รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมะม่วง ตอนเพลี้ยไฟ
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง ขอบปีกมีขนเป็นแผง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟนั้นจะใช้ปากเจาะและดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช บริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วง โดยเฉพาะฐานรองดอกและขั้วผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงลง
หากระบาดไม่รุนแรงจะปรากฏแผลชัดเจน เป็นวงที่ขั้วผลมะม่วง ส่วนของใบมะม่วงนั้นเพลี้ยไฟจะทำให้ใบที่แตกใหม่ไม่สมบูรณ์ ขอบใบและปลายใบไหม้ จนใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ
ส่วนใบที่โตแล้วตามขอบใบจะม้วนงอ ปลายใบไหม้ส่วนของยอด หากทำร้ายรุนแรงยอดแห้งจะไม่แทงช่อใบหรือช่อดอกออกมาได้
ต่อมาส่วนช่อดอกการทำลายในระยะติดดอกนั้น จะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดผล หรือทำให้ติดผลน้อย ส่วนที่ขั้วผลอ่อนนั้นจะเป็นวงสีเทาเกือบดำ ผลบิดเบี้ยว และถ้าทำลายรุนแรงผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด เพลี้ยไฟจะระบาดหนักเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้ง โดยเฉพาะมะม่วงอยู่ในช่วงเริ่มแทงดอกในระยะเดือยไก่ หลังจากนั้นจะลดลงในระยะดอกตูมและเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อดอกใกล้บาน จนถึงดอกบานเต็มที่ แล้วจะเริ่มลดลงเมื่อเริ่มติดผล และจะพบน้อยมากเมื่อผลผลิตใกล้เก็บ
วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ
1. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บริเวณส่วนยอดอ่อน
ของพืช
2. หากพ่นสารฆ่าแมลง ให้พ่นในระยะติดดอกอย่างน้อย 2 ครั้ง คือเมื่อเริ่มแทงช่อดอก และมะม่วงเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวงประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
สารฆ่าแมลงที่แนะนำได้แก่เซฟวิน 85 เปอร์เซ็นต์ สารเคมีชนิดผงใช้อัตรา 60 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาราเต้ 2.5 เปอร์เซ็นต์ สารเคมีชนิดน้ำมันในอัตรา 7 มิลลิลิตร หรือประมาณ 1 ช้อนชาครึ่งต่อน้ำ 20 ลิตร
แต่ถ้าหากเพลี้ยไฟทำลายรุนแรง จนยอดอ่อนไม่แตกใบ เกษตรกรต้องตัดแต่งกิ่งช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง
“เมื่อก่อนนี้เจอปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟ แต่เมื่อได้ปรึกษาและได้รับคำแนะนำมาแล้วเราก็ใช้สารเคมีเข้าไปกำจัดเพลี้ยไฟ และก็ได้ผลดี ทุกวันนี้ผลผลิตก็ดีขึ้นและเพลี้ยไฟไม่มีระบาด”
#มะม่วง
#เพลี้ยไฟ
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง ขอบปีกมีขนเป็นแผง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟนั้นจะใช้ปากเจาะและดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช บริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกมะม่วง โดยเฉพาะฐานรองดอกและขั้วผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงลง
หากระบาดไม่รุนแรงจะปรากฏแผลชัดเจน เป็นวงที่ขั้วผลมะม่วง ส่วนของใบมะม่วงนั้นเพลี้ยไฟจะทำให้ใบที่แตกใหม่ไม่สมบูรณ์ ขอบใบและปลายใบไหม้ จนใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ
ส่วนใบที่โตแล้วตามขอบใบจะม้วนงอ ปลายใบไหม้ส่วนของยอด หากทำร้ายรุนแรงยอดแห้งจะไม่แทงช่อใบหรือช่อดอกออกมาได้
ต่อมาส่วนช่อดอกการทำลายในระยะติดดอกนั้น จะทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดผล หรือทำให้ติดผลน้อย ส่วนที่ขั้วผลอ่อนนั้นจะเป็นวงสีเทาเกือบดำ ผลบิดเบี้ยว และถ้าทำลายรุนแรงผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด เพลี้ยไฟจะระบาดหนักเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้ง โดยเฉพาะมะม่วงอยู่ในช่วงเริ่มแทงดอกในระยะเดือยไก่ หลังจากนั้นจะลดลงในระยะดอกตูมและเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อดอกใกล้บาน จนถึงดอกบานเต็มที่ แล้วจะเริ่มลดลงเมื่อเริ่มติดผล และจะพบน้อยมากเมื่อผลผลิตใกล้เก็บ
วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ
1. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บริเวณส่วนยอดอ่อน
ของพืช
2. หากพ่นสารฆ่าแมลง ให้พ่นในระยะติดดอกอย่างน้อย 2 ครั้ง คือเมื่อเริ่มแทงช่อดอก และมะม่วงเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวงประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
สารฆ่าแมลงที่แนะนำได้แก่เซฟวิน 85 เปอร์เซ็นต์ สารเคมีชนิดผงใช้อัตรา 60 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาราเต้ 2.5 เปอร์เซ็นต์ สารเคมีชนิดน้ำมันในอัตรา 7 มิลลิลิตร หรือประมาณ 1 ช้อนชาครึ่งต่อน้ำ 20 ลิตร
แต่ถ้าหากเพลี้ยไฟทำลายรุนแรง จนยอดอ่อนไม่แตกใบ เกษตรกรต้องตัดแต่งกิ่งช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง
“เมื่อก่อนนี้เจอปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟ แต่เมื่อได้ปรึกษาและได้รับคำแนะนำมาแล้วเราก็ใช้สารเคมีเข้าไปกำจัดเพลี้ยไฟ และก็ได้ผลดี ทุกวันนี้ผลผลิตก็ดีขึ้นและเพลี้ยไฟไม่มีระบาด”
#มะม่วง
#เพลี้ยไฟ
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.