วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องปาล์มน้ำมัน ตอนโรคลำต้นเน่า | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องปาล์มน้ำมัน ตอนโรคลำต้นเน่า5

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคลำต้นเน่าเกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า กาโอเดอร์ม่า ซึ่งเป็นเชื้อราที่อยู่ในกลุ่ม ราเห็ด ปัจจุบันพบว่าโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันนั้น เริ่มมีการระบาดอย่างหนักในทุกพื้นที่ โดยเชื้อราจะเข้าทำลายที่ราก เข้าสู่โคนต้น แล้วโรคนี้มักพบในช่วงที่ต้นปาล์มน้ำมันมีอายุมากกว่า 10- 15 ปีขึ้นไป

อาการภายนอกที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนคือใบมีสีซีดจางกว่าปกติ ทางใบแก่ล่างหักห้อยอยู่รอบๆลำต้น เมื่ออาการปรากฏให้เห็นที่ใบ แสดงว่าบริเวณโคนต้นถูกเชื้อราเข้าทำลายแล้วอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นต้นจะตายและหักล้มลงภายใน 6-12 เดือน ส่วนอาการภายในลำต้น เมื่อตัดต้นที่เป็นโรคตามขวางจะเห็นเนื้อเยื่อบริเวณที่เน่าเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีน้ำตาลเข้ม รูปร่างไม่แน่นอนเกิดสลับกันอยู่

จุดสังเกตที่ทำที่ทำให้รู้ว่าต้นปาล์มเป็นโรคนี้คือจะพบดอกเห็ดที่บริเวณโคนต้น ดอกอ่อนจะมีสีขาวขนาดเล็ก ต่อมาเมื่อดอกเห็ดแก่จะโตขึ้น และมีสีน้ำตาลแดงขอบสีขาว ผิวด้านบนเรียบเป็นมัน คล้ายทาด้วยแลคเกอร์

วิธีการป้องกันกำจัด

1. ขุดหลุมรอบๆ ต้นปาล์มที่เป็นโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นปกติ โดยการสัมผัสกันของราก
2. เก็บดอกเห็ดที่เชื้อเห็ดสร้างออกมาทำลาย
3. ตรวจสอบต้นที่เป็นโรค โดยใช้ไม้เคาะลำต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อฟังเสียงในบริเวณที่ถูกทำลายและถากส่วนที่เป็นโรคออก
4. หลังจากถากที่เอาส่วนที่เป็นโรคออกหมดแล้ว ทาหรือฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคเช่น ไทแรม 75% wp อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 ถึง 7 วันในช่วงที่มีการระบาดรุนแรง
5. เมื่อมีการปลูกทดแทนควรกำจัดตอปาล์มเก่าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

“เมื่อก่อนไม่รู้ว่าต้นปาล์มที่เป็นโรคเน่าปล่อยทิ้งไว้จนลามไปต้นอื่น แต่ตอนนี้ดีขึ้นเพราะรู้จักวิธีป้องกัน ถ้าเห็นต้นไหนผิดปกติก็รีบตัดทิ้งควบคุมโรคก่อนที่จะลามไปต้นอื่น”

#ปาล์มน้ำมัน
#โรคลำต้นเน่า
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.