วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมะม่วง ตอนเพลี้ยจักจั่น | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมะม่วง ตอนเพลี้ยจักจั่น

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

ช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอก มักพบการระบาดของเพลี้ยจักจั่นในช่อมะม่วง ลักษณะของเพลี้ยจักจั่น ลำตัวมีสีเทาปนดำ หัวโตและป้าน ส่วนลำตัวเรียวแหลมขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร 4 มิลลิเมตรและ 3.5 มิลลิเมตร ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและช่อดอก เพลี้ยจักจั่นดูดดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก แล้วขับถ่ายออกมาเป็นน้ำหวานเหนียวเยิ้มจับบนใบหรือช่อดอก ซึ่งต่อมาจะทำให้เกิดเป็นโรคราดำที่ช่อดอก ผลของโรคถ้ารุนแรงมากจะทำให้ช่อดอกร่วง ผลร่วง จนกระทั่งมะม่วงติดผลน้อยหรือไม่ติดเลยก็ได้

การป้องกันและกำจัดเพลี้ยจักจั่น สามารถทำได้ตั้งแต่ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก และสามารถทำทุกวิธีควบคู่กันไป เริ่มตั้งแต่

1. ฉีดน้ำเพื่อล้างช่อดอกและใบเพื่อช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากเชื้อราได้บ้าง ฉีดน้ำแรงพอจะช่วยให้เพลี้ยจักจั่นและมูลของมันหลุดออกได้ ข้อสำคัญไม่ควรฉีดน้ำแรงในช่วงที่ติดผลอ่อน อาจทำให้ผลร่วงได้
2. ใช้ควันไล่ เพื่อให้เพลี้ยจักจั่นหนีไป ด้วยการสุมควันที่ต้นมะม่วง ให้มีควันมากๆ
3. ใช้กาวเหนียวสำหรับดักแมลง ทาขวดน้ำพลาสติก หรือแผ่นพลาสติกสีเหลือง ไว้บริเวณใต้พุ่มต้นมะม่วงหลายๆจุด เพื่อดักและไล่เพลี้ยจักจั่น จากนั้นควรฉีดสารฆ่าแมลงป้องกันการเข้าทำลายจากเพลี้ยจักจั่น คือ เซฟวิน 85% สารเคมีชนิดผง ใช้อัตรา 60 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง และอีกครั้งเมื่อเริ่มแทงช่อดอก หากพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมากกว่า 5 ตัวต่อช่อ ควรพ่นอีก 1-2 ในระยะดอกตูมและก่อนออกดอกบาน

ถ้าระบาดรุนแรง สังเกตจากจำนวนแมลงที่พบและคราบราดำที่เกิดขึ้นตามใบ ควรเปลี่ยนสารเคมีเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง

1. ไซเพอร์เมทริน 10% สารเคมีชนิดน้ำมันอัตรา 10 มิลลิลิตร หรือประมาณ 2 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร
2. แลมป์ดา ไซฮาโลทริน 2.5 % สารเคมีชนิดน้ำมันอัตรา 7 มิลลิลิตร หรือประมาณ 1 ช้อนชาครึ่งต่อน้ำ 20 ลิตร

ข้อควรระวังเมื่อช่อดอกบานแล้วไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทุกชนิด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร สุดท้ายตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวให้โปร่ง เพื่อลดแหล่งหลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่น ศัตรูที่น่ากลัวของช่อดอกมะม่วง

“เวลาเพลี้ยจักจั่นมันระบาด เวลาเราเดินไปจะได้ยินเสียงดังก๊อกๆ แก๊กๆ เข้าหูเข้าตาด้วย เวลาสังเกตุที่ต้นมันก็จะมีใบเป็นมันๆ ถ้าเป็นสวนเล็กๆ แนะนำใช้นำฉีด หรือว่าใช้ควันไล่ หรือใช้กับดักกาวเหนียวพวกนี้ก็ใช้ได้ ถ้าเป็นสวนใหญ่เพื่อความรวดเร็วต้องใช้สารเคมีเท่านั้น”

เพลี้ยจักจั่นถือว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรชาวสวนมะม่วงต้องพบเจอ และทำความเดือดร้อนให้ไม่น้อยหากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วในสวนมะม่วงของท่านเองก็จะปราศจากเพลี้ยจักจั่นอย่างแน่นอน

#มะม่วง
#เพลี้ยจักจั่น
#แมลง
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.