วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมะม่วง ตอนโรคแอนแทรคโนส | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมะม่วง ตอนโรคแอนแทรคโนส

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคแอนแทรคโนสเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในมะม่วง ซึ่งโรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง เชื้อรามีการทำลายแบบแฝง ในช่วงที่ผลมะม่วงเริ่มโต เชื้อจะอยู่ในระยะพักตัว ต่อมาเมื่อผลใกล้สุก เชื้อจะเริ่มพัฒนาใหม่และทำลายผลมะม่วง ก่อให้เกิดผลเน่าเสีย ในบางสวนพบความเสียหายที่เกิดจากโรคนี้สูงถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ พบมากเมื่อมะม่วงสุกแก่เต็มที่

การป้องกันควบคุมโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงมีวิธีง่ายๆ คือ

– หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้ว ควรกำจัดเศษกิ่ง ก้านและใบ ออกจากแปลงเพาะปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของโรค จากนั้นฉีดพ่นสารเคมี คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ เพื่อทำความสะอาดต้น แล้วบำรุงด้วยการใส่ปุ๋ย
– ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสารดูดซึมและสัมผัส สารดูดซึมเป็นสารที่เมื่อฉีดพ่นแล้ว จะดูดซึมสารอยู่ภายในต้นและป้องกันเชื้อราจากโรคแอนแทรคโนสได้ระยะหนึ่ง สารสัมผัสเป็นสารที่ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค การออกฤทธิ์ของสารชนิดนี้ จะออกฤทธิ์เฉพาะตอนฉีดพ่นสารเท่านั้น โดยทั้งสองสารชนิดนี้จะฉีดพ่นสลับกันทุก 2 สัปดาห์ จนกระทั่งมะม่วงถึงระยะห่อผล ให้งดการพ่นสารเคมี แต่ถ้ามีฝนตกชุกติดต่อกัน หรือมีหมอกจัด ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเพิ่มเติม โดยเลือกประเภทสารดูดซึม ร่วมกับสารจับใบ แล้วพ่นให้สารเคลือบผิวพืชไว้ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง

“ปัญหาเรื่องทำมะม่วง ปัญหาใหญ่คือโรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่มีมานานแล้ว เวลาออกดอกต้องพ่นยาคุมยาให้ดี ถ้าไม่คุมยาพ่นยาจะทำให้ดอกเน่าเสีย ไม่ติดผล เราคุมยาพ่นยา ต้องควบคุมตั้งแต่ระยะออกดอก ผลอ่อน ไปจนกระทั่งผลโต โตเท่าไข่ไก่ เราห่อเสร็จถึงจะไม่ต้องคุม”

การจัดระบบสวนมะม่วงด้วยการตัดแต่งกิ่ง การทำความสะอาดบริเวณโคนต้นและฉีดพ่นสาร เป็นวิธีที่เกษตรกรจะป้องกันเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคโรคแอนแทรคโนสที่ได้ผลดีทีเดียว

#มะม่วง
#โรคแอนแทรคโนส
#โรคพืช
#วิจัย
#สวก.