทางใบจะค่อยๆแห้งตายสร้างความเสียหายแก่สวนปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก

ต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคทะลายเน่าในระยะแรกจะพบเส้นใยสีขาวบนทะลาย เส้นใยจะเจริญอยู่บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มน้ำมัน และโคนทะลายส่วนที่ติดทางใบ ต่อมาเส้นใยจะขึ้นปกคลุมทั้งทะลาย และจะเริ่มเข้าทำลายในส่วนของผล ทำให้ผลเกิดอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล และหากทะลายที่แสดงอาการยังติดอยู่บนต้น ผลปาล์มจะค่อยๆเน่าแห้งเชื้อราชนิดอื่นๆก็จะตามเข้ามาทำลาย หากไม่รีบทำลายทะลายที่เน่า เชื้อราจะแพร่กระจายไปยังทะลายและส่วนอื่นๆ ของต้นปาล์มน้ำมันในบริเวณใกล้เคียงในบริเวณใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว

เชื้อราชนิดนี้จะไม่เป็นอันตรายต้นปาล์มที่มีชีวิตจนกว่าเชื้อจะมีปริมาณมากพอที่จะเข้าทำลายปาล์มได้ ดังนั้นวิธีป้องกันกำจัดที่ดีที่สุดคือการเขตกรรม ซึ่งสามารถทำควบคู่กันได้ตามวิธีดังนี้

1.กำจัดผลปาล์มหรือทะลายปาล์มที่เป็นโรคออกจากแปลง รวมทั้งควรเก็บทะลายปาล์มที่มีการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ออกให้หมด
2.ช่วงที่ต้นปาล์มกำลังให้ผลในระยะแรกถ้ามีทะลายปาล์มจำนวนมากควรลดจำนวน โดยการตัดช่อดอกหรือถ้าทะลายทิ้งบางส่วน
3.ควรหลีกเลี่ยงการใช้เศษพืชคลุมดิน เพราะอาจเป็นที่พักตัวของเชื้อได้
4.ควรตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลง จะเป็นการลดความชื้นที่ก้านทางใบ

“โรคทะลายปาล์มเน่าสามารถแพร่ระบาดไปทะลายอื่นได้เร็วมาก แต่เดี๋ยวนี้กำจัดทะลายปาล์มที่เป็นโรคออกและตัดแต่งช่อดอกก็ไม่พบทะลายปาล์มเน่าอีกเลย”

#ปาล์มน้ำมัน
#โรคทะลายเน่า
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.