รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมะม่วง ตอน หนอนเจาะลำต้น
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
หนอนเจาะลำต้นเป็นหนอนของด้วงปีกแข็ง ร้ายแรงถึงขั้นลำต้นหรือกิ่งมะม่วงตายได้ ลักษณะของตัวหนอนสังเกตได้จาก หัวสีน้ำตาล ลำตัวมีสีขาวยาว ไม่มีขา ตัวเต็มวัยมีหนามแหลมอยู่ที่ด้านข้างของอกและไหล่
การเข้าทำลายจะเริ่มโดยตัวหนอนมาวางไข่บริเวณเปลือกหรือบริเวณที่แตกของลำต้นมะม่วง หลังจากนั้นตัวหนอนจะกัดกินเนื้อไม้เข้าไปในต้นหรือกิ่ง และจะสร้างขุยปิดรูที่มันเจาะเข้าไป ซึ่งถ้าระบาดมากๆ อาจทำให้ต้นหรือกิ่งตายได้ และต้นมะม่วงที่พบการระบาดของหนอนเจาะลำต้นนี้ ก็มักเป็นต้นมะม่วงที่เป็นโรคยางไหล หรือเริ่มทรุดโทรมจากสาเหตุอื่นๆ นั่นก็เท่ากับว่าจะดึงดูดให้ด้วงของหนอนเจาะลำต้นมาวางไข่ ซึ่งทำให้ต้นที่เริ่มทรุดโทรม ตายเร็วมากยิ่งขึ้นไปด้วย
วิธีแก้ไขและป้องกัน
1. ป้องกันไม่ให้ด้วงชนิดนี้มาวางไข่ที่เปลือกของลำต้น โดยการทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นและลำต้นข้อ
2. ระวังอย่าทำให้ลำต้นมีรอยแผลจะได้ไม่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง และมีการฉีดยาฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ร่วงไม่มีโอกาสวางไข่ หากพบรอยแผลหรือรอยแตกของเปลือกไม้ ให้พ่นสารชนิดที่มีกลิ่นและเป็นสารดูดซึมเคลือบเปลือกลำต้น เช่น อิมิดาโคนพริค 10% SL เป็นสารชนิดของเหลวผสมน้ำใน อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซทามิพริด 20% sp เป็นผงละลายน้ำในอัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีโทแซม 25% wg เป็นเม็ดละลายน้ำในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้อัตราน้ำ 5 ลิตรต่อ 1 ต้น พ่นให้โชกเฉพาะลำต้นลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน แต่ในแหล่งที่มีการระบาดรุนแรงอาจต้องพ่นสารทุกๆ 3 เดือน
3. ถ้าหากพบว่ามีตัวหนอนกัดกินเข้าไปข้างในแล้ว กำลังสร้างขุยปิดปากกูอยู่สามารถใช้เหล็กแหลมเขี่ยออกมาทำลายได้
4. ถ้าตัวหนอนเข้าไปจนลึกแล้วก็ยังมีวิธีอยู่ให้ใช้ยาฉีดยุงแบบสเปรย์ ฉีดเข้าไปในรู แล้วอุดรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมัน หรือสารเคมีชนิดฟุ้งกระจาย เช่น ฟูมิแก๊ส พ่นเข้าไปตามรูเพื่อให้สารเคมีระเหยไปฆ่าตัวหนอนจะทำให้ตัวหนอนตายทันที
“เมื่อก่อนหน้านี้ต้นมะม่วงก็โดนหนอนเจาะเข้าทำลายตอนต้น ทำให้ผลผลิตเสียหายเยอะ แต่ถ้าเราตัดแต่งกิ่งและทำความสะอาดบ่อยๆและใช้สารเคมีทุกวันหนอนก็มีปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ”
#มะม่วง
#หนอนเจาะลำต้น
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
หนอนเจาะลำต้นเป็นหนอนของด้วงปีกแข็ง ร้ายแรงถึงขั้นลำต้นหรือกิ่งมะม่วงตายได้ ลักษณะของตัวหนอนสังเกตได้จาก หัวสีน้ำตาล ลำตัวมีสีขาวยาว ไม่มีขา ตัวเต็มวัยมีหนามแหลมอยู่ที่ด้านข้างของอกและไหล่
การเข้าทำลายจะเริ่มโดยตัวหนอนมาวางไข่บริเวณเปลือกหรือบริเวณที่แตกของลำต้นมะม่วง หลังจากนั้นตัวหนอนจะกัดกินเนื้อไม้เข้าไปในต้นหรือกิ่ง และจะสร้างขุยปิดรูที่มันเจาะเข้าไป ซึ่งถ้าระบาดมากๆ อาจทำให้ต้นหรือกิ่งตายได้ และต้นมะม่วงที่พบการระบาดของหนอนเจาะลำต้นนี้ ก็มักเป็นต้นมะม่วงที่เป็นโรคยางไหล หรือเริ่มทรุดโทรมจากสาเหตุอื่นๆ นั่นก็เท่ากับว่าจะดึงดูดให้ด้วงของหนอนเจาะลำต้นมาวางไข่ ซึ่งทำให้ต้นที่เริ่มทรุดโทรม ตายเร็วมากยิ่งขึ้นไปด้วย
วิธีแก้ไขและป้องกัน
1. ป้องกันไม่ให้ด้วงชนิดนี้มาวางไข่ที่เปลือกของลำต้น โดยการทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นและลำต้นข้อ
2. ระวังอย่าทำให้ลำต้นมีรอยแผลจะได้ไม่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง และมีการฉีดยาฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ร่วงไม่มีโอกาสวางไข่ หากพบรอยแผลหรือรอยแตกของเปลือกไม้ ให้พ่นสารชนิดที่มีกลิ่นและเป็นสารดูดซึมเคลือบเปลือกลำต้น เช่น อิมิดาโคนพริค 10% SL เป็นสารชนิดของเหลวผสมน้ำใน อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซทามิพริด 20% sp เป็นผงละลายน้ำในอัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีโทแซม 25% wg เป็นเม็ดละลายน้ำในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้อัตราน้ำ 5 ลิตรต่อ 1 ต้น พ่นให้โชกเฉพาะลำต้นลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน แต่ในแหล่งที่มีการระบาดรุนแรงอาจต้องพ่นสารทุกๆ 3 เดือน
3. ถ้าหากพบว่ามีตัวหนอนกัดกินเข้าไปข้างในแล้ว กำลังสร้างขุยปิดปากกูอยู่สามารถใช้เหล็กแหลมเขี่ยออกมาทำลายได้
4. ถ้าตัวหนอนเข้าไปจนลึกแล้วก็ยังมีวิธีอยู่ให้ใช้ยาฉีดยุงแบบสเปรย์ ฉีดเข้าไปในรู แล้วอุดรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมัน หรือสารเคมีชนิดฟุ้งกระจาย เช่น ฟูมิแก๊ส พ่นเข้าไปตามรูเพื่อให้สารเคมีระเหยไปฆ่าตัวหนอนจะทำให้ตัวหนอนตายทันที
“เมื่อก่อนหน้านี้ต้นมะม่วงก็โดนหนอนเจาะเข้าทำลายตอนต้น ทำให้ผลผลิตเสียหายเยอะ แต่ถ้าเราตัดแต่งกิ่งและทำความสะอาดบ่อยๆและใช้สารเคมีทุกวันหนอนก็มีปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ”
#มะม่วง
#หนอนเจาะลำต้น
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.