วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรครากและหัวเน่า | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรครากและหัวเน่า

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรครากและหัวมันสำปะหลังเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า เป็นเชื้อราที่มองไม่เห็น แพร่ระบาดในหน้าฝน มันสำปะหลังจะแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป โดยเชื้อจะเข้าสู่โคนต้นก่อน ทำให้เกิดอาการบวมพอง มีปุ่มรากที่โคนต้นและเชื้อจะลามลงไปที่ราก และก้านขั้วหัวมัน ในขณะเดียวกันใบเริ่มซีดเหลือง จากนั้นใบล่างเริ่มแสดงอาการเหี่ยวและแห้งคาต้น

การป้องกันโรครากและหัวเน่าในมันสำปะหลัง
1. เกษตรกรควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด อ้อย หากต้องการปลูกมันควรปลูกในช่วงฤดูแล้งเพื่อเก็บเกี่ยวได้ทันก่อนช่วงที่ฝนตก
2. หลังเก็บเกี่ยวเก็บเหง้าตอและต้นมันสำปะหลังออกจากแปลง และเผาเพื่อฆ่าเชื้อ
3. ไถระเบิดดินดานเพื่อให้ดินระบายน้ำดี
4. ควรปลูกแบบยกร่องตามแนวลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออกได้เร็ว ไม่ขังในช่วงฤดูฝน
5. ใช้พันธุ์ต้านทานต่อโรคเช่น พันธุ์ระยอง 72
6. ใช้ระยะในการปลูก 80 * 100 เซนติเมตร เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง
7. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้ต้นเป็นโรคได้ง่าย

วิธีการป้องกันและกำจัดที่ดีที่สุดคือ ก่อนการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกให้นำท่อนพันธุ์แช่ด้วยสาร ฟอสเอทิล อลูมิเนียม สารเคมีชนิดเม็ดในอัตรา 50 กรัม หรือประมาณ 10 ช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 10 นาที เพื่อกำจัดโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์ สามารถแช่พร้อมกันกับสารกําจัดเพลี้ยแป้งได้เลย และใช้สารตัวเดียวกันนี้ในอัตราส่วนที่เท่ากันฉีดพ่นต้นที่อายุครบ 3 เดือน ฉีดพ่นทุก 1 อาทิตย์ติดต่อกัน 4 ครั้ง จะสามารถลดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์

ก็จะเคยเจอโรครากเน่าหัวเน่ามาก็ช่วงหลังๆ ช่วงไหนฝนตกหนักหน่อยน้ำท่วมขังที่ไหนที่เป็นที่ลุ่มเสียหายทีนึงเป็น 10 -20 ไร่ เดินตรวจไร่ถ้าเจอต้นไหนที่เป็นโรคก็ต้องรีบถอนทิ้งทันทีถ้าทิ้งไว้จะแพร่ไปไวมาก ประกอบกับมีช่วงฤดูปลูกใหม่มามีคนแนะนำให้แช่ท่อนพันธุ์ และทำแปลงให้มีทางน้ำไหลเร็วสะดวกขึ้น โรคนี้ก็น้อยลงเห็นผลได้ชัดเจน



#มันสำปะหลัง
#โรครากและหัวเน่า
#ศัตรูพืช
#โรคพืช
#วิจัย
#สวก.