วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องปาล์มน้ำมัน ตอนด้วงแรด | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องปาล์มน้ำมัน ตอนด้วงแรด

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

หากพูดถึงศัตรูตัวร้ายที่สร้างความเสียหายต่อปาล์มน้ำมันแล้ว ด้วงแรดคงอยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นแมลงที่พบได้ทั่วไปในแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน

ด้วงแรดมีปีกแข็งสีดำลำตัวมันวาว ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง มีขนาดกว้าง 20-23 มิลลิเมตร ยาว 30-52 มิลลิเมตร สามารถแยกเพศได้ โดยตัวโตเต็มวัยเพศผู้ ส่วนหัวมีเขาลักษณะคล้ายเขาแรดยาวโค้งไปทางด้านหลังเล็กน้อย เพศเมียมีเขาสั้นกว่า และบริเวณทองปล้องสุดท้ายของเพศเมียมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่นกว่าเพศผู้

แหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรกนั้นได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้น และทะลายปาล์มน้ำมัน กองมูลสัตว์เก่า และกองปุ๋ยต่างๆ โดยด้วงแรดที่โตเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืชทำลายและจะกินยอดอ่อนของใบปาล์มน้ำมัน ทำให้ใบที่เกิดใหม่ของปาล์มน้ำมันไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลาหรือรูปพัด

การกำจัดด้วงแรดสามารถกำจัดได้หลายวิธี แต่วิธีการที่ปลอดภัยไม่มีพิษตกค้างและได้ผลดีในระยะยาวคือการใช้ราเขียวซึ่งคือเชื้อ เมธาไรเซี่ยม แอนนิโซพราย เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง

การนำราเขียวไปใช้ในสวนปาล์มน้ำมันสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมกองล่อขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร ลึก 0.5 เมตร วัสดุที่ใช้คือ ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ขี้วัว แกลบ และเศษหญ้า ในอัตราส่วนที่เท่ากันผสมคลุกรวมกัน เพื่อล่อให้ตัวเต็มวัยมาผสมพันธุ์และวางไข่ การทำกองล่อควรมี 4 กองต่อพื้นที่ปลูก 10 ไร่
2. รดน้ำกองล่อให้ชุ่มแต่ไม่แฉะเกินไป ทิ้งไว้จนวัสดุในกองสลายตัว และอุณหภูมิในภายในกองเย็นลงจึงนำราเขียวไปโรยในกองล่อในอัตรา 200 – 400 กรัมต่อกอง
3. เมื่อด้วงแรกมาวางไข่ในกองล่อ ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะติดราเขียว ในระยะนี้จะต้องควบคุมกองล่อให้มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ราเขียวสามารถงอกและเจริญเติบโตได้

ราเขียวในกองล่อจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนด้วงแรดได้นานประมาณ 6-12 เดือน

“ตอนแรกก็ไม่เชื่อว่าราเขียวจะช่วยกำจัดด้วงแรดได้แต่พอใช้จริงๆราเขียวก็ทำลายดวงแรกจนหมด ไม่มีด้วงแรดคอยกัดกินยอดเลยครับ”

#ปาล์มน้ำมัน
#ด้วงแรด
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.